ดอกไม้จำแลง

Flowers shifter

ดร. ปฐมาภรณ์ ประพิศพงศ์วานิช
Dr. Pathamaphorn Praphitphongwanit

ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

ปัจจุบันปัญหาหนึ่งที่กำลังอยู่ในกระแสความสนใจของคนทั่วโลก คงหนีไม่พ้น “ปัญหาสิ่งแวดล้อม” ด้วยสาเหตุที่เราทุกคน ต่างรู้ดีว่า ทุกวันนี้โลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หลาย ๆ คนต่างเริ่มพูดเป็นเสียง เดียวกันว่า “โลกร้อนขึ้นทุกวัน” หรือเรียกปรากฏการณ์สำคัญของโลกนี้ว่า “ภาวะโลกร้อน (Global warming)” สาเหตุส่วนหนึ่งมา จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นตัวการทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของน้ำเสียหรือ อากาศเป็นพิษ แต่สิ่งหนึ่งที่พบเห็นอยู่ทุกวันคือ “ขยะ”

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า เมื่อปี พ.ศ. 2551 หรือ 6 ปีที่แล้ว มีปริมาณขยะประมาณ 15 ล้านตันต่อปี (กรมควบคุมมลพิษ, 2555) เทียบกับข้อมูลปัจจุบันของ ปี พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา ปริมาณขยะได้ เพิ่มสูงขึ้นถึง 26 ล้านตันต่อปี (ไทยรัฐออนไลน์, 2557) โดย 20% ของปริมาณขยะทั้งหมดคือ “ถุงพลาสติก” และจากการสำรวจพบว่า คนหนึ่งคนใช้ถุงพลาสติกประมาณ 8 ใบต่อวัน (จตุพร บุรุษพัฒน์, อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2556) เมื่อเทียบกับจำนวน ประชากรในประเทศไทยที่มีจำนวนคนกว่า 65 ล้านคน (มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2557) แสดงว่าในหนึ่ง วัน ประเทศไทยมีการใช้ถุงพลาสติกจำนวนมากมายมหาศาล ถ้าเราสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้วันละ 1 ใบต่อคน เราจะสามารถ ลดถุงพลาสติกลงได้กว่า 65 ล้านใบต่อวัน ถึงเวลานี้คงยากที่จะปฏิเสธแล้วว่าถุงพลาสติก (ภาพที่ 1) นั้น ซึ่งเป็นขยะที่มีวงจรการใช้สั้น ได้สร้างปัญหาให้กับหลายเมืองทั่วโลก เนื่องจากมีจำนวนมาก กำจัดได้ยาก และที่น่าตกใจก็คือได้มีการประมาณว่าถ้านำถุงพลาสติกที่ คนไทยใช้ในหนึ่งปีมาเรียงต่อกันจะได้ระยะทางไปกลับระหว่างโลกกับดวงจันทร์ถึงเจ็ดรอบ

flowers-shifter-02

ถุงพลาสติกผลิตมาจากเม็ดพลาสติกจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ถุงพลาสติก หนึ่งถุงใช้เวลาประมาณ 5-6 ชั่วอายุคนหรือประมาณ 450 ปี ในการย่อยสลาย และ ส่งผลเสียมากมายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น หากนำถุงพลาสติกไปเผาก็จะก่อให้เกิดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกห่อหุ้มโลกใบนี้เอาไว้ ทำให้เกิด ภาวะโลกร้อน (บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด, 2556) หากนำไปฝังดินจะทำให้ดินเสื่อม คุณภาพไม่สามารถปลูกพืชได้ เนื่องจากรากของพืชจะไม่สามารถชอนไชผ่านขยะถุง พลาสติกที่อยู่ใต้ดินได้ บ่อยครั้งที่ถุงพลาสติกไปอุดตันท่อระบายน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วม ขังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ซ้ำร้ายกว่านั้นในบริเวณที่มีกิจกรรมการท่อง เที่ยวมาก ถุงพลาสติกมักลอยไปในทะเล ทำให้สัตว์ทะเล เช่น เต่ามะเฟืองไปกินมัน เข้าแล้วตายลง เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแมงกะพรุนซึ่งเป็นอาหาร โดยระบบการ ย่อยอาหารของเต่ามะเฟืองไม่สามารถย่อยถุงพลาสติกได้ เป็นต้น ถุงพลาสติกบาง ประเภท โดยเฉพาะถุงพลาสติกสีเข้มที่เกิดจากการนำกลับมาใช้ใหม่ ไม่ปลอดภัยที่จะ นำมาบรรจุอาหาร เนื่องจากจะก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น แคดเมี่ยม หรือ ตะกั่ว เป็นต้น เพราะการนำมาใช้ใหม่มักต้องมีการใส่สีลงไปปกปิดสีของถุงเดิม (เลขานายก อบต.ตรัง, 2554)

ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าต้องการหรือมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ในการช่วยลดปัญหาของปริมาณขยะให้น้อยลง โดยการนำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วมา สร้างสรรค์เป็นผลงานเครื่องประดับ ถึงแม้ว่าจะช่วยไม่ได้มาก แต่ก็เป็นการเริ่มต้น สิ่งเล็ก ๆ ในทางที่ดี ซึ่งเราจะให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ ๆ ตัวที่เราทำได้ หรือจะปล่อย ให้เป็นเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัวที่เราไม่เคยคิดจะทำ ดังนั้นถ้าเราทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ลดการใช้ถุงพลาสติกลงก็ถือว่าเป็นการช่วยโลกของเราให้น่าอยู่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

1. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับจากถุงพลาสติกใช้แล้ว
2. เพื่อช่วยลดปัญหาปริมาณขยะให้น้อยลง
3. เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน

flowers-shifter-03

แนวความคิด

การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของถุงพลาสติกที่ใช้แล้วให้เกิดประโยชน์มากขึ้น โดย การนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้กลีบบางและบรรจงร้อยเรียงทีละดอกจนกระทั่งเป็น สร้อยคอที่สอดรับกับสรีระของผู้สวมใส่ในแต่ละคน

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน

1. ศึกษาและเลือกถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว เช่น ความสะอาด สี ลวดลาย หรือ ความหนา เป็นต้น
2. ออกแบบและประดิษฐ์ดอกไม้จากถุงพลาสติกใช้แล้ว
3. เชื่อมประกอบดอกไม้จากถุงพลาสติกใช้แล้วกับชิ้นส่วนเครื่องประดับที่เป็น โลหะ

วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

1. ถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว
2. กรรไกร
3. ด้าย
4. เส้นลวดหรือแผ่นโลหะต่าง ๆ
5. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำเครื่องประดับ

เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

ตัด พับ มัด ร้อย และเชื่อม

ขนาดหรือความยาวของผลงานสร้างสรรค์

สร้อยคอ มีขนาดประมาณ 60 ซม. 20 ซม. 3 ซม. (ภาพที่ 2)

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

งานเครื่องประดับนี้น่าจะช่วยลดปัญหาปริมาณขยะประเภทถุงพลาสติกให้น้อยลง ไม่มากก็น้อย หรืออาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลาย ๆ คน หันมาให้ความสำคัญกับ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรามากขึ้น และจากการปฏิบัติงานการออกแบบและลงมือทำเครื่อง ประดับ ข้าพเจ้าได้พบปัญหา คือ เนื่องจากถุงพลาสติกได้ผ่านการใช้มาแล้วอาจจะต้อง มีการคัดเลือกถุงพลาสติกที่มีความสะอาดระดับหนึ่ง หรือสามารถทำความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งยังมีพื้นผิวที่ลื่น ทำให้การทำงานชิ้นงานที่มีขนาดเล็กค่อนข้างยาก ดังนั้นจึง ต้องการหาอุปกรณ์ช่วยอื่น ๆ เช่น คีมปลายแหลม หรือแหนบ เป็นต้น เพื่อช่วยในการ จับกลีบดอกไม้ให้คลี่ออกเป็นชั้น ๆ

เอกสารอ้างอิง

• กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). ปริมาณมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปี พ.ศ 2548-2553. เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์. เข้าถึงได้จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_wastethai48_53.html
• จตุพร บุรุษพัฒน์. (2556). อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สัมภาษณ์, 24 เมษายน.
• ไทยรัฐออนไลน์. (2557). ขยะเมืองไทยอะไรจะมากมายก่ายกองได้ขนาดนั้น!!!. เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน. เข้าถึงได้จาก http:// www.thairath.co.th/content/417113
• เลขานายก อบต.ตรัง. (2554). วิเคราะห์บทความเรื่อง: อย่าปล่อยให้ถุงพลาสติกครองเมือง. เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม. เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=751792
• สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). ข้อมูลประชากรในประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม. เข้าถึง ได้จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/population_thai.html
• บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด. (2556). ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน. เข้าถึงเมื่อ 26 พฤษภาคม. เข้าถึงได้จาก http://guru. sanook.com/4151/ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน