ผลงานสร้างสรรค์ประติมากรรม ชุด "นางสาวฝัน ๙๙๙๙๙๙๙๙๙ / ๒๕๕๗"

“Miss Dream 999999999/2014”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทักษ์ สง่า
Pitak Sanga

ที่มา และความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

ได้มองคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ที่ถูกสร้างโดยธรรมชาติอย่างสมดุล ไม่ว่าจะมีอวัยวะของร่างกายของแต่ละส่วน ล้วนแล้ว แต่มีประโยชน์ต่อการทำงานทุกส่วนและทุกอย่างที่มีอย่างสัมพันธ์กัน เช่นแขนที่มีสองมือมีนิ้วข้างละห้านิ้ว สองมือมีนิ้วรวมกันเป็นสิบ นิ้วนั้น สามารถใช้หยิบจับสิ่งของที่มีขนาดแตกต่างกันได้อย่างคล่องแคล้วรวดเร็วแม่นยำ เช่น การหยิบจับสิ่งของที่มีขนาดเล็กร่างกาย ก็จะกำหนดให้ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้หยิบจับ หรือสิ่งของที่ต้องการหยิบจับนั้นมีขนาดที่โตกว่าที่สองนิ้วจะหยิบจับได้ร่างกายก็จะสั่งให้ใช้ห้า นิ้วในการหยิบจับหรือถ้าสิ่งของนั้นมีขนาดที่ใหญ่ยิ่งขึ้นไปอีก ร่างกายก็จะสั่งให้ใช้สองมือช่วยกันหยิบจับหากสิ่งของนั้นมีขนาดน้ำหนัก ที่มากขนาดโตขึ้นมาอีกร่างกายก็จะสั่งให้ใช้วงแขนทั้งสองข้างโอบแล้วยกขึ้น

ซึ่งความสมบรูณ์แบบของร่างกายมนุษย์ นี้เองไม่ได้มีแต่เพียงเท่านี้แต่ยังมีสมองที่และจินตนาการที่เหนือกว่าสิ่งใด ๆ ในโลก ใบนี้จะเปรียบเทียบได้คือ มนุษย์ยังสามารถสร้างสรรค์วัฒนธรรมแล้วปรับตัวของตนเอง ตามภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันให้ดำรงอยู่ร่วมกัน ได้อย่างพิเศษ อันเป็นเส้นทางของอารยะธรรมที่แพร่ขยายอาณาจักรเผ่าพันธุ์ของตนเองอย่างไม่จำกัดฤดูกาล ที่สืบเนื่องกันมายาวนาน หลายพันปี โดยสามารถดำเนินชีวิตได้ทุกสถานการณ์ ถึงแม้ว่าสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาก็ตาม

miss-dream-999999999-2014-02

miss-dream-999999999-2014-03

ดังนั้นมนุษย์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีตัวแทนของกลุ่มที่จะต้อง นำพากลุ่มของตนเองเดินทางไปข้างหน้า เพื่อมิให้ศูนย์สิ้นเผ่าพันธุ์ต่อไป ซึ่ง เราจะพบว่าในการสร้างตัวแทนดังกล่าวนั้น ในประวัติศาสตร์ได้ถูกบันทึก ไว้ในรูปของงานศิลปะ ที่นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าเป็นแบบอย่างความสม บรูณ์ของสตรี ได้ค้นพบซากของประติมากรรมที่ถูกสร้างขึ้นในแต่ละยุค มากมาย เช่น รูปประติมากรรมก่อนประวัติศาสตร์ นำรูปของผู้หญิงมาใช้ แทนความอุดมสมบรูณ์ ( Venus of willendortf ขนาด 10.8 cm. ท่า ยืน ราว 28,000 and 25,000 BCE. พบในปี่ คศ.1908 โดย workman named Johann Veran ประเทศ Lower Austria ภาพประกอบที่1, 2

ซึ่งในแต่ละยุคต่อมาก็ยังคงใช้สัญลักษณ์ของสตรีเพศ เป็น ตัวแทนของผู้หญิงทั้งหมด ขึ้นอยู่กับบทบาทของสตรีในเวลานั้นว่าเกิด การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอะไรอย่างไรขึ้น เช่น ผลงานของ ศิลปินชื่อ Alexandre Cabanel ค.ศ.1863 เทคนิค Oil on canvas ขนาด 130 Cm x 225 Cm. (51 in x 89 in) พิพิธภัณฑ์ d’Orsay Paris ชื่อภาพ ผลงาน The Birth of Venus(1863) ภาพประกอบที่ 3

จินตนาการถึงผู้หญิงที่มีสัดส่วนร่างกายงดงาม เปลือยกาย ท่ามกลางทะเลที่มีคลื่น มีหมู่เทวดาเด็กที่บินอยู่เหนือร่างกาย มีความถูก ต้องทางกายวิภาคสูงมาก อาจมีนัยยะการตีความที่แตกต่างกันไป เช่น อาจจะหมายถึงความบริสุทธิ์ของสตรีคนนี้ หรืออาจหมายถึงความอดทน ต่อสู้กับ สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาก็ได้ หรือเธอ ต้องการนอนแช่น้ำคลายร้อนเท่านั้นเองก็อาจเป็นได้ ซึ่งก็เป็นความต่าง ของจินตนาการของแต่ละคนที่พบเห็น แต่ในความหมายของศิลปิน ก็น่า ที่จะครอบคลุมครบถ้วนทั้งหมดไว้แล้ว

ในส่วนแนวความคิดของข้าพเจ้านั้น เป็นมุมมองหนึ่งของตนเอง ผนวกกับประสบการณ์ในการศึกษากายวิภาคของมนุษย์ ข้าพเจ้าต้องการ สร้างสรรค์สัญลักษณ์ตัวแทนของเด็กผู้หญิงในปัจจุบัน ที่มีสภาพแวดล้อม ที่ดีและไม่ดี ประกอบกับผู้หญิงยุคนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อที่สืบทอด สายพันธุ์ของยุคของพวกเขาเอง เป็นตัวแทนมนุษย์ชาติที่สมบรูณ์ที่สุดที่ จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

1. มีความสมบรูณ์ทางกายภาพของร่างกายแบบท้องถิ่น มีความ แข็งแรงและเข้มแข็ง สมส่วน งดงาม ผู้สร้างสรรค์ใช้ร่างกาย แสดงออกมา

2. มีความคิดที่งดงาม นำพาชาติพันธุ์เดินทางไปข้างหน้าได้ มั่นใจและมุ่งมั่นในอุดมการณ์ ผู้สร้างสรรค์ใช้ท่าทางการเดิน แทนความหมาย

3. มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างพลังกับคนรอบข้างได้ตลอด เวลา ผู้สร้างสรรค์ใช้ ทรงผมมาเป็นสื่อแสดงออก

4. กล้าหาญ เผชิญต่ออุปสรรคทั้งปวงตลอดเวลาโดยไม่หวั่น ไหว ผู้สร้างสรรค์ใช้แขนที่ไพ่ไปด้านหลังจับมือของตนเอง

5. ใบหน้าแสดงความอดทนคือไม่ยิ้มไม่เศร้าหรือหัวเราะดู เหมือนการพิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาและสิ่งที่จะ เกิดขึ้นอนาคตข้างหน้าหรือจะเห็นใบหน้าที่เฉยพร้อมที่จะ รับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ทุกเมื่อ

miss-dream-999999999-2014-04

อย่างไรก็ตาม ความหมายที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นการถ่ายทอดจินตนาการ ของผู้สร้างสรรค์ ที่ต้องการสื่อแสดงออกถึงความพิเศษของผู้หญิงในยุคใหม่ ต้องมีความสามารถในการแสดงออกทั้ง ทางร่างกายและการแสดงออกทางความคิดอย่างสมบรูณ์แบบที่สุดอย่างทรงคุณค่าในช่วงยุคของ พวกเขาเอง ซึ่งจะต้องผสมผสานกันโดยผ่านตัวงานศิลปะเป็นสื่ออย่างมีสุนทรียภาพที่งดงาม

บรรณานุกรม

• The Testimony of the Spade, Geoffrey Bibby, Alfred A. Knoff, New York, 1956. P.139
• “CABANEL, Alexandre.” Benezit Dictionary of Artists (. “The Fine Arts.” The Critic: A Weekly Review of Literature and the Arts (1886-1898) no. 266 (Feb 2, 1889, 1889): 56.