พระพุทธรูป เจดีย์ และศรัทธา

The Buddha Image, The Pagoda and Faith

อาจารย์อนุชา โสภาคย์วิจิตร์
Anucha Sopakvichit

ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

“พระพุทธรูปเป็นผลงานศิลปะที่สะท้อนศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึง การรวมตัวกันของพุทธบริษัททั้งหลายเพื่อ แสดงถึงความเคารพ และศรทัธาในพระธรรมคำสอน ของพระพทุธองค์ ซึ่งการสร้างรูปเคารพ แทนพระพุทธเจ้า และงานศิลปกรรมในพระพุทธศาสนานั้นเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ สันนิษฐานว่า ก่อนหน้านั้นไมมี่การสรา้ งรูป เคารพแทนพระพุทธเจ้าขึ้น เนื่องมาจากบรรดาชาวพุทธยังไม่นิยมรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบพิธีกรรมใด ๆ เพราะต่างมุ่งเน้นการศึกษา ปฏิบัติโดยสันโดษ จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างรูปเคารพขึ้นแต่อย่างใด

“ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของศิลปะอินเดียคือการไมส่ รา้ งภาพพระพุทธเจ้าในรูปมนุษย์แต่จะใช้ภ าพสัญลักษณ์ แทนพระพุทธเจ้า เช่น ภาพดอกบัวแทนการประสูติ เนื่องจากดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ และในพุทธประวัติขณะที่ประพุทธเจ้าประสูติก็ ปรากฏดอกบัวรองพระบาทให้ทรงดำเนินไป ๗ ก้าว ภาพสถูป แทนการปรินิพพาน ธรรมจักร แทนการแสดงธรรมของพระพุทธองค์ เป็นต้น

พุทธศาสนาเถรวาทนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อชาวพม่าซึ่งมุมมองหนึ่งจาก ดร.เอ็ดเวิร์ดคอนซ์ได้แสดงความเห็นเรื่องของอำนาจที่มาจากความศรัทธา ของชาวพุทธที่สะท้อนออกมาเป็นอำนาจการปกครองของกษัตริย์ โดยการ ที่ยกย่องสถานะของกษัตริย์ขึ้นเทียบเคียงกับเทพ หรือพระโพธิสัตว์นั้น ใน ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้สถานะของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนใน ทางการสื่อสารและปฎิบัติต่ออำนาจที่มองไม่เห็น ซึ่งคงหมายถึงเป็นผู้ที่ ติดต่อกับอำนาจต่าง ๆ ทางความเชื่อของชาวพุทธ เช่นการทำพิธีกรรม ต่าง ๆ เพื่อติดต่อกับดวงวิญญาณ การทำพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือการ สวดในพิธีการสวดในพิธีมงคลต่าง ๆ ทั้งระดับชาวบ้านหรือระดับกษัตริย์ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจและกระทั่งปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายตามความเชื่อ ต่าง ๆ ซึ่งมักจะพบเห็นพิธีกรรมเหล่านี้อยู่เสมอ ๆ ในพระพุทธศาสนาด้วย ความประสานเป็นเนื้อเดียวกันกับศาสนาอื่นโดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาที่ถือเอาการปฎิบัติพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการบูชา เทพเจ้าของตน

การบูชารูปเคารพหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนาว่า ความเชือ่ วา่ ความรงุ่ เรอื งของชาตจิ ะมไี ดก้ อ็ ยทูี่ก่ ารกระทาํ บชู านัน้ จะเหน็ ตัวอย่างได้จากความเจริญรุ่งเรืองของศาสนสถานที่มาจากความศรัทธา ของประชาชนว่าในสมัยที่มีศรัทธาแก่กล้านั้น ได้มีการสร้างพระพุทธรูป พุทธเจดีย์กันขึ้นมากมายจากหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นในลักษณะของการ สร้างเจดีย์จำนวนมากมายในประเทศพม่า วัดและพระพุทธรูปจำนวน มากในประเทศต่าง ๆ ที่พุทธศาสนามีความแข็งแรง เช่นพม่า ไทย และศรี ลงั กา เป็นต้น แสดงถงึ ความเจรญิ รุ่งเรอื งในอดตี ทัง้ ในด้านการดำรงชวี ติ เศรษฐกิจ และความเป็นปึกแผ่นของประชาชนในดินแดนต่าง ๆ ในช่วง เวลานั้น เพราะศาสนสถานปูชนียวัตถุต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นมาได้ย่อมต้อง มาจากแรงศรัทธา ความสามัคคี และกำลังทรัพย์ของประชาชน นั่นย่อม แสดงให้เห็นสถานภาพทางสังคมและการปกครองรวมถึงความเป็นอยู่ ของประชาชนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การสร้างหรือเพิ่มจำนวนของรูป ศักดิ์สิทธิ์นั้นถือว่าได้บุญมาก

“การได้ท่องเที่ยวเชิงศาสนาในแดนพุทธภูมิ หรือประเทศ ที่ประชากรนับถือศาสนาพุทธอย่างมั่นคง เช่นในประเทศพม่าหรือ แม้แต่ประเทศศรีลังกาซึ่งศาสนาพุทธนั้นได้เกือบจะสูญสลายในดินแดน แห่งนี้ในสมัยของพระเจ้าราชสิงหะแห่งอาณาจักรสีตาวะกะซึ่งทรงหันไป นับถือศาสนาฮินดู แล้วสั่งให้ฆ่าพระภิกษุสงฆ์ทำลายพุทธศาสนสถานจน สิ้นในช่วง พ.ศ. ๒๑๒๕ – พ.ศ. ๒๑๓๖3 นอกจากนี้ประเทศศรีลังกานั้น ยังเคยตกอยู่ในการปกครองของ ชาวโปรตุเกส และประเทศฮอลันดา ตามลำดับ รวมถึงปัญหาทางการศึกสงครามอันยาวนาน พุทธศาสนาใน ศรีลังกาจึงมีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ฮินดูในเรื่องของพิธีกรรม ต่าง ๆ อยู่มาก และอิทธิลพของการศึกสงครามที่มีต่องานศิลปะทาง พระพุทธศาสนาจึงทำให้มีความชัดเจนแข็งแรงมากกว่าความอ่อนช้อย นุ่มนวล ประติมากรรมบนฝาผนังของวัดส่วนมากจะเป็นประติมากรรม กึ่งลอยตัว ซึ่งมักจะไม่พบในวัดไทย และพม่า“เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่กว้างขวางออกไป การสร้างสรรค์งานศิลปะทางพระพุทธศาสนาจึงได้ถูกเผยเพร่ตามไปด้วย เมื่อ พุทธศิลป์เดิน ทางไปในภูมิภาคต่างๆ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของสังคมท้องถิ่น ต่างๆ จึงถูก ผสมผสานลงไปในศลิ ปกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นความเชื่อบนความศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้นย่อมมาจากความเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งปรากฏเด่นชัดในพุทธลักษณะ ของพระพุทธรูป และสถาปัตยกรรมขององค์พระสถูปเจดีย์ที่ปรากฏหลักฐานทางพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ

the-buddha-image-02

การฟื้นฟูพระพทุ ธศาสนาในประเทศศรีลังกา ในขณะที่ไม่มีพระสงฆ์ที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนามี เพียงสามเณรสรณังกร จึงไม่สามารถที่จะบวชพระ ภิกษุในพระพุทธศาสนาได้ จึงได้ขอให้พระเจ้ากิตติ ราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น ส่งทูตมาขอให้พระ เจ้าบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาส่งคณะสงฆ์ ซึ่งมีพระ อุบาลีเป็นหัวหน้ามาบรรพชาให้กับชาวลังกา จึงเกิด เป็นคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ขึ้นใน ประเทศศรีลังกา ด้วยเหตุนี้การสวดมนต์ พิธีกรรม ทางศาสนา จนถึงพุทธศิลป์ในประเทศศรีลังกากับ ประเทศไทยมีความเหมือนกันมาก และชาวศรีลังกา เองโดยเฉพาะพระสงฆ์ยังให้ความเชิดชูพระสงฆ์ที่ไป จากประเทศไทยด้วย

the-buddha-image-03

the-buddha-image-04

การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศ ศรีลังกาในขณะที่ไม่มีพระสงฆ์ที่จะสืบทอดพระพุทธ ศาสนามีเพียงสามเณรสรณังกร จึงไม่สามารถที่จะ บวชพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้ จึงได้ขอให้พระ เจ้ากิตติราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาในขณะนั้นส่งทูตมา ขอให้พระเจ้าบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาส่งคณะสงฆ์ ซึ่งมีพระอุบาลีเป็นหัวหน้ามาบรรพชาให้กับชาวลังกา จึงเกิดเป็นคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ขึ้น ในประเทศศรีลังกา ด้วยเหตุนี้การสวดมนต์ พิธีกรรม ทางศาสนา จนถึงพุทธศิลป์ในประเทศศรีลังกากับ ประเทศไทยมีความเหมือนกันมาก และชาวศรีลังกา เองโดยเฉพาะพระสงฆ์ ยังให้ความเชิดชูพระสงฆ์ที่ไป จากประเทศไทยด้วย

ผู้เขียนได้สังเกตเห็นความแตกต่างทาง ด้านรูปลักษณ์ของพระพักตร์ และการสร้างสรรค์ พระพุทธรูปด้วยฝีมืออันงดงามตามศิลปินในภูมิภาค นั้น จึงไดเ้ กิดแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพพระพุทธ รูปและองค์พระเจดีย์ในประเทศต่าง ๆ และภาพ ถ่ายที่สะท้อนความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของ พุทธศาสนิกชนในดินแดนเหล่านั้น โดยเฉพาะพุทธ ศาสนาฝ่ายเถรวาท

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

ในการถ่ายภาพชิ้่นงานที่เกิดจากศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาท และมุมมองทางด้านศิลปะการถ่ายภาพ จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเล่าเรื่องและ สื่อสารความประทับใจ และส่งเสริมศรัทธาชาวพุทธผ่านงานสร้างสรรค์ องค์พระพุทธรูปและพระสถูเจดีย์ จากการได้เยือนดินแดนพุทธภูมิและ ประเทศที่พุทธศาสนายังมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิต และเป็นที่ พึ่งทางใจของชาวพุทธ

แนวความคิด

ศรัทธา ความจริง ประสบการณ์ มุมมอง

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน
ประเทศอินเดีย – เนปาล

การเดินทางไปในแดนพุทธภูมิ ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้ร่วมเดิน ทางไปกับคณะแสวงบุญจำนวน ๒๐ รูป/ คน โดยเดินทางไปพักตามวัด ไทยในประเทศอินเดีย ร่วมสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม เช้า ๔.๐๐ – ๖.๐๐ น. และช่วงเวลาเย็น ๑๘.๓๐ – ๒๑.๓๐ น. เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและแรง บันดาลใจในการศึกษา เก็บเกี่ยวและเข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา เพื่อถ่ายทอดสื่อสารในผลงานภาพถ่ายทางพระพุทธศาสนา

ประเทศพม่า

การเดินทางไปสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในประเทศพม่าได้มีการ สวดมนต์ทุกครั้งเมื่อเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ ก่อนที่จะเยี่ยมชม ซึ่งตามวัด ต่าง ๆ ในประเทศพม่า ชาวพม่าเองก็นิยมสวดมนต์และนั่งสมาธิเป็นปกติ มากกว่าเป็นเพียงการเดินเที่ยวชมสถานที่ ถ่ายภาพแล้วทำบุญทั่วไป

ประเทศศรีลังกา

การเดินทางไปศรีลังกา ผู้สร้างสรรค์งานได้รับเชิญจากพระ ผู้ใหญ่ในประเทศศวรีลังกาผู้ดูแลและบริหารโรงพยาบาล โรงเรียนเพื่อ สงเคราะห์แก่เด็กและคนชรา Senehasa Hospital จึงเป็นแรงผลักดันการ สร้างสรรค์ผลงานในขณะที่เดินทางไปสักการะศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศศรีลังกา

ในแต่ละครั้งในการเดินทาง ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้มีการบันทึก ภาพโดยกล้องดิจิตอล Nikon D3100 และใช้เทคนิคตกแต่งภาพใน คอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Photoshop และอัดขยาย

วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

กล้องถ่ายภาพ Nikon D3100 เลนส์ Nikon DX AF-S NIKKOR 18-55 mm 1:3.5-5.6 G ตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Photoshop 5.5

the-buddha-image-05

the-buddha-image-06

เทคนิค

ในการสร้างสรรค์ผลงาน การถ่ายภาพโดยไม่ใช้แฟลชแม้ในที่ที่มีแสง น้อยเพื่อต้องการอารมณ์ของแสดงที่แสดงเรื่องราว ตามธรรมชาติ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกที่แท้จริงและ มุมมองของช่างภาพ และตกแต่งภาพโดยใช้โปรแกรม ตกแต่งภาพ Photoshop 5.5 บนเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh โดยปรับน้ำหนักของภาพ ปรับสีของ โทนภาพให้สดใส

ขนาดของผลงาน

15 x 21 นิ้ว

the-buddha-image-07

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

ในการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านมุมมองทางศิลปะการถ่ายภาพ นั้นได้เกิดองค์ความรู้ทางการสื่อสารทาง พระพุทธศาสนาจากศรัทธาของชาวพุทธที่เป็นแรงผลักดันในการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายหรือผลงานทางศิลปะ โดยเนื้อแท้ของ ความศรัทธาเป็นบทตั้งต้นผ่านการกระทำทางพิธีกรรม และในพิธีกรรมเหล่านั้นยังเป็นการปฏิบัติบูชา และนำมาซึ่งการขัดเกลา กิเลส การยึดมั่นถือมั่นในตัวตนซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนามุ่งเน้นเพื่อการพ้นทุกข์ การถ่ายทอดมุมมองเหล่านั้นจะไม่สามารถ เกิดขึ้นได้จากการเตรียมการต่าง ๆ เพื่อความสมบูรณ์ของภาพเหมือนการถ่ายภาพนิ่ง ภาพโฆษณา ซึ่งผู้ชมจะสามารถรับร้คู วาม รู้สึกถึงความสมบูรณ์ของภาพเหล่านั้นซึ่งเกินจากความเป็นจริง เพราะประสบการณ์ของทุกคนนั้นสัมผัสอยู่กับสิ่งที่สะอาดบ้าง ขุ่นมัวบ้าง สดใสบ้าง เป็นธรรมชาติของจิตที่รับรู้สภาวะแวดล้อมเป็นพื้นฐานการรับรู้ตั้งแต่ประสาทสัมผัสของมนุษย์เริ่มทำงาน ดังนั้นการถ่ายภาพทางพระพุทธศาสนาครั้งนี้ จึงเป็นภาพถ่ายที่ไม่ต้องการจัดเตรียมความพร้อม ความสมูรณ์ขององค์ประกอบ ภาพต่างๆ แต่เพื่อความดึงดูดความน่าสนใจตามหลักทฤษฎีการถ่ายภาพ และการพิมพ์ จึงใช้การตกแต่งภาพเพื่อเน้นอารมณ์และ ความน่าสนใจด้วยสี น้ำหนัก และจุดสนใจของภาพเป็นหลัก

เอกสารอ้างอิง

• วิไลรัตน์ ยังรอด, ดูรู้พุทธประวัติ. กรุงเทพมหานคร:มิวเซียมเพลส, ๒๕๕๒.
• ลังกากุมาร, ตามรอยพระอุบาลีไปฟ้นื ฟูพระศาสนาที่ลังกา. กรุงเทพมหานคร:สาละ, ๒๕๕๒.
• Pratapaditya Pal. Light of Asia: Buddha Sakyamuni in Asian Art Los Angeles County Museum of Art, 1984.
• Conze, Edward, Buddhism: Its Essence and Development. New York : Harper Torchbooks, 1975.