พื้นที่ทับซ้อน ความเป็นส่วนตัว ความเป็นสาธารณะ ในที่พักนักเดินทางแบกเป้

Intersectional Space, Privacy, Public in Backpackers Hostel

อาจารย์ ธัชวิทย์ สีบุญเรือง
Tajchavit Sibunruang

ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

ยุค,60s เป็นช่วงเวลาที่มักใช้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก โดยเฉพาะการนำมนุษย์ขึ้นไปดวงจันทร์ได้เป็นครั้ง แรกส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจในงานศิลปะและงานออกแบบมากมายทั้ง ในด้านของแฟชั่นผลติภัณฑ์เครื่องเรือน การออกแบบภายใน จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่โลกมนุษย์มีความก้าวหน้าอย่างสูง ณ ช่วงเวลานั้น รวมไปถึงสังคมโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะซีกประเทศทางด้านตะวันตกมีความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม รวมไปถึงมีการผสมผสานทาง วัฒนธรรมของตะวันออกในกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา จุดนี้เองที่ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้นักเดินทางวัยรุ่นจำนวนมากพา กันเดินทางเข้าสู่ทวีปเอเชียผ่านทางเส้นทางสายไหมเพื่อเสาะแสวงหาประสบการณ์แปลกใหม่และเรียนรู้ทางด้านจิตวิญญาณ โดยใช้ รถตู้เป็นทั้งที่พักและพาหนะโดยมีการตกแต่งภายในด้วยลวดลายจากวัฒนธรรมความเชื่อทางศาสนาของตะวันออก โดยเฉพาะอินเดีย

ในสมัยการเดินทางยุคแรกได้มีกลุ่มคนชาวฮิปปี้ทำบันทึกการเดินทางท่องเที่ยวด้วยการจดลงบนกระดาษและได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นคู่มือท่องเที่ยวความหนาหลายร้อยเล่ม มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากใช้รถส่วนตัวมา เป็นการโบก รถหรือระบบคมนาคมสาธารณะสะพายกระเป่า ที่ซึ่งเต็มไปด้วยอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตจนเกิดเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อยทางด้านการท่องเที่ยวที่เรียกกันว่า “นักแบกเป้” หรือ “Backpacker”

รูปแบบการใช้ชีวิตหรือสิ่งที่กลุ่มนักแบกเป้ให้ความสนใจคือความสนใจในการเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่โดยการลงไปสัมผัสด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการชิมอาหารท้องถิ่น ภาษาวัฒนธรรม การแต่งกาย ที่มีความดั้งเดิม โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ที่ซึ่ง เชื่อว่าศิลปะวัฒนธรรมยังคงอัตลักษณ์ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

intersectional-space-02

แม้ว่าในปัจจุบันกลุ่มนักแบกเป้ส่วนใหญ่จะพัฒนาไปในรูปแบบ ที่เรียกว่า “Flashpacker” คือคำที่ใช้สำหรับนิยามกลุ่มนักท่องเที่ยว สมัยใหม่ที่พกพาอุปกรณ์ทันสมัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ Smartphone, Tablet, Netbook เพื่อใช้ค้นหาข้อมูล และการสื่อสาร แทนการส่งจดหมายที่มีความล่าช้า เลือกพักในที่ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ไร้สาย รวมไปถึงระยะเวลาการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปจากเดิม Backpacker จะเดินทางเป็นระยะเวลา 6 เดือน ถึง 2 ปี แต่ในปัจจุบันลดเหลือประมาณ 30 วัน สำหรับระยะเวลาการท่องเที่ยวของกลุ่ม Flashpacker

แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ดังที่กล่าวไปแล้ว สิ่งที่กลุ่มนักแบกเป้ยุคใหม่และยุคเก่าให้ความสนใจยังคง เป็นวิถีชีวิตที่คงความเป็นดั้งเดิมยังคงเป็นการสัมผัสวิถีชีวิตเพื่อเก็บเกี่ยว ประสบการณ์เรียนรู้โลกกว้างเหมือนดังเช่นชาวฮิปปี้ในอดีต ความแตกต่าง ของกลุ่มนักแบกเป้และนักท่องเที่ยวทั่วไปที่เห็นได้ชัดคือพฤติกรรมการ ใช้ชีวิต นักแบกเป้มีการปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนข้อมูลเรียนรู้สิ่งใหม่ และ ความแตกต่างซึ่งกันและกัน แต่นักท่องเที่ยวทั่วไปจะต้องการเพียงสัมผัส ในสิ่งที่ได้ถูกจัดไว้ให้ Andrew Zimmern ผู้ผลิตรายการท่องเที่ยวช่อง Travel Channel ได้กล่าวไว้ว่า “Please be a traveler, not a tourist. Try new things, meet new people, and look beyond what’s right in front of you. Those are the keys to understanding this amazing world we live in.” ซึ่งสามารถบ่งบอกลักษณะเฉพาะ ของกลุ่มนักแบกเป้ได้อย่างชัดเจนโดย Zimmern ต้องการให้นักแบกเป้ทั้งหลายเปิดตาให้กว้างเพื่อสัมผัสสิ่งใหม่ พบปะรู้จักผู้คน และมองไปยังสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เข้าใจความอัศจรรย์ของโลกที่เราอาศัยอยู่

ในช่วงปี พ.ศ. 2555 สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าได้เปิดประเทศรับ การลงทุนจากต่างชาติอีกครั้งหลังจากพ้นมาตรการคว่ำบาตรของประชาคม โลกที่ต่อเนื่องมานานหลายปี ส่งผลให้เกิดการลงทุนจากภายนอกอย่าง รวดเร็วและมหาศาล อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวและนักลงทุน จำนวนมากเดินทางไปยงั ประเทศพม่า เป็น เหตุให้เกิดการขยายตัวอย่าง รวดเร็วของอุตสาหกรรมการบริการที่พักภายในเมืองย่างกุ้งในระยะเวลา 3 ปี ภายหลังการเปิดประเทศ โดยส่วนใหญ่ค่าที่พักจะมีราคาสูง ซึ่งเป็น ผลมาจากกลไกตลาดราคาที่ดินที่ดีดตัวสูงขึ้นเนื่องมาจากความต้องการ ครอบครองที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนที่พักที่ได้มาตรฐานโดยเฉพาะความ สะอาดและการบริการยังมีไม่มาก ในขณะเดียวกันที่พักที่เจาะจงรองรับ นักท่องเที่ยวกลุ่มวัฒนธรรมย่อยหรือนักแบกเป้ยังเป็นที่ต้องการ แต่หาก ยังไม่มีมาตรฐานการออกแบบที่ดี จึงเป็นที่มาของโครงการออกแบบและ ปรับปรุงพื้นที่ภายในและภายนอกอาคารที่พัก Pickled Tea Hostel เมืองย่างกุ้ง

วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

1. ศึกษาพฤติกรรม วัฒนธรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มย่อย ถึงรูปแบบ การเดินทาง การใช้พื้นที่ รูปแบบของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล เพื่อนำไปปรับใช้ในการออกแบบพื้นที่ภายในให้ รองรับความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีขึ้น

2. ศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้นในสาธารณรัฐแห่ง สหภาพพม่า เพื่อให้ทราบถึงที่มาของการออกแบบส่วน ประกอบต่าง ๆ ของอาคารดั้งเดิม

3. ศึกษาแนวทางการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบอาคารที่ ยังคงอัตลักษณ์ของพื้นที่ ไม่สร้างสิ่งแปลกปลอมภายในกับ ชุมชน

แนวความคิด

กลุ่มนักท่องเที่ยวแบกเป้ หรือ backpacker เป็นกลุ่มที่มีลักษณะ ที่แตกต่างจากนักท่องเที่ยวทั่วไปอย่างชัดเจนทั้งการแต่งกาย การกิน การเดินทาง รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินทาง

นักแบกเป้ส่วนใหญ่มีงบที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนสอดคล้องไป กับค่าครองชีพที่ไม่สูงมากของที่หมายการเดินทางอย่างประเทศในแถบ ทวีปเอเชีย ซึ่งส่วนมากมีจุดมุ่งหมายเน้นไปยังการสัมผัสประสบการณ์ แปลกใหม่ ได้รู้ได้เห็นโลกที่แตกต่างออกไป การเอาตัวรอด เรียนรู้ ประวัติศาสตร์ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในท้องที่

ในอีกมุมหนึ่งความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวก็เป็นเรื่อง สำคัญและเป็นปัจจัยต้น ๆ ที่นักแบกเป้สมัยใหม่กังวลและใช้เป็น ปัจจัยใน การตัดสินใจเลือกที่พัก เนื่องจากส่วนมากมักจะพกเงินสดเพื่อใช้ในการเดินทาง รวมไปถึง มีของใช้ราคาสูง ติด ตัว เช่น กลอ้ งถ่ายรปู โทรศพั ทเ์ คลื่อนที่ หรือคอมพิวเตอร์พกพา จึงได้แบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ส่วนตัว พื้นที่ กึ่งสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะดังที่แสดงในแผนภาพ

intersectional-space-03

intersectional-space-04

จำนวนห้องและเตียง

จากการสำรวจขนาดของกลุ่มนักแบกเป้จะพบว่าส่วนใหญ่จะนิยมเดินทางร่วมกันเป็นกลุ่ม 2 หรือ 4 คน เพื่อความ สะดวกของการเคลื่อนย้ายและหาที่พัก จึงนำมาเป็นแนวทางการจัดห้องพักซึ่งแต่ละห้องสามารถรองรับผู้เข้าพักได้ 4 และ 6 คนเป็นส่วนใหญ่ (50% และ 25% ตามลำดับ) และห้องพักสำหรับ 2 คนจำนวน 1 ห้อง (12.5%) และห้องพักเดี่ยวอีก 1 ห้อง (12.5%) โดยแต่ละเตียงจะมีความเป็นส่วนตัวสูง รูปแบบคล้ายกับโรงแรมแคปซูลที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศ ญี่ปุ่น และเตียงสองชั้นผสมผสานกัน เพิ่มความเป็นส่วนตัวแต่ยังระบายอากาศได้โดยการติดผ้าม่าน ในแต่ละแคปซูลจะ สามารถเปิดปิดไฟในห้องย่อยได้เพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น และมีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับแขวนผ้าเช็ดตัว (hostel ส่วนใหญ่จะ ใช้แขวนกับเตียงสองชั้น) และเก็บสิ่งของส่วนตัวที่สามารถล็อคป้องกันการโจรกรรมได้มากกว่าที่พักทั่วไปซึ่งไม่มีพื้นที่เก็บ ของส่วนตัว

สิ่งอำนวยความสะดวก

เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นที่พักผ่อนและเข้าสังคม จึงได้ เตรียมพื้นที่สำหรับพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในส่วนของชั้นล่าง ซึ่งสามารถมองเห็นสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตของชุมชนโดยรอบได้ Common Area จึงได้ออกแบบให้เป็นลักษณะเปิดโล่งไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ โครงสร้างไม้ที่ใช้สัญลักษณ์ในรูปแบบที่สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมแบบ Art Deco เน้นรูปร่างเรขาคณิต ห้องน้ำในส่วนชั้นล่างเป็นแบบใช้รวม ซึ่งแต่ละห้องจะมีทั้งพื้นที่อาบน้ำ  พื้นที่สำหรับขับถ่ายอยู่ในห้องเดียวกัน เพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ และในส่วนของชั้นบนจะมีการแยก ห้องน้ำสำหรับชายและหญิง โดยสัดส่วนห้องอาบน้ำและ ห้องน้ำอยู่ที่ 3 : 6 ห้อง โดยพิจารณาจากระยะเวลาที่ใช้งานห้องน้ำของแต่ละเพศ

intersectional-space-05

สถาปัตยกรรม

ได้ทำการศึกษารูปแบบองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมพม่า ด้วยการค้นคว้าจากหนังสือและการสำรวจจากสถานที่จริงรอบเมืองย่างกุ้ง ได้พบว่าสถาปัตยกรรมพม่าในยุคหลังจากอังกฤษคืนเอกราชให้กับพม่า จะมีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลทั่วไป โดย จะมีลักษณะตามแบบ Art Deco ซึ่งตรงกับสมัยการปกครองของรัฐบาล ทหาร ที่มีลักษณะเรียบ ตรง เส้นสายไม่มากนัก มีการออกแบบให้หน้า บันของอาคารบังหลังคาจั่วด้านบน ทำให้มองจากระดับพื้นแล้วจะไม่ สามารถเห็นส่วนของหลังคาด้านบนได้ชัดเจนมากนัก ซึ่งหากใช้หลังคา เทคอนกรีตเรียบอาจจะพบกับปัญหาทรุดตัวหรือ น้ำรั่วได้ประกอบกับ โครงสร้างอาคารเป็นผนังรับน้ำหนักขนาดใหญ่ในส่วนของผนังรอบอาคาร ชั้นสองเป็นพื้นและคานรับ สร้างขึ้นจากไม้วางบนเสาคอนกรีต ทำให้ บริเวณชั้นบนแทบไม่มีเสาโผล่ให้เห็น ยกเว้นส่วนด้านหลังอาคารที่มีการ ต่อเติมด้วย คอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อสร้างห้องน้าํ เดิมสาํ หรับชั้นบนทาํ ให้ ไม่สามารถเทพื้นคอนกรีตเรียบได้จึงไม่พยายามเน้นการตกแต่ง โครงสร้าง หลังคาด้วยงานแกะลวดลายเชิงชายไม้ขนมปังขิงเหมือนกับอาคาร สมัยโคโลเนียลโดยทั่วไปในพม่า (จากการสำรวจก็ ไม่เคยพบการนำลวดลาย ดังกล่าวมาตกแต่งมุมหลังคาอาคาร Art Deco ในเมืองย่างกุ้งด้วยเช่นกัน) ด้านบนของประตู หรือหน้าต่างจะพบว่ามีหน้าต่างบานพลิกซึ่งใช้ ระบายอากาศก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้คงไว้เพื่อเป็นอัตลักษณ์แสดงความ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเขตร้อนชื้น สีหลักที่ทาภายนอกจะใช้สี เหลืองอ่อนทาอาคารส่วนที่เป็นปูนและสีเขียวนำ้ทะเลหรือสี เขียวอมฟ้า (Viridian/Turquiose) จะใช้ในส่วนที่เป็นวัสดุที่สร้างขึ้นจากไม้

intersectional-space-06

intersectional-space-07

กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน

1. สำรวจรูปแบบสถาปัตยกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันของชาวพื้นเมือง

2. สำรวจสภาพอาคารเดิม แบ่งส่วนที่ต้องซ่อมแซมส่วนที่ใช้งานได้

3. จัดวางผังรูปแบบการใช้งานพื้นที่ภายใน

4. ปรับแก้รูปแบบให้สอดคล้องกับการใช้งานและการบริหารงาน

5. จัดทำแบบนำเสนอและแบบก่อสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน กระดาษ กระดาษไข ดินสอ คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ภาพ กล้องถ่ายรูป เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Sketchup และAdobe Illustrator) ขนาดของผลงาน กระดาษขนาดมาตรฐาน A3, A4 และA5

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

ได้ศึกษาทดลองการออกแบบภายในพื้นที่พักชั่วคราวโดยมีกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความต้องการแตก ต่างออกไปจากกลุ่มนักท่องเที่ยวหลัก รวมไปถึงได้มีโอกาสศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมและแนวคิดใน การออกแบบสถาปัตยกรรมของประเทศเพื่อนบ้านในเขตเอเชียอุษาคเนย์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงาน ออกแบบปรับปรุงอนุรักษ์อาคารเก่า

เอกสารอ้างอิง

• Graham, Andy. (2013) Flashpackers Culture Replaced the Backpackers. Access 6 July 2014. Available from http://www.hobotraveler.com/budgets/ flashpackers-culture-replaced-the-backpackers.php
• S.E.A. Backpacker South East Asia. (2011) A Short History of Backpacking. Access 7 July 2014. Available from http://www.southeastasiabackpacker.com/ the-evolution-of-the-backpacker
• Westerhausen, Klaus. (2002) Beyond the Beach: An Ethnography of Modern Travellers in Asia. Bangkok: White Lotus.
• Wikipedia. Backpacking (Travel). Access 6 July 2014. Available from http://en.wikipedia.org/wiki/ Backpacking_(travel)
• Wikipedia. Andrew Zimmern. Access 18 July 2014. Available from http://en.wikipedia.org/wiki/ Andrew_Zimmern