งานสร้างสรรค์ตามงานวิจัยฯ กกทอ 2014

Creative Works : followed by Sedge weaving’s creative research 2014

ผศ. ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ
Asst. Prof. Chainarong Ariyaprasert

ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน (ปัญหา โจทย์ แรงบันดาลใจ เหตุปัจจัย) จากความสำเร็จในโครงการวิจัยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุมชน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เมื่อต้นปี 2556 คณะวิจัยจากมัณฑนศิลป์ โดยข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้าโครงการ ดำเนินการตามโจทย์วิจัยสร้างสรรค์จากสังคมและหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างสรรค์เป็นของที่ระลึกโดยใช้ทักษะและภูมิปัญญาพื้นฐานของชุมชน เพื่อให้นำมาผลิตของที่ระลึกดังกล่าว โดยใช้วิธีสำรวจทักษะ พื้นฐานของชาวบ้าน งานอดิเรก รวมถึงอาชีพเสริมของชุมชน ที่มีอาชีพหลักในภาคการเกษตร โดยได้รับความอนุเคราะห์แหล่งทุนวิจัย สร้างสรรค์จากกลุ่มธนาคารทิสโก้ จากการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านนาเลาะจำนวนหนึ่งในอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น มีศักยภาพ และทักษะในการทอ มัด ย้อม กก เพื่อทำเสื่อกกพื้นฐานที่มีความหลากหลายและน่าสนใจ จุดประกายและแรงบันดาลใจให้กับกลุ่ม คณาจารย์วิจัยสร้างสรรค์ผลงานมัณฑนศิลป์ โดยเสนอวัสดุพื้นฐานนี้ให้เป็นวัตถุดิบหลัก ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต่าง ๆ สอนเชิงบูรณาการกับงานวิจัย ในรายวิชาออกแบบ 1 และ 2 ของภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน ชั้นปีที่ 1

โดยทั่วไปแล้ว การทอเสื่อกก เป็น วถีของชุมชนในหมู่บ้านนาเลาะ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นงานอดิเรกหลังจาก การทำไร่ทำนาซึ่งเป็นวิถีหลัก ด้วยความเหมาะสมของการใช้เวลาว่างมาสร้างสรรค์กิจกรรมในกลุ่มเครือญาติ เพื่อคาดว่าจะมาเสริมรายได้ ด้วยการทอเสื่อตามวิธีพื้นบ้านที่คุ้นเคยอย่างง่าย ไม่ซับซ้อนไปจากความเคยชิน จึงเป็นประเด็นสำคัญที่คณะวิจัยโดยข้าพเจ้าในฐานะ หัวหน้าโครงการ ต้องการมุ่งเน้นไปที่ความกล้าหาญในการริเริ่มรูปแบบการย้อมสีและลวดลาย จากแบบที่วิจิตรพิสดารลักษณะต่าง ๆ ในคำสั่งจ้างโดยคณาจารย์มัณฑนศิลป์ เพื่อสร้างทัศนคติกล้าลองผิดลองถูกในกระบวนการผลิตชิ้นงาน ซึ่งคล้ายวิธีการสร้างสรรค์ของ ศิลปินและนักออกแบบ เสริมทักษะการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติตามคำสั่งจ้างทุกชิ้น และวิพากษ์วิจารณ์ผลงานผลงานที่ไม่ดี ในการมุ่ง พัฒนาลวดลายสร้างสรรค์ที่น่าสนใจของกกทอ ซึ่งทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากงานอดิเรกของตน และทำให้เกิดทัศนคติที่ดีในการกล้า คิดริเริ่ม สังเกต และทดลอง จากกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านผ้ทู อกกเหล่านี้ ทำให้เกิดความหลากหลายในการผลิตลวดลายกกทอ จากเดิม และสามารถทำให้คณะวิจัยได้ผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก อันมีลักษณะเฉพาะตัวอย่างยิ่งในกระบวนการทอมัดย้อมกก ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

คณะวิจัยได้ทำการติดต่อกับชุมชนชาวบ้านหมู่บ้านนาเลาะอีกครั้ง เพื่อและนำเอาผลผลิตกกทอเหล่านั้นมาเสริมต่อยอดตามแนวทาง ของศิลปิน นักสร้างสรรค์ นักการตลาด นักธุรกิจ ตลอดจนบุคคลทั่วไป ผู้ที่เกิดแรงบันดาลใจจากการจัดแสดงผลงานใน “นิทรรศการวิจัย สร้างสรรค์กกทอ ชุมชนกระนวน จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับการสนับสนุน จากบริษัททิสโก้ ไฟแนนเชียล จำกัด (มหาชน)” ณ หอศิลปะ และการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ในวันที่ 7-14 พฤษภาคม 2557 ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วม ในพิธีเปิดเป็นจำนวนมากและได้ให้ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์มากมาย พอจะสรุปในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านการต่อยอดผลิตภัณฑ์ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีทั้งนักการตลาด นัก ธุรกิจ ศิลปิน ที่เข้าร่วมชมงานนิทรรศการ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทาง การต่อยอดผลิตภัณฑ์ ที่เจาะเฉพาะไปยังวัสดุกกทอที่น่าสนใจมากว่า วัสดุเสื่อกกยังสามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าที่ต้องการรูปแบบการดีไซน์ ที่แตกต่างออกไปอย่างเป็นเอกลักษณ์ อันจะสามารถแสดงตัวตน หรือ ความเฉพาะตัวของผู้ใช้ได้อย่างดีเช่น ประติมากรรมตั้งโต๊ะ ที่ใส่ขวด ไวน์ พรมเช็ดเท้าภายในบ้าน นำมาประกอบหรือตกแต่งเครื่องเรือนที่เป็น สินค้า collection ประกอบกับชุดบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสปา หรือเทียน หอม และเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับร่างกาย เช่น เข็มขัด หรือ สาย นาฬิกา รวมถึงการนำมาทำเป็นวัสดุในการบุ หรือเพื่อการตกแต่งผนัง สร้างบรรยากาศ

followed-02

followed-03

แต่จากปัญหาของการใช้วัตถุดิบที่คือกกทอนั้น จะทำให้ เกิดเชื้อรา และไม่ทนทานต่อการใช้งานในระยะเวลานาน ถ้า เมื่อเทียบกับวัตถุดิบชนิดอื่น ผู้ทรงคุณวุฒิจึงได้ให้ความคิดเห็น ว่าควรใช้นวัตกรรมที่สามารถปรับปรุงคุณภาพของวัตถุดิบให้มี ความคงทนมากขึ้นกว่านี้ เพื่อที่จะสามารถยืดอายุการใช้งาน ของผลิตภัณฑ์ได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผลิตภัณฑ์มาทำ เป็นที่ใส่เทียนหอม หรือโคมไฟนั้น ควรจะหาวิธีการป้องกันการ เกิดอัคคีภัยอันอาจจะเกิดจากการลามไฟด้วย ซึ่งเป็นมาตรฐาน สำหรับวัสดุที่จะนำเข้ามายังประเทศในแถบยุโรป

ส่วนในด้านลวดลาย ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะเรื่อง ของลวดลายของเสื่อกกทอในงานวิจัยสร้างสรรค์นี้นั้น มีความ เห็นว่า แม้ลวดลายส่วนใหญ่จะได้รับการพัฒนาให้มีความเป็น สมัยใหม่มากขึ้นแล้วนั้น แต่ก็ยังมีภาพของสินค้า OTOP ติดอยู่ ดังนั้น ถ้าจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถขายตลาดในต่าง ประเทศ หรือเกาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นวัยรุ่น หรือคนในวัยทำงานได้ นั้น ควรจะพัฒนาลวดลายให้ตรงกับรสนิยมของกลุ่มเป้าหมาย ให้มากยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มลวดลาย เรขาคณิต หรือลวดลายที่ เป็นกราฟิกลงไป ส่วนสีที่ใช้นั้น ถ้าหากลองพัฒนาให้สามารถ สร้างเป็นสีขาวหรือสีดำ กับเสื่อกกได้มากขึ้น ก็อาจจะทำให้ตัว ผลิตภัณฑ์มีความเรียบง่าย และแสดงถึงความเป็นสากลมาก ยิ่งขึ้น สามารถเจาะตลาดของลูกค้าต่างประเทศได้

followed-04

การเพิ่มเทคนิคต่าง ๆ ลงไปในเสื่อกก ก็สามารถเพิ่ม มูลค่าให้กับเสื่อกกได้เช่นกัน เช่น เทคนิค การฟอกสี เคลือบ หรือย้อมสี นอกเหนือจากนี้ถ้าหากนำวัสดุชนิดอื่นมาใช้ร่วม ในการสร้างผลิตภัณฑ์ก็จะทำให้ผลงานที่ออกมา สามารถใช้ งานได้จริง เช่น นำวัสดุที่เป็นหนัง หรือผ้า มาใช้ในการสร้าง ผลิตภัณฑ์ร่วมกับการใช้เสื่อกกด้วย

การต่อยอดเสื่อกกที่ทอออกมาเป็นตัวอักษรนั้น เห็น ว่า ควรจะตัดให้มีขนาดพอดี แนะนำไปใส่กรอบเพื่อเป็นสินค้า ประดับตกแต่งผนังได้ เพราะถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของการ พัฒนากกทอพื้นถิ่นที่มีความน่าสนใจอย่างมาก และในด้านการ ต่อยอดสินค้า ควรให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบ ลวดลาย และการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ เพราะพื้นฐานของ ธุรกิจ ควรจะให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ก่อน จึงจะทำให้ ฐานของธุรกิจแข็งแรง แต่ถ้าหากมองหาองค์กรที่จะเข้าไปช่วย สนับสนุน คงต้องหานักธุรกิจที่สามารถสนับสนุนในเรื่องของทุน และการจัดหาเจ้าหน้าที่การตลาด ไปให้ความรู้เกี่ยวกับกลไก การตลาดแก่ชุมชนได้ ชุมชนจะได้เข้าใจและสามารถหาทิศทาง ในการพัฒนาผลงานของชุมชนตนเองได้ เพราะชาวบ้านคือผู้ที่ เข้าใจวิธี และเทคนิคในการทอเสื่อกกดีที่สุด ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่ ท่านผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า ลวดลายของกกทอมีความแปลกใหม่ มีเทคนิควิธีการที่แตกต่างไปจากการทอกกแบบดั้งเดิม ทำให้มี ความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเนื่องจากทำให้คนเมืองได้มองเห็นถึง ความเป็นหัตถศิลป์ของกกทอพื้นบ้าน

ในด้านการตลาด ผู้ทรงคุณวุฒิต่างกล่าวไปในทิศทาง เดียวกันว่า ผู้ผลิต ผู้ออกแบบ และผู้ว่าจ้างจะต้องทำงานร่วม กันให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย การลงชุมชนก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้ทราบถึงความเป็นมาของตัวงานได้อย่างลึกซึ้ง เมื่อทราบถึงเรื่องราวแล้วนำเรื่องราวไปใส่ในชิ้นงานก็จะเป็นการ เพิ่มมูลค่าให้งานมากยิ่งขึ้นอีกทั้งการทำความเข้าใจตลาดเพื่อ ให้ทราบถึงความต้องการของลูกค้า และกระแสต่าง ๆ ในโลก เพื่อให้กกทอสามารถเป็นที่นิยมทั้งในตลาดในประเทศและ ต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าจากกระบวนการวิจัยสร้างสรรค์เมื่อ นำผลลัพท์และกระบวนการมานำเสนอในลักษณะนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้ว การจัดทำผลสรุปข้อมูลเพื่อนำ มาต่อยอดความคิดเห็นจากทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและบุคคลทั่วไป ที่เข้าชม ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญเพื่อพัฒนายกระดับและ เป็นการกำ หนดทิศทางของงานสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาต่อยอด ให้มีทิศทางที่เหมาะสมมากขึ้นในอนาคตด้วย

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

• เพื่อต่อยอดผลงานวิจัยให้เป็นจริง ในลักษณะเป็นต้นแบบตาม ข้อสรุปของนิทรรศการ กกทอฯ

• เพื่อผลิตชุดเครื่องเรือนจริง เสนอต่อสาธารณชนในการจัด แสดงผลงานสร้างสรรค์ผลงานคณาจารย์มัณฑนศิลป์

• เพื่อนำผลงานมารวบรวมกลุ่มเพื่อจัดนิทรรศการและนำ เสนอโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคธุรกิจฯลฯ ขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ต่อไป

• แนวความคิด (แนวความคิดรวบยอดของสาร (Message) ที่ ต้องการนำเสนอ)

ข้าพเจ้าเสนอ “ภาพลักษณ์ใหม่” ของกกทอด้วยการนำมาใช้กับ เครื่องเรือนในชีวิตประจำวันให้เกิดความโก้เก๋ จากลวดลายและสีสันจาก ทักษะการย้อม มัด และทอ ในโครงการวิจัยสร้างสรรค์กกทอฯ ของคณะ วิจัยที่ผ่านมา โดยให้สอดรับกับวิถีชีวิตปัจจุบันที่ต้องการความเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะอันโดดเด่น เป็นแรงบันดาลใจและส่งเสริม การใช้ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้นตามข้อสรุปของนิทรรศการ

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน

• จัดทำสรุปผลการประเมินนิทรรศการกกทอที่ผ่านมา ซึ่งได้ จากการประเมินบทสรุปของนิทรรศการทั้งจากการสัมภาษณ์ การตอบประเมิน และการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ

• จัดทำข้อสรุปในลักษณะแบบจำลองแนวคิดที่เป็นเกณฑ์และ แนวทางในการสร้างสรรค์กกทอ ให้กับคณาจารย์มัณฑนศิลป์ ที่ตอบรับร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อขับเคลื่อนสังคม

• คัดเลือกผืนกกทอที่จะนำมาใช้ผลิตเป็นเครื่องเรือน

• คัดเลือกรูปแบบและรูปทรงเครื่องเรือนที่เหมาะสมในการนำ มากกทอมาใช้

• ทดสอบและพัฒนาปรับปรุงการติดตั้งกกทอกับเครื่องเรือนให้ ผสมผสานกันอย่างดี

• จัดทำชุดเครื่องเรือน หนึ่งชุดเพื่อนำเสนอต่อสาธารณชน

วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

• ผืนกกทอที่สร้างสรรค์ในโครงการวิจัยที่ผ่านมา

• แคตตาล้อครูปแบบเครื่องเรือนที่ผลิตจำหน่ายในปัจจุบัน

• แคตตาล้อควัสดุอุปกรณ์ประกอบเครื่องเรือน และกระดาษ เสก็ตซ์ภาพ

• กล้องถ่ายภาพและสมุดบันทึก

followed-05

เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

• คัดเลือกผืนกกทอและทดลองนำมาวางทาบกับแคตตาล้อค เครี่องเรือนและวัสดุอุปกรณ์

• ทำการเสก็ตซ์ภาพขึ้นมาเป็นรูปทรงเครื่องเรือนกับผิวกกทอ

• นำผืนกกทอจริงมาทดลองทาบทับเครื่องเรือนจริงๆ เพื่อทำการ ตรวจแก้ไขจุดที่อาจเป็นปัญหา

• ดำเนินการนำไปสร้างเป็นชิ้นงานจริงต่อไป ขนาดหรือความยาวของผลงานสร้างสรรค์ เก้าอี้แต่ละตัวมีสี่ขา มีขนาดความกว้าง 45-50 ซ.ม. ความยาว 50 ซ.ม. ความสูง 80-90 ซ.ม. ตามขนาดมาตรฐานทั่วไปของเก้าอี้ปกติ

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

followed-06

 

เอกสารอ้างอิง

• ผศ.ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจาก ชุมชนอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น, พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
• ผศ.ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ. (2557, 7 พฤษภาคม). พิธีเปิดนิทรรศการ กกทอสร้างสรรค์กระนวน ขอนแก่น. FACEBOOK. (ออนไลน์). แหล่ง ที่มา: https://www.facebook.com/uddee/media_set?set =a.10152174606877144.1073742056.584302145&type=3. วันที่สืบค้น 1 สิงหาคม 2557.