หยั่งราก

Rootage

อาจารย์ เสาวลักษณ์ กบิลสิงห์
Saowalak Kabilsingh

ที่มา และความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

การมีอยู่และเป็นไปของชีวิตผู้คนล้วนมีเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นผ่านเข้ามาสลับซับซ้อนวกวน ความเป็นไปเหล่านั้นล้วนมี ที่มาและมีผลสืบเนื่องต่อผู้ที่ได้สัมผัสผ่านประสบการณ์เหล่านั้นอย่างต่อเนื่องเรื่องราวต่างๆจะถูกดูดซึมเข้าสู่ความทรงจำ กระบวนการ ทางความคิด ความรู้สึก รสนิยม ของผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งต่าง ๆเหล่านั้นจะถูกกลั่นกรองและถ่ายทอดออกมาสู่ตัวตนของผู้คนซึ่ง ทำให้ในแต่ละบุคคลล้วนมีความเฉพาะของบุคคลนั้น ๆ เปรียบได้ดังต้นไม้ ดอกไม้ ที่มีรากหยั่งลงเพื่อการอยู่รอด การดูดซับเอาอากาศ น้ำ แร่ธาตุ มาสร้างตัวตนให้มีความสมบูรณ์ สวยงาม ตามสภาพของปัจจัยสิ่งแวดล้อม ถ้าน้ำดี อากาศอุณหภูมิเหมาะสม แร่ธาตุอุดม สมบูรณ์ ดอกไม้ พืชพรรณนั้นย่อมแสดงความสมบูรณ์และความงามออกมาอย่างเต็มที่ เฉกเช่นมนุษย์เราถ้าได้รับการดูแลเอาใจใส่จาก ภายนอก เช่น ปัจจัย 4 และภายใน เช่น ความรัก ความเข้าใจ ความรู้จากการอบรมสั่งสอน บุคคลนั้น ๆ ย่อมแสดงออกถึงความสมบูรณ์ ความสุข ตัวตนที่ผู้คนรอบข้างสัมผัสได้ เช่นเดียวกัน ถ้ามนุษย์นั้นได้รับปัจจัยที่เป็นลบ เช่นความรุนแรง ความเกลียดชัง การไม่ยอมรับ จากสังคม ขาดการอบรมสั่งสอนย่อมส่งผลต่อบุคคลนั้นในด้านลบโดยตรง และยากต่อการแก้ไข

ข้าพเจ้าได้พบเห็นต้นไม้ที่หยั่งรากลงเป็นสายยาวระพื้น ธรรมชาติสร้างเพื่อการดำรงอยู่ทำให้สะท้อนนึกถึงชีวิตของผู้คนรอบตัว และสังคมล้วนเป็นไปอย่างต้นไม้ ดอกไม้นี้เอง จึงได้นำมาสร้างสรรค์เป็นรูปแบบดอกไม้ที่มีรากยาวห้อยระย้า ด้วยเทคนิคการทอ การมัด สร้างเป็นผลงานสองมิติ

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์

1. เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

2. เป็นการพัฒนาผลงานสิ่งทอสู่งานจิตรกรรมแบบแขวน

3. เป็นการสร้างความสมดุลทางจิตใจ แง่คิด มุมมองเพื่อพัฒนาตน และสังคมรอบตัว

4. เป็นการสะท้อนความรู้สึกของสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งมีชีวิตเพื่อ สิ่งมีชีวิต การเกื้อกูลและอิทธิพลต่อกัน

แนวความคิด

นำเอาภาพลักษณ์ของพืชพรรณโดยใช้ดอกไม้มาเป็นตัวสื่อถึงแนวความ คิดเรื่องราวของคนในสังคมที่มีความแตกต่างทั้งจิต สัญชาตญาณที่อยู่ภายใน และรูปลักษณ์ที่แสดงออกมาภายนอกให้เห็นโดยให้มีรูปทรงของดอกที่ดูแปลก ตาโดยจัดวางรูปทรงดอกไม้สองดอกซ้อนกันอยู่ เพื่อแสดงถึงการเปรียบเทียบ และความแตกต่างอย่างชัดเจนกำหนดให้มีเส้นใยห้อยลงมาจากโครงดอกไม้ทั้ง สอง แทนภาพลักษณ์ของรากอากาศที่ปล่อยทิ้งแบบอิสระลงสู่พื้นที่ด้านล่าง ก่อให้เกิดที่ว่างแบบเลื่อนไหลเข้าไปสอดรับอยู่ใต้รูปทรงหลัก เป็นการใช้การ เคลื่อนไหวของที่ว่างนำพาไปสู่องค์ประกอบหลักและเพิ่มปริมาตรและการ เคลื่อนไหวของรูปทรงอีกทางหนึ่ง พลังการเคลื่อนไหวในงานศิลปะจะเกิดจาก ความเคลื่อนไหวของสายตาผู้ดู จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งเคลื่อนที่ไปตามเส้น สี น้ำหนักอ่อนแก่ที่มีในงาน ผ่านที่ว่างในลักษณะต่าง ๆ จังหวะการเคลื่อนไหว ของสายตาประกอบกับรูปทรงและที่ว่างทำให้เกิดความรู้สึกทางศิลปะทาง อารมณ์และสุนทรียภาพแก่ผู้ดู แทนการดำรงชีวิต การไขว่คว้า ดูดซึม การ แตกแขนง แล้วส่งต่อไปยังดอกเบื้องบนที่จะเป็นตัวแทนของมนุษย์ ใบหน้า ความรู้สึกนึกคิด ฯลฯ

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงาน “หยั่งราก” ถูกถ่ายทอดออกมารูปแบบงานสิ่งทอ

1. ศึกษาข้อมูลของดอกไม้และพืชที่ใช้รากอากาศมาร่างแบบทำผล งานออกแบบให้ประกอบกันอย่างเหมาะสม

2. ใช้รูปลักษณ์ของดอกไม้มี กลีบดอกขนาดใหญ่สองดอกประกบคู่ มี ขนาดลดหลั่นกัน สีเส้นทอที่ใช้คู่สีตรงข้ามกันเพื่อแสดงความแตก ต่าง แปลกตา การเบ่งบานและแสดงพื้นผิวของเส้นใย

3. ปล่อยปลายเส้นทอให้ทิ้งตัวห้อยเป็นระดับแทนถึงรากอากาศของ พืช กำหนดให้เส้นใยมีสีที่แตกต่างกันตามดอกห้อยปลายลงเป็น ระดับใกล้เคียงกันเพื่อส่งผลในเรื่องมิติของงาน ผูกมัดปมให้เส้น เชือกมีน้ำหนักถ่วง ทำให้เกิดที่ว่างแบบเลื่อนไหลเป็นแนวดิ่ง

4. ทำโครงเกสรด้วยเหล็กเส้นดัดมีลักษณะนูุนโค้งออกมาคล้ายกะลา คว่ำแล้วทอเส้นใยคลุมไว้นำไปประกอบกับดอกที่เว้นพื้นที่ใจกลาง ดอกไว้ สร้างมิติของดอกให้มากยิ่งขึ้น

5.ประดับตกแต่งผลงานโดยรวมด้วยเชือกสีเย็บติด มัดติดเพื่อเพิ่ม ลูกเล่น ประดับลูกปัดสีเพื่อเพิ่มรายละเอียดและความกลมกลืน ของงาน

rootage-02

rootage-03

เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

ใช้การมัดปม การทอ จนเกิดเป็นรูปทรงและพื้นผิวเส้นใย ผสมด้วยการ เย็บและประดับด้วยหินสี

วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

เชือกฝ้ายตีเกลียวย้อมสี ห่วงเหล็กทรงกลม เหล็กดัดทรงกะลา ลูกปัด และเลื่อมสี ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ ขนาด 60 x 100 ซ.ม. องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

ประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างสรรค์

• สามารถสร้างรูปทรงใหม่ๆด้วยเทคนิคการมัดเชือก

• การประสมประสานโครงเหล็กรูปทรงต่างๆช่วยให้ง่ายต่อการ สร้างสรรค์

• ได้รู้จักการใช้วัสดุมาแทนคุณค่าและที่ว่างในผลงานทำให้เกิดผล ได้ดี

• ได้พัฒนาผลงานสิ่งทอเข้าสู่งานจิตรกรรม ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข ในการใช้เทคนิคการมัดจำเป็นต้องมีจังหวะและความแน่นที่เท่า กันเพราะจะส่งผลไปยังพื้นผิวของตัวงาน

rootage-04
เอกสารอ้างอิง

• ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา พาณิชย์, 2534

• ยุพินศรี สายทอง. งานทอ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2528

• ข้อมูลภาพ http://tarlomak.exteen.com/images/entry/ entry73/tid0061.jpg