หลังคาหน้าฝน

Roof & Rain

ผศ. ดร. ภูวนาท รัตนรังสิกุล
Asst. Prof. Dr. Phuvanart Rattanarungsikul

ที่มา และความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

พฤติกรรมการแสดงออกเพื่อช่วงชิงพื้นที่สื่อต่าง ๆ การโพสท์ข้อความหรือคลิบในโซเชียลมีเดียทั้งหลายที่เน้นความแปลกแยก กระแทกความรู้สึกของสังคมโดยไม่คำนึงถึงบรรทัดฐาน กฎหมาย หรือศีลธรรม พฤติกรรมดังกล่าวไม่เพียงปรากฏในวัฒนธรรมโซเชียลมีเดีย เท่านั้น แต่ปรากฏมากขึ้นในแวดวงวิชาการอีกด้วย ดังจะสังเกตได้จากการตั้งประเด็นเพื่อกำหนดหัวข้อวิจัย หรือการตั้งสมมุติฐานการวิจัย จำ นวนไมน่ อ้ ยทีม่ งุ่ เนน้ สรา้ งกระแสประชาสมั พนั ธแ์ ละสง่ ผลใหเ้ ปน็ ประเด็นฮือฮาในสงั คมเพือ่ หาผใู้ หก้ ารสนบั สนนุ งา่ ยขึ้น ปรากฏการณท์ ีเ่ กดิ ขึ้น สะท้อนภาพพฤติกรรมในวัฒนธรรมย่อย (subculture) ที่ตีความงานสร้างสรรค์เป็นเรื่องของการสร้างความแปลก ความแตกต่าง มีความ พิเศษเฉพาะตัว อันเป็นผลพวงมาจากความเข้าใจอย่างผิวเผินว่าความแปลกและแตกต่างเป็นการ “สร้างอัตลักษณ์” ที่จะเป็นทางลัดนำพาไป สู่ความสำเร็จทางธุรกิจ หรือสร้างชื่อเสียงให้โดยเร็ว

หากพิจารณาคัดสรรผลงานศิลปะเพื่อเป็นตัวแทนของวัฒนธรรม ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะ นักมานุษยวิทยา นักวิจารณ์ หรือ ภัณฑารักษ์ ควรคัดสรรตัวอย่างชิ้นพิเศษที่เป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมอย่างไร ระหว่างชิ้นงานที่แปลกแยก จากสังคม หรือ ชิ้นงานธรรมดาสามัญที่อุปโภคบริโภคอย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมนั้น ๆ ยกตัวอย่างการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อหาหลักฐาน ทางวัฒนธรรมในอดีต แท้จริงแล้ว นักโบราณคดีไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อค้นหาโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ เช่น เครื่องประดับทองคำ อัญมณีเลอค่า เครื่องถ้วย พระเครื่อง หรือประติมากรรมระดับประเมินค่ามิได้ หากแต่ต้องรวมรวมหลักฐานทั้งชั้นดินทางธรณีวิทยา ร่องรอยการดำรงชีวิต เศษถ่าน กระดูกสัตว์ เปลือกหอย เครื่องมือ เครื่องใช้ รวมทั้งเศษภาชนะต่าง ๆ อันอาจเป็นสิ่งธรรมดาสามัญในสายตาของนักสะสม หากแต่สิ่ง ธรรมดาสามัญเหล่านั้นคือหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้สภาพการดำรงชีวิต ความเชื่อ หรือแม้กระทั่งการกำเนิดและล่มสลายของวัฒนธรรมที่ศึกษาอยู่ ได้อย่างหนักแน่น และในจำนวนโบราณวัตถุธรรมดาสามัญนั้นเอง ที่จะถูกหยิบยกบางชิ้นมาเป็นตัวแทนของหลักฐานในรายงานการขุดค้นและ ส่งผลให้ถูกเรียกว่า โบราณวัตถุชิ้นพิเศษในภายหลัง ดังนั้นหากเปรียบเทียบนักโบราณคดีกับศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานอันเป็นตัวแทนวัฒนธรรม ร่วมสมัยที่ตนดำรงชีพอยู่ ศิลปินควรเริ่มต้นสร้างสรรค์ผลงานโดยมีเป้าหมายเพื่อความโดดเด่น แปลกแยก แตกต่าง หรือสร้างผลงานที่สัมพันธ์ กับวิถีอันธรรมดาสามัญ การสร้างสรรค์ตามแนวทางใดจึงจะเป็นตัวแทนวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ดีกว่ากันแน่

roof-rain-02

roof-rain-03

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

การสร้างสรรค์เครื่องประดับด้วยแนวคิดเริ่ม ต้นจากทัศนียภาพสามัญ พบเห็นได้ทั่วไป วัสดุอันเสื่อม สลาย บอบบาง และเป็นอนิจจัง เพื่อสะท้อนความ เป็นธรรมดาสามัญในวิถีอุษาคเนย์ที่คงปรากฏเป็น ทัศนธรรมอยู่ในวิถีอาเซียน

แนวความคิด

วัฒนธรรมในอดีตของ “อุษาคเนย์” ซึ่งหมาย ถึงบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน อาจถูก แบ่งด้วยการยกตัวแทนทางวัฒนธรรมที่พิเศษเช่น ปราสาทนครวัด มหาเจดีย์บุโรบูโด หรือทะเลเจดีย์ แห่งอาณาจักรพุกามก็ตาม แต่หลักฐานทางโบราณคดี เหล่านั้นก็เป็นตัวแทนที่เอนเอียงไปในด้าน การเมือง การปกครอง ศาสนา และเชิงช่าง แม้จะเป็นทรัพยากร ทางการท่องเที่ยวที่มีค่าอย่างยิ่งและยั่งยืน แต่ในฐานะ ของการร่วมมือสมัครสมานเป็นประชาคมอาเซียน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป การช่วงชิงกันเป็นผู้ ยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรมในอดีตอาจกลายเป็นอุปสรรค

ต่อความสมานฉันท์ของประชาคม จึงไม่อาจละเลยที่จะส่งเสริมการ ศึกษา วิถีชีวิตของชนธรรมดาสามัญควบคู่กันไปด้วย หากศิลปินเลือกสรร ทัศนธาตุเพื่อสื่อถึงตัวแทนทางวัฒนธรรมร่วมในอาเซียนโดยมุ่งประเด็น ศึกษาไปยังสถานที่สำคัญของวัฒนธรรมนั้น ๆ ตามที่ปรากฏในโฆษณา ประชาสัมพันธ์ทางการท่องเที่ยว อาจหลงไปกับภาพลักษณ์ที่ถูกสร้าง โดยนักประชาสัมพันธ์และพาห่างไกลจากแก่นสารของวิถีชีวิตโดยไม่รู้ตัว การไปศึกษายังสถานที่จริง กับการดูสื่อโฆษณาหรือสารคดีประชาสัมพันธ์ อยู่กับบ้าน จะก่อให้เกิดงานที่แตกต่างกันได้อย่างไร? หากจะสื่อสารเรื่อง ความเป็นไทย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทัศนธาตุจากวัดพระแก้ว เจดีย์ หรือ ลายกนกได้อย่างไร? บางครั้งคำ ถามเหล่านี้อาจตอบได้ง่ายกว่าที่คิด โดย เพียงแต่ศิลปินหยุดค้นหาความพิเศษ ความแตกต่าง ความแปลกแยกทั้ง หลาย และพิจารณาความเป็นธรรมดาสามัญในวัฒนธรรมนั่นเอง ดังเช่น เอกลักษณ์ของสไตล์บาหลี ไม่อาจศึกษาเพียงพระราชวังโบราณ หรือ วัดน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ แต่อยู่ที่อาคารบ้านเรือนปรกติสามัญที่สร้างวัดของ ตนเองในบ้านเกือบทุกหลัง (ภาพที่ 1 และ2)

วิถีอันเป็นสามัญ สร้างทัศนียภาพของสังคมนั้นให้ปรากฏอย่าง แจ่มชัดต่อหน้าศิลปินเสมอ แต่ความเชื่อในทางลัดสู่ชื่อเสียงและความ มั่งคั่งด้วยการสร้างความแปลกแยกแตกต่าง กลับเป็นสิ่งยั่วยวนให้ศิลปิน หลงทางไป ทัศนียภาพซึ่งดูธรรมดาสามัญ บอกเล่าเรื่องราวของวัฒนธรรม อย่างซื่อตรง จะสื่อสารข้อความทางศิลปะได้อย่างไม่บิดเบือนหรือไม่ ในเมื่อจิตมนุษย์ผู้รับสื่อพร้อมจะปรุงแต่งข้อความไปตามประสบการณ์ ของตน ผลงานศิลปะซึ่งทำ งานในลักษณะของภาษาหนึ่งที่ทำ งานระหว่าง การมองเห็นในแวบแรก (denoted meaning) ที่เชื้อเชิญให้เราตีความ และให้ความหมายแก่ภาพหรือวัตถุนั้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงการปรุงแต่ง และยึดติดกับมายาภาพ

งานศิลปะร่วมสมัยที่อาจนำพามนุษย์ให้เข้าถึง “ทัศนธรรม (visual culture)” จึงไม่เพียงแต่ลดทอนสภาวะจิตปรุงแต่ง แต่ในทางตรงข้าม แล้ว ควรเป็นสิ่งช่วยขัดเกลาจิตให้นิ่งสงบ โดยกระบวนการแทนค่างาน สร้างสรรค์เป็น“รูปขันธ์” ทำงานในสถานะ “สัญญาขันธ์” ซึ่งเสมือน สะพาน หรือสวิทช์เปิดจิตของผู้เสพให้เข้าถึงความเป็น “วัตถุธรรม” (material culture) อันมีไตรลักษณ์เป็นธรรม กล่าวคือสภาวะเปลี่ยนแปลง ของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป โดยหัวข้อที่ศิลปินนำมาใช้ก็ควรเป็น สิ่งอันธรรมดาสามัญของสังคมปัจจุบันนี้เอง ดังตัวอย่างเมื่อผ้คู นในเมือง ใหญ่ออกเดินทางเพื่อพักผ่อน ทัศนียภาพอันแสนธรรมดาสามัญในท้อง ถิ่นที่คุ้นชินอันได้แก่ บ้านเรือนที่กลมกลืนเข้ากับป่าไม้ทิวเขาหรือท้อง ทะเล สภาพร้อนชื้น ฝนตกชุก ล้วนขัดเกลาให้เห็นพลังชีวิตของมนุษย์ ผู้อาศัยพึ่งพิง และต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ไปพร้อมกัน แดด ฝน ที่รุนแรง กำหนดผู้คนให้จำเป็นต้องเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่เหมาะสม เสียงฝน ตกกระทบหลังคาสังกะสีเป็นเครื่องเตือนสติของการกัดกร่อนและเสื่อม สลาย แต่ขณะเดียวกันก็สร้างจังหวะก้องกังวานประสานไปกับป่าเขาและ ระรอกคลื่น

roof-rain-04

roof-rain-05

ศิลปินควรคัดสรรทัศนธาตุเพียงใดจึงเหมาะสมในการสร้างสรรค์ เสียงฝนกระทบหลังคาสังกะสี ตัวเรือนไม้ สนิม คราบรา น้ำในห้วย พุ่มไม้ ภูเขา ป้ายจราจร ผ้าใบ บรรยากาศ ทัศนธาตุร้อยแปดพันประการ วนเวียนอยู่ในกระบวนการร่างแบบจนกว่าจะตัดทอนให้เหลือเท่าที่ เหมาะสม ไม่ต่างกับการบำเพ็ญศีลเจริญธรรมเพื่อ “ขัดเกลา”สิ่งปรุง แต่งทั้งหลาย กระบวนการทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงาน อันสะท้อนความเป็นธรรมดาสามัญในวิถีอุษาคเนย์ที่คงปรากฏเป็น ทัศนธรรมอยู่ในวิถีอาเซียน ณ.วันนี้ ดังนั้น หากการกำหนดคุณค่าของ เครื่องประดับด้วยความพิเศษของวัสดุ โลหะ และอัญมณี ที่มีคุณสมบัติ แปลก แตกต่าง หาได้ยาก แข็งแกร่ง ทนทาน เป็นนิรันดร เป็นประเพณี นิยมของการเลือกใช้เครื่องประดับแล้ว การสร้างสรรค์เครื่องประดับ ด้วยแนวคิดเริ่มต้นจากทัศนียภาพสามัญ พบเห็นได้ทั่วไป วัสดุอัน เสื่อมสลาย บอบบาง และเป็นอนิจจัง ก็อาจชักนำให้กระบวนการรับรู้ เกิดผลในทางตรงข้ามก็เป็นได้

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน

จากที่มาและแนวคิดข้างต้น จึงกำหนดแนวคิดโดยใช้ทิวทัศน์ อันธรรมดาสามัญของท้องถิ่นที่ยังคงพบเห็นได้ในชนบทปัจจุบัน โดยคัด สรรความประทับใจในวัยเด็กที่มีความรู้สึกอบอุ่นเมื่อยามนอนกอดคุณ ยายเวลาฝนตกกระทบหลังคาสังกะสี ที่บ้านริมคลองในสวนแถบบางพลัด และแปรภาพประทับใจในวัยเด็กออกเป็นรูปธรรมด้วยกระบวนการร่าง แบบอย่างรวดเร็ว

จากแบบร่างเบื้องต้น สามารถกำหนดทัศนธาตุที่ต้องการให้ ปรากฏในผลงานได้อย่างน้อยที่สุดดังนี้

• หลังคาสังกะสี เมื่อย่อส่วนมาเป็นเครื่องประดับ จำเป็นต้อง ใช้การจัดองค์ประกอบในรูปทัศนียภาพ เพื่อสื่อความหมาย ถึงขนาดที่แท้จริง และสร้างสนิมโดยควบคุมให้สื่อถึงวิถีชีวิต ธรรมดาสามัญ และเน้นย้ำความเป็นธรรมดาสามัญของวัตถุ ธรรมตามหลักไตรลักษณ์ โดยควบคุมให้เกิดสนิมในจังหวะ อันเหมาะสม

• ฝน ใช้รูปทรงของเมฆ สายฝน และเสียงที่ตกกระทบหลังคา เป็นตัวแทน โดยใช้เส้นเอ็นและเม็ดดีบุก เพื่อขณะเคลื่อนไหว ร่างกาย เส้นเอ็นจะเหวี่ยงตีเม็ดดีบุกกระทบแผ่นสังกะสีเป็น เสียงฝน โสตผัสสะจะถูกกระตุ้น และทำงานกับสัญญาขันธ์ ของผู้สวมใส่ เสมือนเป็นสวิทช์ (contact) ที่เปิดสู่สภาวะจิต สงบสันติในอดีตของผู้ที่มีประสบการณ์ทำนองเดียวกัน

• จุดติดตั้งบนร่างกาย ใช้พื้นที่บริเวณลำตัวด้านซ้ายของผู้สวม ใส่ ซึ่งเป็นพื้นที่สามัญในการสวมใส่เข็มกลัด โดยแยกระหว่าง ชิ้นส่วนที่ออกแบบจากรูปทรงของเมฆฝน กับส่วนทิวทัศน์ หลังคา เชื่อมต่อด้วยเส้นเอ็นและหยาดฝน

การพัฒนาแบบ

กำหนดวัสดุลวดเงินบริสุทธิ์ทำความสะอาดด้วยสารส้ม เพื่อสื่อ ถึงทัศนธาตุอันพิสุทธิ์ของธรรมชาติ ที่หลั่งรินลงมากระทบหลังคาสังกะสี ขึ้นสนิมอันเป็นตัวแทนของสิ่งสร้างของมนุษย์ ซึ่งในชั้นแรกเมื่อสร้างเสร็จ ใหม่ ๆ คงมีความเงางามโดดเด่น แต่ธรรมชาติอันยิ่งยิ่งก็กล่อมเกลาจน เป็นสิ่งอันธรรมดาสามัญและกลมกลืนด้วยระยะเวลาตามกฏไตรลักษณ์

วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

แผ่นสังกะสี เส้นลวดทองเหลือง โลหะเงิน เส้นเอ็นเชื่อมเม็ดดีบุก

เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

รีดแผ่น ดึงเส้น ดุนลายโลหะ ควบคุมสนิมด้วยวิธี Patina เชื่อมโลหะ และเชื่อมเอ็นไนลอนกับเม็ดดีบุก

ขนาดหรือความยาวของผลงานสร้างสรรค์

9 x 15 x 0.7 ซ.ม.

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

งานศิลปะร่วมสมัยที่อาจนำพามนุษย์ให้เข้าถึง “ทัศนธรรม (visual culture)” จึงไม่เพียงแต่ลดทอนสภาวะจิตปรุงแต่ง แต่ในทางตรงข้าม แล้ว ควรเป็นสิ่งช่วยขัดเกลาจิตให้นิ่งสงบ โดยกระบวนการแทนค่างาน สร้างสรรค์เป็น“รูปขันธ์”ทำงานในสถานะ“สัญญาขันธ์”ซึ่งเสมือนสะพาน หรือสวิทช์เปิดจิตของผู้เสพให้เข้าถึงความเป็น “วัตถุธรรม” (material culture) อันมีไตรลักษณ์เป็นธรรม กล่าวคือสภาวะเปลี่ยนแปลงของ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป โดยหัวข้อที่ศิลปินนำมาใช้ก็ควรเป็นสิ่งอัน ธรรมดาสามัญของสังคมปัจจุบันนี้ การสร้างสรรค์งานครั้งนี้จึงเป็นการ ทดลองตีความแนวคิดทฤษฎี Semiotic หรือ “สัญศาสตร์” โดยพิจารณา การรับรู้ของมนุษย์โดยวิเคราะห์ตามหลักการขันธ์5ของพระพุทธศาสนา

roof-rain-06

เอกสารอ้างอิง

• เถกิง พัฒโนภาษ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.), “สัญศาสตร์กับ ภาพแทนความ” (แปลจากบทความ Semiotics and Visual Representation โดย อาจารย์ ดร. Brian Anthony Curin, หลักสูตรนานาชาติวิทยาศาสตร์บัณฑิต(สถาปัตยกรรม) เข้าถึง เมื่อ 18 มิถุนายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.arch.chula. ac.th/journal/files/article/gyYaZimab3Sm103124.pd
• Harrison Charles, Movement in Modern Art: Modernism, London: Tate Publishing, 1997
• Jivan Astfalck, Caroline Broadhead and Paul Derrez, New Directions in Jewellery I, UK: Black Dog Publishing, 2005