แดนสุขาวดี

Paradise

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง
Asst. Prof. Praiwan Da-kliang

ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์งาน

ภูมิหลังของข้าพเจ้านั้นเป็นคนเกิดในชนบทที่มีทำเลที่ตั้งในป่าเขาที่ห่างไกล ความเจริญทางวัตถุ ครอบครัวประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำไร่ข้าวโพด ไร่ถั่ว ไร่ข้าว ขว้าง มีฐานะยากจน ครอบครัวมีหนี้สิน แต่ในการดำรงชีวิตทางจิตใจนั้นกลับพบความสุข อย่าง มาก เช่น ความอบอุ่นในครอบครัว มีพ่อ แม่ พี่ น้อง และเพื่อนบ้านที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กันและกัน ในด้านสภาพแวดล้อมก็พบธรรมชาติ ที่ร่มเย็นเป็นสุข ในน้ำมีปลา ในป่ามี ต้นไม้ใหญ่ เต็มไปด้วยสัตว์ป่า

เมื่อถึงวัยที่ต้องเรียนภาคบังคับข้าพเจ้าได้จากครอบครัวมาศึกษาในตัวเมืองใหญ่ ได้อาศัยวัดในพระพุทธศาสนาและข้าว ก้นบาตรพระดำรงชีวิต สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนไปจากเดิม ชีวิตมีการเรียนรู้เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ให้ได้ ทั้งการแข่งขันทางการศึกษา โดยมุ่ง เน้นที่จะเป็นคนเรียนเก่ง สอบให้ได้ที่ 1 ได้เห็นฐานะของพื่อนที่แตกต่างกัน บางคนมีรถมาส่ง บางคนมีเงินมากใช้จ่ายได้อย่างฟุ่มเฟือย บางคนขาดพ่อแม่ เป็นเด็กกำพร้า ทำให้เกิดความสงสัยเรื่อยมาว่าชีวิตมนุษย์นั้นเกิดมาเพื่ออะไรกันแน่

เมื่อเติบใหญ่ถึงวัยที่จะเรียนศิลปะที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ ได้เข้ามาอาศัยในเมืองหลวงที่เรียกกันว่า กรุงเทพมหานคร ชีวิตก็เปลี่ยน ไปยิ่งขึ้น พบอาคารใหญ่โต ถนนหนทางเต็มไปด้วยรถยนต์ ผู้คนดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด สถานที่ทุกแห่งล้วนเป็นธุรกิจการค้า มี แต่แสวงหาผลประโยชน์ ไร้ความเมตตา ปราณี มือใครยาวสาวได้สาวเอา หากหามาได้ตามที่ต้องการก็จะมีความสุขอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ กระหายหามาเพิ่มอีกไม่รู้จักพอ หากมองอย่างผิวเผินก็คิดว่านี่คือความสุข แต่มันเป็นสุขที่ไม่คงที่และไม่แน่นอน ข้าพเจ้าเริ่มตระหนัก ว่า ความสุขเช่นสมัยเดก็ ๆ นั้นแทบจะหายไปหมด นี่หรอื ที่เขาเรียกวา่ เมืองศิวิไลซ์ ทำไมผู้คนจึงแล้งน้ำใจเหลอื เกิน จึงทำให้ต้องการหาคำตอบว่าทำไมมนุษย์ จึงเป็นเช่นนี้

มนุษย์ (Human) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญา มีเหตุผล รู้จัก จำแนกแยกแยะสิ่งดี สิ่งชั่ว มี คุณธรรม มีจิตใจสูง ต่างจากสัตว์ที่ใช้ สัญชาตญาณอย่างเดียว มนุษย์มีส่วนประกอบไปด้วยอะไร เท่าที่รับรู้ ได้ตั้งแต่ทารกคลอดออกจากครรภ์มารดา เราได้ยินคำถามว่าครบ 32 หรือเปล่า อันนี้หมายถึงธาตุที่เป็นองค์ประกอบทำให้เกิดเป็นร่างกายของ มนุษย์อันได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งมนุษย์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วนดังต่อไปนี้

1. ร่างกาย (Body)

2. จิตวิญญาณ (Spirit)

1. ร่างกาย (Body) หมายถึง ส่วนที่เป็นโครงสร้างหลักของมนุษย์ ที่สามารถพิสูจน์ได้ สัมผัสได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น ส่วนที่เป็นกายภาพ ( Physical ) อันประกอบไปด้วยระบบ ต่าง ๆ เช่นกล้ามเนื้อ กระดูก ประสาท การหายใจ ฯลฯ ในทางสัจธรรมที่เป็นความจริงนั้นร่างกายประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ

2. จิตวิญญาณ (Spirit) หมายถึง ส่วนที่เป็นนามธรรมในตัว มนุษย์ อันได้แก่ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ถ้าพูดให้เข้าใจ ง่าย ๆ ก็คือ จิตใจของมนุษย์นั่นเอง จิตใจของมนุษย์นั้น ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้เป็นอย่างมาก เพราะสิ่งนี้เป็นตัวสั่งการให้เกิดการกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะผลงานศิลปะ การกระทำตั้งแต่รับข้อมูล โดนสิ่ง เร้า มีประสบการณ์ การแปลความหมายเป็นการรับรู้ที่อยู่ ในจิตใจ แล้วนำออกมาเป็นแรงบันดาลใจ เป็นแนวทางใน การสร้างผลงานศิลปะ ล้วนเป็นคำสั่งของจิตใจ มนุษย์ทั้งสิ้น ในทางสัจนิยม ได้แบ่งจิตใจไว้ดังนี้ คือ เวทนา หมายถึง การ แสดงตัวของความคิด อารมณ์ความรู้สึก ชอบ ไม่ชอบ เฉย ๆ สัญญา หมายถึง ความจำได้หมายรู้ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ กำหนด เป็นรูปสัญลักษณ์ที่เราจดจำไว้ในจิตใจเป็นประสบการณ์ เดิม สังขาร หมายถึง การแปลความหมายหรือการปรุงแต่ง วิญญาณ หมายถึง การสัมผัสที่ผ่านตามองเห็น หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรสอาหาร กายสัมผัส ร้อน เย็น หยาบ ละเอียด แล้วเกิดอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด

ข้าพเจ้าพบว่า ร่างกายและจิตวิญาญของเราควรได้รับการดูแล เอาใจใส่อย่างดี ทั้งสองส่วนนี้จะเกื้อกูลกัน หากร่างกายเจ็บป่วยก็จะดึง ให้จิตวิญญาณเจ็บป่วยด้วย ในทางกลับกัน หากจิตวิณญาณแย่ก็จะทำให้ ร่างกายแย่ตามไปด้วย แต่ถ้าเรามีการฝึกปฏิบัติตัวที่ดีแล้ว ก็สามารถ กอบกู้จิตวิญญาณให้กลับมาดีได้ การทำร่างกายและจิตใจให้สดใสผ่องแผ้ว ปราศจากความเศร้าหมอง ก็คือความสุขที่แท้จริงที่มนุษย์จะได้รับ แดน นั้นก็คือ แดนสุขาวดีนั่นเอง หากเมื่อใดจิตวิญญาณทุกข์ทรมานและ ร้อนรุ่ม แดนนั้นก็คือนรกที่อยู่ในใจเราเช่นกัน

paradise-02

วัตถุประสงค์ของการสร้างผลงาน

1. เพื่อต้องการถ่ายทอดผลงานจิตรกรรมแบบเหมือนจริงกึ่งฝัน โดย กำหนดโครงสร้างจากธรรมชาติ และผสมผสานกับจินตนาการ ของข้าพเจ้า

2. เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความสุขที่ข้าพเจ้าพบ คือแดนสุขาวดี ในดินแดนแห่งนี้จะมีปัจจัยช่วยให้จิตใจของมนุษย์สดใส ผ่องแผ้ว เบิกบาน พบความสงบ ร่มเย็น ไม่วุ่นวาย ไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้จิตมี สมาธิ มีกำลังเหมือนกับการเติมพลังของชีวิต

3. เพื่อเป็นการมอบความสุขเช่นนี้ให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การที่ เราคิดถึงคนอื่นบ้างนอกจากจะเป็นการแบ่งปันแล้ว ยังเป็นการ ลดความเห็นแก่ตัวของเรา เป็นการสร้างความสมดุลย์ให้กับจิต วิญญาณของเรา

4. เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ในการสร้างผลงานจิตรกรรม เป็น กรณีศึกษา ให้กับ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลที่สนใจ

5. เพื่อให้ผ้คู นตระหนักถึงภัยของวัตถุที่เข้าครอบงำ จิตวิญาณของเรา จนเป็นทาสสิ่งเหล่านี้ นี่ไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ หรือเหลือ ทุกข์ให้น้อยลงกับทำให้เพิ่มความทุกข์มากขึ้น การมีคุณธรรม เอื้อเฟื้อเห็นอกเห็นใจกันเป็นการลดอัตตา ลดการเห็นแก่ตัว ทำให้ เรากลับคืนสู่ธรรมชาติ และแดนแห่งความสุขที่แท้จริง

paradise-03 paradise-04

แนวความคิด

ข้าพเจ้าต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงความสุขที่แท้จริงที่เกิดกับตัวตนของมนุษย์ นั้นคือ “แดนสุขาวดี” ดินแดนที่มีการ รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ สดใส เบิกบาน มีความชื่นเย็น สงบ สันติ เป็นการรักษาความสมดุลย์ของตัวตนเรา ที่นี่จะมีความ พอดี ไม่มากไป หรือน้อยไป มีอากาศหายใจ ไม่อึดอัด เป็นการนำตัวตนเราย้อนคืนสู่ธรรมชาติที่งดงามปราศจากมลภาวะทั้งทาง ร่างกายและทางจิตใจ

กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน

1. หาแรงบันดาลใจจากสิ่งที่กระทบทั้งกายและใจทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด โดยใช้ประสบการณ์ตรงจากทางกายภาพ ภายนอก และภายในจิตใจที่ถูกกระทบ จนเกิดการสั่นไหวเป็นอารมณ์สะเทือนใจ จึงเกิดเป็นแนวคิดแนวทางในการ สร้างผลงาน

2. เก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งเป็นข้อมูลโดยตรงและข้อมูลที่กรองแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายในสถานที่จริงแต่ละช่วงแต่ละเวลา ตั้งแต่เช้าจนเย็น ข้อมูลที่เป็นเนื้อหาทางอินเตอร์เน็ต จากหนังสือ

3. สรุปผลจากข้อมูลนำภาพข้อมูลและเนื้อหามาประมวลหาความลงตัวในการทำภาพร่างเพื่อเป็นต้นแบบทางภาพและ ความคิดในการสร้างผลงาน

4. ปฏิบัติงานสร้างผลงานจิตรกรรมตามแนวคิดที่ตั้งไว้ทั้งเรื่องรูปแบบ และเนื้อหาในการแสดงออกให้สมบูรณ์

5. ออกแบบกรอบภาพให้เข้ากับผลงานเพื่อจะได้นำผลงานเผยแพร่ แก่นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไป

วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างผลงาน

1. กล้องถ่ายภาพนิ่ง ใช้สองตัว คือกล้องโซนี่ เนค 5N กับ นิคอน D800

2. คอมพิวเตอร์ ไอแพดแอร์ เพื่อใช้ในการเก็บภาพ หา ข้อมูล ตัดต่อ เปิดดูภาพเพื่อเป็นต้ แบบในการเขียน ผลงาน

3. สีเขียนภาพ ใช้สีอะคริลิค สีลงพื้น ผ้าใบเขียนภาพ กรอบเฟรม พู่กันกลม พู่กันแบน ขาหยั่ง แว่นตาขยาย ไว้ทำรายละเอียด ระบบไฟให้ความสว่างในการทำงาน

เทคนิคในการสร้างผลงาน

จิตรกรรมสีอะคริลิก เขียนบนผ้าใบ (ผ้าฝ้าย)

ขนาดของผลงาน

ขนาดของงาน 80 x 100 เซนติเมตร

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

1. จะได้พบความจริงของชีวิตที่ว่า จิตใจกับร่างกายจะ มีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวไม่สามารถแยกออกจาก กันได้ ที่เรียกความเป็นเอกภาพ ทำให้มีกำลังที่จะ สร้างสรรค์ผลงานต่อไป

2. จะได้เห็นกระบวนการทำงานทางศิลปะที่มีระบบ แบบแผน ที่มีสว่ นประกอบไปด้วยมนุษย์ผู้สร้างผลงาน ทักษะความสามารถ สุนทรียภาพ ได้ผลงานจิตรกรรม ที่งดงาม

3. จะได้รับความรู้เรื่องการทำงานอย่างมีเป้าหมาย ที่ มีแนวเรื่องแนวความคิด เป็นโจทย์ที่ตั้งไว้ ที่เรียกว่า เนื้อหา (Content) และมีคำตอบเป็นการการปฏิบัติ งานด้านจิตรกรรมที่เป็นรูปที่ปรากฏ หรือที่เรียกว่า รูปแบบ (Form) ที่สอดคล้องซึ่งกันและกัน

paradise-05

เอกสารอ้างอิง

• ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553 พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ป ยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาตร์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551
• ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้ง ที่ 2 . กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์, 2556
• ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ – ไทย. พิมพ์ ครั้ง 2 .กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2551