แรงกระเพื่อม

Ripple

อาจารย์ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส
NATHRATHANON THONGSUTHIPHEERAPAS

ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

มหาวิทยาลัยศิลปากรโดยคณะมัณฑนศิลป์ ได้ดำเนินการกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุน นักออกแบบสร้างสรรค์ไทย โดยเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้เริ่มประกาศเกียรติคุณ รางวัลนักออกแบบไทยปี 2547 และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้เกิดผลสะท้อนในการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพและเผยแพร่ชื่อเสียงผลงานการออกแบบที่มีคุณภาพ โดยที่ผ่านมาได้ดำ เนินการจัดงาน นิทรรศการแสดงผลงานนักออกแบบที่ได้รางวัลนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี ในงานแสดงสินค้าของขวัญและของแต่งบ้าน Thailand BIG+BIH เป็นประจำทุกปี การออกแบบนิทรรศการเน้นไปที่ความเรียบง่ายเพื่อให้งานของนักออกแบบแห่งปีมีความโดดเด่นสามารถ ดึงดูดผู้ข้าชมงานเข้ามาชมนิท รรศการ แต่ด้วยความเรียบง่ายจึงทำให้การมองจากระยะไกลของตัวนทิรรศการไม่มีความน่าสนใจเพียงพอด้วยสถานที่จัดแสดงที่มีความใหญ่และสูงโปร่ง มีระยะการมองที่ไกลมาก จากการสังเกตการจัดงานในครั้งที่ผ่านมาจึงนำมาเป็นข้อมูล เพื่อการออกแบบนิทรรศการแสดงผลงานนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี 2013 ในครั้งนี้

จากวัตถุประสงค์ของโครงการจึงเป็นที่มาของแนวความคิดในการออกแบบ โดยอุปมาอุปไมยนักออกแบบแห่งปีที่ได้รับรางวัลในแต่ละปีว่าเป็นเสมือนแรงกระเพื่อม (Ripple) ให้กับวงการออกแบบ เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานออกแบบให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป จึงได้ทำการทดลองการสร้างคลื่นจากกระดาษ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่นักออกแบบส่วนใหญ่ใช้ในการคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว นำมาท ดลองสร้างคลื่นในรูปแบบต่าง ๆ จากการ ม้วน พับ จีบ ย่น กระดาษที่เป็นรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเลือกรูปแบบที่ต้องการ โดยใช้หลักการ เปลี่ยนแปลง (Variation) และจังหวะ (Rhythm) ในองค์ประกอบทางศิลปะและการออกแบบนำมาออกแบบให้ประสานกับพื้นที่และ จำ นวนรางวัลและลำดับการได้รับรางวัลนำ มาส่กู ารพัฒนาผังพื้นที่จัดแสดง โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนได้แก่รางวัลยอดเยี่ยม (Honor Award) รางวัลนักออกแบบแห่งปี (Designer of the year Award) และรางวัลนักออกแบบหน้าใหม่ (Emerging Award)

เนื่องจากพื้นที่จัดแสดงเป็นพื้นที่แบบเปิดโล่งสามารถเดินได้รอบด้าน จึงออกแบบให้นิทรรศการสามารถเข้าชมได้จากทุกทาง และตั้งใจกำหนดความสูงให้เตี้ยกว่านิทรรศการโดยรอบ เพื่อให้ผู้ชมที่มองมาไม่รู้สึกปิดกั้นสามารถมองแล้วเห็นความเป็นคลื่น และสภาพแวดล้อมต่างๆได้อย่างชัดเจน ซึ่งกำหนดสัดส่วน (Proportion) ไว้ 3 ระดับได้แก่ 3.00 เมตร, 2.50 เมตร และ 2.20 เมตร ลำดับตาม รางวัล ได้แก่รางวัลยอดเยี่ยม นักออกแบบแห่งปีและนักออกแบบหน้าใหม่ อันเป็นสัดส่วนที่เกิดจากความรู้สึกเพื่อให้สามารถแสดงออกถึงเนื้อหา คำนึงถึงการสื่อสารทางสายตา (Visual Communication) โดยการใช้สี และวัสดุนั้นด้วยความที่เป็นงานแสดงผลงานออกแบบ จึงได้ใช้ไม้อัดเคลือบ ขาวเป็นสีและวัสดุหลักเพื่อให้สีสันของงานออกแบบที่แสดงอยู่โดดเด่น ออกมา และได้ใช้สีดำในส่วนขอบด้านข้างเพื่อเน้นความเป็นคลื่น เพื่อให้ เกิดการตัดกันของรูปร่าง (Positive and Negative Shapes) ให้เห็นเป็น แรงกระเพื่อมของแผ่นกระดานที่โดนแรงปะทะทำให้เกิดความพริ้วไหว เมื่อเข้ามาชมนิทรรศการได้ติดตั้งจอ LED 32” ไว้ให้ผู้ชมได้ฟังแนวความคิด ของนักออกแบบที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม และรางวัลนักออกแบบแห่งปี ประกอบกับกราฟิก เพื่ออธิบายรายละเอียดของผู้ที่ได้รับรางวัลและตัว ชิ้นผลงานที่นำมาแสดงประกอบกัน เพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหาของ งานออกแบบที่นำมาแสดงด้วย ซึ่งผู้ชมจะได้รับแนวความคิด ความรู้ แรงบันดาลใจเพื่อนำไปต่อยอดให้กับงานออกแบบของตนได้

ripple-02

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

เพื่อการออกแบบนิทรรศการแสดงผลงานของนักออกแบบแห่งปี 2013

แนวความคิด

นักออกแบบแห่งปีเปรียบเสมือน “แรงกระเพื่อม” ให้กับวงการ นักออกแบบไทยได้มีพลังในการผลิตผลงานออกแบบสร้างสรรค์ที่ยอด เยี่ยมสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน

ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของ รางวัล, จำนวนและประเภทของรางวัล, พื้นที่จัดแสดง, งบประมาณการ ก่อสร้าง, ระยะเวลาการก่อสร้างและการจัดแสดง

กำหนดแนวความคิดในการออกแบบ

1. วิเคราะห์พื้นที่พร้อมร่างผังพื้นที่ในการจัดแสดง

2. ร่างและพัฒนาแบบ

3. เขียนแบบก่อสร้าง

4. ควบคุมงานก่อสร้าง

วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

กระดาษขาว, กระดาษร่าง, ปากกาเมจิสี, ดินสอ, คัตเตอร์

เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

ม้วน พับ จีบ ย่น

ขนาดของผลงานสร้างสรรค์

กว้าง 7.00 ม. X ยาว 10.00 ม. X สูง 3.00 ม.

ripple-03

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

งานออกแบบนิทรรศการหรือบูธแสดงงานต่าง ๆ มักแข่งขันกัน ออกแบบบูธให้โดดเด่นเพื่อสร้างจุดขายให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ จนบ้างครั้งตัวบูธก็มักดึงดูดความสนใจ มากกว่าที่จะส่งเสริมการขาย สินค้าและผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการออกแบบบูธนิทรรศการแสดงผลงาน รางวัลนักออกแบบแห่งปี 2013 ซึ่งเป็นงานแสดงผลงานการออกแบบที่มี หลายสาขา จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ทั้งตัวบูธและตัวผลงานมีความโดด เด่นและไม่แข่งกับตัวผลงานเพราะต่างก็เป็นงานออกแบบด้วยกันทั้งสิ้น

จากการทดลองและสังเกตจากประสบการณ์ตรงในงานออกแบบ ภายใน และงานออกแบบนิทรรศการต่างๆ จนกระทั่งในงานออกแบบ บูธนิทรรศการครั้งนี้ได้ทำให้ข้าพเจ้าค้นพบหลักการในการออกแบบ นิทรรศการอย่างหนึ่ง คือ “งานออกแบบนิทรรศการจะต้องประสานเป็น หนึ่งเดียวกับงานที่จัดแสดง ส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างแยกออกจากกัน ไม่ได้” โดยหลักการนี้ได้ผ่านการทดลอง พิสูจน์ และลงมือปฏิบัติ และ เห็นผลผ่านการออกแบบนิทรรศการในครั้งนี้แล้ว

เอกสารอ้างอิง

• ประเสริฐ พิชยะสุนทร. ศิลปะและการออกแบบเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
• Ching, Francis D.K., Juroszek, Steven P. Design Drawing. New jersey : John Wilry & Sons, Inc., 2010.
• Designer of the year. Awards. [Online]. Accessed 18 March 2014. Available from http://www.thaidesignerawards.com/awards.htm
• Designer of the year 2013 : On life and design. การ แสดงผลงานนักออกแบบแห่งปี 2013 ณ ศูนย์แสดงสินค้า ไบเทค บางนา, 19 ตุลาคม -23 ตุลาคม 2556. ม.ป.ท., 2556.