โครงการออกแบบพิพิธภัณฑ์ และอาคารปฏิบัติธรรม วัดมกุฏคีรีวัน จ.นครราชสีมา

Museum and Dhamma Retreat Building Design Project
for Watmakutkiriwan Nakornratchasrima

ปิติ คุปตะวาทิน
Piti Khuptawathin

ที่มา และความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

จากการได้พบกับพระญาณดิลก เจ้าอาวาสวัดมกุฏคีรีวัน ได้ความว่า จำนวนสิ่งของที่ได้รับบริจาคในวัดมกุฏคีรีวัน เริ่มมีจำนวน มากขึ้น สิ่งของบางอย่างเป็นของที่มีคุณค่า ทางโบราณคดี เช่น เทวรูป พระพุทธรูปโบราณเหมาะกับการเก็บรักษาเพื่อใช้เป็นที่ศึกษา หาความรู้และเผยแผ่แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไป และยังมีผลิตภัณฑ์ ข้าวของเครื่องใช้ต่างเช่น เครื่องเคลือบดินเผาและอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิต ประจำวันต่างๆที่เจ้าของไม่ต้องการแล้ว ซึ่งวัตถุจัดแสดงค่อนข้างมีความหลากหลายมาก ในขณะเดียวกัน เริ่มมีจำนวนผู้สนใจมาใช้ สถานที่ภายในวัด จัดกิจกรรมและสัมนาเป็นหมู่คณะ เช่น การเข้าค่ายจริยธรรม การบรรพชาหมู่ การสัมนา และธรรมปฏิบัติที่จัดขึ้น ตลอดทั้งปี ทั้งจากภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม แต่ปัญหาสิ่งหนึ่งที่พบขณะนี้ คือสถานที่ที่ใช้ในการเก็บรักษาและจัดกิจกรรมข้างต้นนั้นยังไม่เพียงพอ ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่ที่มีประโยชน์ใช้สอยตอบสนองความต้องการ ข้างต้น จึงมีความจำเป็นและเหมาะสม

museum-and-dhamma-retreat-building-02

museum-and-dhamma-retreat-building-03

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

1. เพื่อสร้างพื้นที่ใช้งานให้เพียงพอ 2. เพื่อสร้างพื้นที่ใช้งานที่สามารถปรับใช้ในการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ได้ หลากหลาย เอนกประสงค์ เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิ ที่เก็บวัตถุ โบราณและเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาหรืออื่น ๆ แนวความคิด ที่มาของการออกแบบอาคารนั้น เพื่อสร้างบรรยากาศให้สอดคล้องกับ การใช้เวลาในการพิจารณา วัตถุจัดแสดงภายนอกและสภาพใจภายในอย่างค่อย เป็นค่อยไป (linger) อันเป็นมูลเหตุของการศึกษาเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ จน สามารถเข้าถึงธรรมและเกิดโพธิปัญญา (awakening wisdom) หรือธรรมะที่ ทำให้เกิดการตื่นรู้ จากการใช้การพิจารณาจนเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไรเป็นแก่น สำคัญ ทั้งนี้ การกำหนดการเข้าถึงที่ว่างในแต่ละส่วน ตั้งแต่ส่วนล่างสุด ไปยัง วัตถุจัดแสดงในส่วนของพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นของมีค่า ที่ซึ่งสุดท้ายแล้วเจ้าของมิ อาจนำติดตัวไปได้เลย และเพื่อให้สัมผัสรู้ต่อสภาพจิตภายในของผู้ดูไปทีละ ชั้น จนถึงชั้นบนสุดที่เหลือแต่ตัวผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่ถูกพิจารณาตัวของตัวเอง

การออกแบบตัวอาคารวางแกนยาวขนานไปกลับแนวแกนของดวงอาทิตย์ เพื่อลดการดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยตรง ลักษณะการออกแบบ เน้นการก่อสร้างที่รวดเร็วจึงนำโครงสร้างเหล็กมาใช้เป็นโครงสร้างหลักของ อาคาร และแผ่นไม้ภายในวัดที่มีอยู่จำนวนมากถูกนำมาใช้ในการทำแผ่นบังตา ภายนอก ซึ่งต้องออกแบบลักษณะ ของการยึดจับแผ่นไม้ให้สามารถปรับระยะ ช่องไฟระหว่างแผ่นและ สามารถถอดเปลี่ยนได้ในอนาคต หากสามารถใช้วัสดุ ทดแทนชนิดอื่น หากแผ่นไม้เหลือใช้ภายในวัดหมดไป ทั้งนี้เพื่อสะท้อนแนวคิด ของวัฏจักร การใช้งานของวัตถุภายนอกที่ครั้งหนึ่งอาจไม่มีประโยชน์กับสิ่งหนึ่ง แต่อาจมีประโยชน์กับอีกสิ่งหนึ่ง

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน
  • 1. ศึกษาสถานที่ หาความเหมาะสม ข้อ จำกดั ของที่ตั้ง รปู แบบ และความเป็นไปได้กับการออกแบบและสร้าง
  • 2. ศึกษารูปแบบโครงสร้างเหล็กและงานคอนกรีตที่เหมาะสม โดยการค้นคว้า ข้อมูลด้านเอกสาร และสืบค้นออนไลน์
  • 3. ศึกษาวัสดุ งานระบบพื้นฐานและเทคนิคการก่อสร้างทาง วิศวกรรมจากตำราและการบอกเล่าจากผู้รู้
  • 4. กำหนดแนวทางการออกแบบ กำหนดพื้นที่ใช้สอย ร่างแบบ พัฒนาแบบ เลือกแบบ
  • 5. จัดทำหุ่นจำลองสามมิติ
  • 6. จัดทำเขียนแบบเพื่อก่อสร้าง เสนองบประมาณและแผนการ ดำเนินงาน
เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

Solidworks, Multi-Jet Modeling (3DPrinting)

museum-and-dhamma-retreat-building-03

museum-and-dhamma-retreat-building-04

วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

วัสดุในการทำหุ่นจำลอง : Wax, VisiJet® (translucent), เครื่องพิมพ์ สามมิติ ProJet® 5000

ขนาดของผลงานสร้างสรรค์

ขนาดหุ่นจำลอง : 120 x 450 x 90 ม.ม. (มาตราส่วน 1 : 96) ขนาดจริง : พื้นที่ใช้สอยประมาณ 3,600 ตร.ม.

ผลที่ได้รับจากการสร้างสรรค์

จากการศึกษาหรือค้นหารูปแบบที่เหมาะสมกับการก่อสร้างนั้น โครงสร้างเหล็กถูกเลือกมาใช้เป็นโครงสร้างหลักของตัวอาคารเพราะความ สะดวกรวดเร็วในการก่อสร้าง ตัวอาคารแบ่งพื้นที่ไปตามการใช้งาน ชั้น ล่างใช้สำหรับเป็นพื้นที่เอนกประสงค์ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ เป็นพื้นที่โล่ง ลักษณะเป็นพื้นที่เปิดทุกด้านมีทางเดิมต่อเนื่องถึงกันโดยรอบ ทางเข้า หลักอาคารเป็นแบบเข้า – ออก ทางเดียว และวางตำแหน่งทางลาดเอียง สำหรับผู้สูงอายุและรถเข็นคนพิการ ด้านบนเจาะช่องเปิด ถึงชั้นสามเพื่อ เปิดรับเป็นปล่องแสงจากด้านบนให้แสงธรรมชาติ เพิ่มความสว่างให้แก่ ตัวอาคารลักษณะการเดินต่อเนื่องไปถึงชั้นที่สอง ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ เก็บ โบราณวัตถุจัดแสดงต่าง ๆ ในห้องซึ่งถูกกั้นระหว่างผนังเบาและแผงบังตา ภายนอก (Facade) ทำให้เกิดช่องว่างภายในเป็นสองชั้นและถกู กำหนด เป็นอุโมงค์ทางเดินโดยรอบพื้นที่จัดแสดง ในขณะที่ชั้นสามเป็นพื้นที่โล่ง กว้างไว้ใช้สำหรับเดินจงกรมและกรรมฐานสมาธิ เปลือกของตัวอาคาร โดยรอบเป็นผู้กำหนดบุคลิกของอาคารโดยรวม ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่ง จากมุมมองภายในยินยอมให้แสงภายนอกแทรกสะท้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้ แผ่นไม้ใช้แล้วที่ถูกนำมาเป็นแผ่นผิว (skin) ให้ความรู้สึกแตกต่างแก่ผู้ใช้ ขณะเข้าถึงตัวอาคาร

museum-and-dhamma-retreat-building-05

ทางเข้า – ออกหลัก (horizontal entrance) ต่อเนื่องกับทางขึ้น-ลงหลัก (vertical circulation) และถูกกำหนดให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน พร้อมกับ วางตำแหน่งที่เจาะช่องโล่ง ให้อยู่ในแกนเดียวกัน กับแกนแนวตั้งเพื่อต้องการให้ขณะเดินขึ้น – ลง สามารถมองเห็นวัตถุบริเวณโถงที่ “อาจ” มีขนาด ใหญ่ ซึ่งอาจต้องการพื้นที่มากขึ้น และเป็นเหมือน โถงโล่ง หน้าบันไดที่เน้นการหมุนเวียนของการเดิน ขึ้น – ลง นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นพื้นที่ชั้นอื่นๆ ได้ขณะเดิน การเจาะหลังคาบริเวณดังกล่าว เพื่อนำ แสงธรรมชาติเข้ามา และเน้นที่ว่างภายในพื้นที่ของ อาคารเพื่อ สร้างความรู้สึกพิเศษให้แก่โถงด้วยเช่นกัน

museum-and-dhamma-retreat-building-06

museum-and-dhamma-retreat-building-07

เอกสารอ้างอิง
  • • จันทร์เด่นดวง, ฉัตรชัย. เทคโนโลยีการสร้างต้นแบบรวดเร็ว ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุ แห่งชาติ
  • • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดเอ็ดดูเคชั่น, 2546.
  • • Moussavi, Farshid. and Kubo, Michael. The Function of Ornament : Studio at Harvard University Graduate School of Design, Actar, 2006.
  • • Kottas, Dimitris. and Boto, Carles. The Architect’s Handbook, Spain: Linksbooks, 2006.
  • • 3Dprinter. What is 3D printing?(online). Access on 29 July 2014. Available from http://www.3dprinter.net/reference/what-is-3d-printing
  • • Anvilprototype. 3D printers : Multijet Modeling (online). Access on