ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี
การลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฯ วาระ 3 ในช่วงเวลาประมาณเกือบตี 4 ครึ่ง ช่วงใกล้จะรุ่ง เช้าของวันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2556 นำไปสู่จุดจบรัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เหตุการณ์นี้เสมือนน้ำมันที่สาดเข้าไปในกองไฟที่กำลังคุกรุ่นอยู่จากความไม่พอใจของประชาชน เรื่องความล้มเหลวและการทุจริตในโครงการประชานิยมของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกครอบงำจากอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งหลบหนีคดีความอยู่ในต่างประเทศ จนเกิดการรวมตัวกันขึ้นมาต่อต้านการกระทำของรัฐบาลโดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำกลุ่มมวลชนที่ใช้ชื่อว่า “มวลมหาประชาชน” ประกอบด้วยประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ทั้งผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) กองทัพธรรม (สันติอโศก) หลวงปู่พุทธอิสระ สหภาพแรงงาน รัฐวิสาหกิจ กลุ่มแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข นักธุรกิจ ข้าราชการ นักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยมีการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กล่าวกันว่ามีผู้เข้าร่วมชุมนุมครั้งนี้มากกว่า 5 แสนคน
สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 5/2556 ว่าด้วย พรบ.ฉบับสุดซอย ตั้งข้อสังเกตถึงความไม่ถูกต้องหลายประการ เช่นข้อความในมาตรา 3 วรรคแรก ที่ระบุให้การกระทำทั้งหมดของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว สืบเนื่องต่อมา ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2547 – วันที่ 8 สิงหาคม 2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำหรือผู้ถูกใช้หากการกระทำ นั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผ้กู ระทำ พ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง ดูผิวเผินเหมือนไม่มีอะไร แต่หากสังเกตดี ๆจะพบว่า พรบ. นี้มีการแอบ “สอดไส้” ล้างผิดการกระทำที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองเข้าไปด้วย เพราะมีการย้อนไปถึงราวปี 2547 ซึ่งในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีการแบ่งข้าง ยังไม่มีมวลชนเสื้อเหลือง – เสื้อแดง (เสื้อเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เกิดขึ้นครั้งแรกราวปลายปี 2548ขณะที่เสื้อแดงหรือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เกิดหลังรัฐประหาร 2549) เกิดขึ้นอย่างในปัจจุบัน คำถามคือ..เหตุใดจึงต้องย้อนไปไกลขนาดนั้น? ซึ่งก็มีผู้วิเคราะห์ไว้ว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พัวพันกับความผิดหลายคดี ทั้งคดีที่ดินรัชดา คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM Bank) คดีทุจริตธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้สินเชื่อกว่า 9,000 ล้านบาท และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง“คดีตากใบ” ที่มีการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงณ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส จนมีผู้เสียชีวิตไปแปดสิบกว่าศพ กลายเป็นรอยร้าวอันเป็นชนวนเหตุรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาจนถึงปัจจุบัน1จากการต่อต้าน พรบ.นิรโทษกรรม ได้นำไปสู่การยกระดับการชุมนุมเพื่อต่อต้านและขับไล่รัฐบาลจนในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 เวลา 08:45 น. นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงการณ์ว่า ตนดำเนินการทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงมาในช่วงค่ำวันเดียวกัน โดยคณะรัฐมนตรีจะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติไว้ในมาตรา 181 ประกอบมาตรา 180 (2)2 อย่างไรก็ตามการชุมนุมยังดำเนินต่อมากว่า 7 เดือน เพื่อขับไล่รัฐบาลรักษาการ และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา16:30 น. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการการชุมนุมของกลุ่มต่าง ๆ จึงได้ยุติลง และเป็นการยุติความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ชุมนุมอีกด้วย ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้ให้ข้อมูลว่าในระหว่างการชุมนุม มีผ้บู าดเจ็บ 782 คน และผ้เู สียชีวิต 25 คน 3 (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2557 เวลา 11.00 น.)ตลอดการชุมนุมกว่า 7 เดือนนี้ ผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นประชาชนคนหนึ่ง ที่ได้เข้าร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายครั้ง รวมทั้งสนับสนุนการชุมนุมในลักษณะต่าง ๆ อาทิ การบริจาคเงินส่วนตัว การออกแบบเสื้อยืดจำหน่ายเพื่อหารายได้สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ การร่วมกับคณาจารย์ นักออกแบบ เขียนป้ายข้อความแสดงจุดยืนทางการเมืองในพื้นที่ชุมนุม รวมทั้งการการเขียนสถานะ (status) การโพสวิดีโอ และภาพประมาณ 200 กว่าภาพ เพื่อเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือล้มล้างระบอบทักษิณและการปฏิรูปประเทศ โดยมุ่งหวังจะใช้ความรู้ความสามารถทางการออกแบบ เพื่อสนับสนุนการเคลือ่ นไหวทางการเมืองในทิศทางที่ตนเองเชื่อว่า จะนำพาประเทศสู่ความถูกต้อง เป็นธรรม และธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง
เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม กปปส. และ มวลมหาประชาชน โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
ทำในสิ่งที่เชื่อ เชื่อในสิ่งที่ทำ
ในการออกแบบสื่อเพื่อเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์เป็นการทำงานออกแบบที่ใช้เวลาค่อนข้างจำกัดเนื่องจากต้องเผยแพร่ในเวลาที่รวดเร็วและทันสถานการณ์ โดยเฉพาะช่วงที่มีสถานการณ์การเมืองที่เข้มข้นเช่น การนัดหมายการชุมนุมใหญ่ การมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตการขอรับบริจาคเงิน สิ่งของ เลอื ด การสรา้ งสรรคผ์ ลงานจะตอ้ งคดิ และทำ อยา่ งรวดเรว็ ปกติจะใช้เวลาทำภาพหนึ่งภาพไม่เกิน 30 นาที โดยภาพรวมการทำงานบางชิ้นอาจต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการลงมือทำ เช่นข้อมูลทางตัวเลขหรือภาพประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะหาข้อมูลจากอินเตอร์เนตโดยใช้เว็บไซต์เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) www.google.com หรือเว็บไซต์สำนักข่าว ต่าง ๆ ภาพประกอบบางภาพอาจถ่ายภาพเองด้วยกล้องในโทรศัพท์มือถือ หลังจากได้ข้อมูลตามที่ต้องการแล้วจะลงมือทำในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เลย โดยจะไม่ทำแบบร่างก่อนเนื่องจากมีเวลาจำกัดเมื่อเสร็จแล้วจึงเผยแพร่บนเว็บไซต์ www.facebook.com
เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Adobe Photoshop
ภาพดิจิตอลขนาด 400 x 800 pixel ความละเอียด 72 ppi จำนวน 50 ภาพ
ในการสร้างสรรค์งานชุดนี้ ผู้สร้างสรรค์ผลงานเลือกใช้องค์ประกอบของการออกแบบโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการสื่อสารเป็นหลัก เช่นการเลือกใช้สีของพื้นหลังส่วนใหญ่เป็นสีแดง ดำ เนื่องจากเป็นสีที่มีน้ำหนักชัดเจน ช่วยขับให้ตัวอักษรหรือรูปภาพมีความเด่นชัด รวมทั้งยังสะท้อนความรู้สึกของเนื้อหา เช่น พื้นหลังสีดำจะใช้กับเนื้อหาปลุกเร้า พื้นหลังสีแดงใช้กับเนื้อหาที่มีลักษณะรุนแรง บริภาษ ประณาม ทั้งนี้อาจมีการใช้สีอื่น ๆ เป็นพื้นหลังบ้าง ตามความเหมาะสมของเนื้อหา ส่วนการใช้ภาพและตัวอักษรในการสื่อสารมีหลายลักษณะ เช่นใช้ตัวอักษรอย่างเดียว ใช้ภาพอย่างเดียว หรือใช้ตัวอักษรผสมกับภาพ โดยพยายามกำหนดสัดส่วนการใช้งานไม่ให้เท่ากัน เพื่อวางบทบาทให้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นตัวหลักในการสื่อสาร
จากการประเมินผลงานสร้างสรรค์ในลักษณะนี้ โดยสังเกตจากยอดจำนวนผู้ถูกใจ (Like)หรือแบ่งปัน (Share) มักจะเป็นงานที่มีเนื้อหาทันกับสถานการณ์ในขณะนั้น แสดงอารมณ์และความรู้สึกที่สอดคล้องกับอารมณ์ และความรู้สึกของมวลชนที่เกิดขึ้นต่อสถาณการณ์ต่าง ๆเช่น เหตุการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมหรือประชาชนถูกลอบทำร้ายจนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรือการประณามนายกรัฐมนตรี ฝ่ายตรงข้ามผู้ชุมนุม และผู้ที่ลอบทำร้ายผู้ชุมนุม ซึ่งจะมีข้อความที่ค่อนข้างรุนแรงและหยาบคาย ใช้ภาพประกอบที่ดูรุนแรงหรือน่ากลัว
อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่ได้รับชมผลงานบางคนได้แสดงความคิดเห็นว่ามีลักษณะการใช้วาทะกรรมสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) ซึ่งผู้สร้างสรรค์ขอน้อมรับทุกความคิดเห็นแต่ผู้สร้างสรรค์จงใจที่จะแสดงความเกลียดชังการกระทำที่ไม่ถูกต้องผ่านผลงาน เพื่อกระตุ้นให้ผู้รับสารออกมาร่วมกันต่อต้านการกระทำเหล่านั้น แทนที่จะเมินเฉยหรือชินชากับความไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นในสังคม ส่วนผลงานที่มีเนื้อหาและรูปแบบในลักษณะที่สุภาพ เช่น การเชิญชวนการแสดงความเสียใจ การแสดงความขอบคุณ การให้กำลังใจ หรือมีเนื้อหาส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน