อนุกูล บูรณประพฤกษ์
Anugoon Buranaprapuk
ปัจจุบันวิวัฒนาการของการถ่ายภาพได้ก้าวล้ำสู่ยุคดิจิตอล ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความสะดวก และรวดเร็ว ได้ ทำให้การถ่ายภาพเป็นที่เข้าถึงได้ง่ายกับบุคคลทั่วไป ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกปัจจุบันจะพกพากล้องติดตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกล้อง ในโทรศัพท์มือถือ หรือกล้องพกพาขนาดเล็ก
แต่ก่อนที่การถ่ายภาพจะมาถึงจุดนี้ ได้มีวิวัฒนาการมากว่าร้อยปี คำ ว่า Photography ซึ่งมีรากมาจากภาษากรีกโดยเป็นการ รวมคำของ “Photo” ซึ่งแปลว่า “แสง” และ “Graphe” ซึ่งแปลว่า “เขียนหรือวาด” คำว่า “Photography” จึงมีความหมายว่าการ เขียนด้วยแสง เพราะ “แสง” เป็นปัจจัยหลักในการสร้างภาพไม่ว่าจะเป็นกระบวนการถ่าย (record) หรือกระบวนการอัดภาพ (print) ก่อนที่การถ่ายภาพจะเข้าสู่ระบบดิจิตอล การถ่ายภาพและอัดภาพจะต้องอาศัยกระบวนการในห้องมืด (darkroom) ซึ่งเป็นกระบวน การมี่ต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญระดับหนึ่ง ในปัจจุบันก็เป็นที่รู้จักกันน้อยลง ช่างภาพที่ยังใช้กระบวนการนี้อยู่จะใช้ในลักษณะ ของการถ่ายภาพเพื่องานศิลปะ และเป็นงานขาว – ดำ (Silver Gelatin)ปัจจุบันกระบวนการนี้มีปฏิบัติกันน้อยลงมาก ช่างภาพส่วนใหญ่ ก็ผันตัวเองเพื่อให้ทันกับโลกดิจิตอล ด้วยอีกหนึ่งเหตุผลคือ ฟิล์มและกระดาษอัดรูป เป็นที่หาซื้อได้ยาก และมีราคาที่สูงขึ้น
ย้อนหลังกลับไปในประวัติศาสตร์ของการถ่ายรูปในยุคแรก Alternative Process ได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งในช่วง ประมาณปี ๑๙๗๐ ที่เห็นเด่นชัดคือ Irving Penn ช่างภาพที่มีชื่อเสียงใน ศตวรรษที่ ๒๐ ได้นำ Platinum Printing Process กลับมาใช้ และทำให้ เกิดการตื่นตัวของ Platinum Process อีกครั้ง ด้วยความงามที่เฉพาะตัว ของ Platinum Print ทำให้เป็นที่หลงใหลของช่างภาพหลาย ๆ คน ถึง จะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง แต่ก็ยังมีการปฏิบัติกันน้อย เพราะเป็น กระบวนการที่ยาก ซับซ้อน ใช้เวลานาน นอกจากนั้นสารเคมีที่ใช้ยังมี ราคาสูง และต้องใช้ด้วยความเข้าใจอย่างระมัดระวังเพราะเป็นสาร อันตราย งานภาพถ่ายชนิดนี้จึงถือว่าหายากและมีราคาสูง เมื่อเปรียบ เทียบกับงานบนกระดาษสำเร็จรูปแล้ว (Silver Gelatin) ความแตกต่าง ของงาน Alternative Print กับ Silver Gelatin คือ Alternative Print สารเคมีที่บันทึกภาพจะจมลงไปในเนื้อกระดาษ (fiber) สารไวแสงที่ใช้ จะมีหลากหลายเช่น Platinum, Palladium, Silver, Potassium Dichromate เป็นต้น แต่ Silver Gelatin ภาพจะอย่บู นพื้นผิวของกระดาษ (Surface) โดยมี gelatin เป็นตัวยืดติด และใช้ Silver เป็นสารไวแสง
ในปัจจุบันนี้มีช่างภาพที่ทำ Alternative Process ไม่มากนัก เนื่องจากสารเคมีที่มีราคาสูงและหายาก นอกจากนั้นแล้วยังต้องอาศัย ความอดทน เพราะเป็นกระบวนการที่ละเอียด รวมถึงต้องระมัดระวังใน การใช้สารเคมี หลังจากที่ข้าพเจ้าได้เริ่มทำ Alternative Process เมื่อ สิบกว่าปีที่แล้ว ข้าพเจ้าไม่เคยคิดที่จะกลับไปใช้กระดาษสำเร็จรูปอีกเลย ด้วยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าคิดว่างานชนิดนี้เป็นงานที่มีเสน่ห์ ทั้งตัวผลงาน และกระบวนการ เพราะเป็นงานที่ต้องผ่านมือเราทุกขั้นตอน เป็นการ ทำงานที่มีคุณค่าทางจิตใจ
1. เพื่อนำเสนอผลงานการถ่ายภาพโดยใช้ Alternative Process
2. เพื่อนำเสนอผลงานการถ่ายภาพในมิติที่แตกต่างออกไป
3. เพื่อเป็นการแนะนำกระบวนการถ่ายภาพในประวัติศาสตร์
เนื่องจากข้าพเจ้าชอบดอกไม้เวลาซื้อเป็นกำใหญ่มาเพื่อจะนำมา จัด ดอกที่ชอบก็คือดอกกุหลาบ เหตุผลคือ ดอกกุหลาบเป็นดอกพื้น ๆ ที่ เห็นและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีราคาที่ไม่มากนัก แต่ในความเรียบง่าย ของดอกกุหลาบก็มีความน่าสนใจ และมีกลิ่นที่เย้ายวน มีความลึกลับ ซับซ้อนในตัว นอกจากนั้นยังมีความหลากหลาย ทั้งสี และขนาด เวลา แกะกำกุหลาบออกมาก็จะเลือกดอกที่ดูดีไม่มีตำหนิ และเด็ดส่วนที่ซ้ำ ออก แล้วนำมาจัดใส่แจกัน เมื่อดอกไม้ผ่านมือเราทุกดอกการใช้เวลา พิจารณาจึงทำ ให้ร้สู กึ ว่าทำ ไมเราไมย่ อมรับความแตกตา่ งของมันถงึ แม้วา่ บางดอกมีตำหนิแต่มันก็ยังเป็นดอกกุหลาบเหมือนกับดอกอื่น ๆ ซึ่งเมื่อ เปรียบเทียบกับชีวิตคนเราแล้ว แต่ละคนก็หลากหลายกันไป ข้าพเจ้าจึง เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานครั้งนี้ โดยใช้ดอกกุหลาบในการเปรียบ เทียบชีวิตที่หลากหลาย
การบันทึกภาพของดอกกุหลาบจะมีการจัดภาพเหมือนเป็นการ ถ่าย Portrait ในแต่ละภาพจะมีดอกกุหลาบเพียงดอกเดียว เพื่อต้องการ สะท้อนให้เห็นลักษณะของแต่ละดอกที่มีความแตกต่างกัน ในภาพสุดท้าย เป็นดอกที่กำลังจะโรยรา ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งความเหมือนของดอกกุหลาบ ทุกดอกที่จะเป็นแบบนั้น
ในส่วนของแนวความคิดในการเลือกกระบวนการ ข้าพเจ้าเลือก กระบวนการ Cyanotype เพราะความเรียบง่ายของกระบวนการนี้ มีสาร เคมีที่ใช้หลัก ๆ แค่ ๒ ชนิด และเป็นสารที่หาได้ง่าย และมีราคาที่เหมาะสม
กระบวนการทำงานจะแบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน คือ
1. บันทึกภาพ (Recording) เป็นการบันทึกภาพด้วยกล้องขนาด ใหญ่ ในที่นี้เป็นขนาด 4 x 5 ขนาดของกล้องนั้นจำแนกด้วย ขนาดของฟิล์ม กล้องขนาด 4 x 5 นั้นก็คือ ใช้ฟิล์ม 4 นิ้ว x 5 นิ้ว ฟิล์มที่ใช้คือ Kodak Tmax 100 เนื่องจากการทำงาน Alternative Process เป็นการอัดภาพแบบสัมผัส (Contact Print) คือ ใช้ฟิล์มแนบลงบนพื้นผิว ฉะนั้นภาพที่ได้จะมี ขนาดเท่ากับฟิล์ม ในแนวความคิดของข้าพเจ้า ต้องการที่ จะทำงานแบบใช้เทคโนโลยีให้น้อยที่สุด จึงใช้แสงธรรมชาติ ในการบันทึกภาพ และใช้กล้องที่มีอายุ 100 ปี ซึ่งมีฟังค์ชั่น การใช้งานที่เรียบง่าย
2. ล้างฟิล์ม (Film Processing) ฟิล์มขนาด 4 x 5 นั้นเป็นฟิล์ม ชนิดแผ่น จึงต้องใช้การล้างด้วยถาด (Tray Processing) ใน ความมืดสนิท น้ำยาสร้างภาพ (Developer) ที่ใช้คือ Kodak D-76 ใช้น้ำเป็นตัวหยุดปฏิกิริยา (Stop Bath) และใช้ Ammonium Thiosulphate เป็นน้ำยาคงสภาพ (Fixer)
3. สร้างภาพ (Printing) หรืออัดภาพ กระบวนการที่เลือกใช้ใน การอัดภาพคือ Cyanotype (รายละเอียดจะอยู่ในส่วนของ เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน)
4. จัดเรียงภาพและใส่กรอบ (Finishing)
1. วัสดุและอุปกรณ์ในการบันทึกภาพ
2. กล้อง Linhof 4×5 (Field Camera)
3. Film: Kodak Tmax 100
4. เครื่องวัดแสง (Light Meter)
5. 4x Magnifier
6. ขาตั้งกล้อง (tripod)
7. Props: กระดาษขาว, ดำ, ดอกไม้
8. วัสดุอุปกรณ์ในการล้างฟิล์ม
9. ถาดใส่น้ำยาขนาดประมาณ 6×8 นิ้ว
10. น้ำยาสร้างภาพ D-76
11. น้ำยาคงสภาพ Ammonium Thiosulphate
12. น้ำยาเคลือบฟิล์ม Photo Flo
1. ผ้าคอตตอนสีขาว
2. Ammonium Citrate
3. Potassium Ferricyanide
4. แก้วใบเล็ก
5. หลอดหยดน้ำยา
6. แปรงขนแพะ (Hake Brush)
7. น้ำกลั่น (Distilled Water)
8. Hydrogen Peroxide
1. กรอบไม้
2. กระจกตัดแสงสะท้อน
3. Museum Board
กระบวนการ Alternative Process ที่เลือกใช้คือ Cyanotype หรือ Blue Print กระบวนการนี้ถูกค้นพบในปีค.ศ. 1842 โดย นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Sir John Herschel ซึ่งท่านได้ค้นพบว่า Ferric Ammonium Citrate มีความไวต่อแสงอาทิตย์ หรือ รังสีอัลตร้า ไวโอเล็ต ซึ่งเมื่อสารโดนแสงอาทิตย์จะเปลี่ยนคุณสมบัติ Salt ของ Iron จาก Ferric เป็น Ferrous (Ferric คือ สารเคมีที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก (iron) มีค่า Oxidation +3 (Fe3+) ส่วน Ferrous มีค่า Oxidation +2 (Fe2+)) เมื่อผสม Ferric Ammonium Citrate กับ Potassium Ferricyanide และทำปฏิกิริยากับแสงอัลตร้าไวโอเล็ต ก็จะเปลี่ยนเป็น Ferrous Ammonium Citrate กับ Potassium Ferricyanide และ เปลี่ยนเป็น Ferric Ferricyanide ซึ่งก็คือ Prussian Blue ภาพที่ได้ จากกระบวนการนี้จะมีความคงทนสูง แต่คุณภาพก็สามารถลดลงได้ถ้า ถูกสารเคมีที่เป็นด่างเช่น Sodium Carbonate หรืออาจจะมีสีที่จางลง เมื่อถูกแสงแดดเป็นเวลานาน ๆ แต่ก็สามารถแก้ไขได้โดยการนำมาเก็บ ไว้ในที่มืดสัก ๒ วัน
คนที่นำ Cyanotype มาใช้กับงานถ่ายภาพ คนแรกคือ Anna Atkin ในปีค.ศ.1843 โดยใช้วิธี โฟโตแกรม (Photogram) จากสาหร่าย ใบเฟิร์น และขนนก
เช่นเดียวกับ Alternative Process อื่น ๆ การทำ Cyanotype print คือการอัดภาพด้วยแสง UV หรือ อัลตร้าไวโอเล็ต และเป็นการอัดแบบสัมผัส (Contact Print) คือภาพที่ได้จะมีขนาดเท่ากับขนาด ของฟิล์ม ข้าพเจ้าใช้ฟิล์มขนาด 4 x 5 นิ้ว จึงได้ภาพ ที่มีขนาดเล็ก จึงใช้การต่อกันของฟิล์มในการนำเสนอ เพื่อให้ได้ภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
สูตรของสารเคมีที่ใช้คือ 25% Ferric Ammonium Citrate ผสมกับ 12% Potassium Ferricyanide ใน อัตราส่วน 1:1 โดยทั่วไปของการทำ Alternative Process สารเคมีจะถกู ทาลงบนกระดาษเขียนสีน้ำ ที่มีความหนามาก และเป็นกระดาษที่ปราศจากกรด (Acid Free) เพราะสาร เคมีจะซึมลงไปในพื้นผิวของกระดาษ แต่ข้าพเจ้าเลือกที่จะ อัดภาพลงบนผ้าคอตตอน เพื่อความแตกต่างออกไป ส่วนผ้า ที่ใช้ก็ต้องเป็นเส้นใยธรรมชาติ (Natural Fiber) สารเคมีจึง จะเกาะติด
หลังจากทาสารเคมีลงบนพื้นผิวแล้วก็ต้องตากใน ที่มืดจนแห้งสนิทก่อนจะนำมาอัดแบบสัมผัส (Contact Print) ข้าพเจ้าเลือกใช้แสงแดด (บางท่านอาจจะใช้หลอด ไฟ UV) ใช้เวลาประมาณ ๒๐ – ๓๐ นาที ขึ้นอยู่กับสภาพแสง และความหนาของฟิล์ม
เสร็จจากการตากแดดก็นำผ้ามาล้างน้ำเป็นเวลา ๒๐ นาทีอย่างต่ำ ส่วนที่ไม่โดยแสงสารเคมีก็จะถูกล้างออกไป การทำ กระบวนการอดั ภาพประเภทนี้ต้องเลือกวัสดุที่ทนน้ำ เพราะต้องผ่านการล้างสารเคมีออกเป็นเวลานาน สีของผล ที่ได้จะเป็นสีน้ำเงินอาจจะจางเล็กน้อยเนื่องจากการล้างน้ำ เป็นเวลานาน ดังนั้นเมื่อนำขึ้นมาจากน้ำแล้วก็สามารถใช้ 3% Hydrogen Peroxide (ที่ใช้ล้างแผลสด) เพื่อให้สีน้ำเงินสดขึ้น
30 x 35 ซ.ม. (50 x 60 ซ.ม. รวมกรอบ)
ภาพที่ได้จากการทำงานครั้งนีมี้กลิ่นอายของความเหงาอยู่เนื่องจากโทนสี และแสงเงา สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่าง ที่แยกแยะเราออกจากกัน อีกเหตุผลที่ข้าพเจ้าเลือกที่จะทำงานในกระบวนการนี้เพราะใจรักในการที่จะได้ลงมือทำทุกขั้นตอน ทำให้การทำงานนั้นมีความหมายกับจิตใจ การที่ได้เห็นภาพปรากฏขึ้นบนพื้นผิว มันเป็นความน่าตื่นเต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันมาจากสารเคมีที่เราผสมขึ้นเอง
กระบวนการ Alternative Photography เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความอดทน ก่อนจะอัดภาพจริงควรมีการทดลอง แสงทุกครั้ง เพราะแสงแดดในแต่ละวันจะมีความเข้มข้นไม่เท่ากัน แม้กระทั่งวันเดียวกันแสงแดดก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดวัน เสน่ห์ของการอัดภาพชนิดนี้คือ ภาพที่ออกมาแต่ละครั้งจะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการลงน้ำยาสารเคมี การเปลี่ยนแปลง ของแสง ที่ทำให้ภาพซึ่งมาจากฟิล์มเดียวกันดูแตกต่างกัน (No two prints are the same.)
ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในการทำงานครั้งนี้คือ เวลา ในเมื่อทุกขั้นตอนตั้งแต่บันทึกภาพ ล้างฟิล์ม และอัดภาพล้วนแล้วแต่ ใช้เวลาในการทำงานมาก เวลาจึงเป็นปัจจัยหลักในการทำงาน
อีกปัญหาหนึ่งคือ ช่วงเวลาในการทำงานครั้งนี้เป็นฤดูฝน จึงมีน้อยวันนักที่มีแสงแดดพอกับการทำงาน ขนาดของงาน ที่ได้จึงถูกจำกัดลง รวมถึงเวลาการทำงานก็ถูกจำกัดลงด้วย
ในการขยายเวลาการทำงานในอนาคต ข้าพเจ้าอาจจะต้องลงทุนทำกล่องแสง UV เพื่อลดข้อจำกัดของเวลาทำงานลง และได้แสงที่สม่ำเสมอขึ้น