ชุดน้ำชาจากท้องทะเล

Tea pot set from Sea scape

ผศ. ศุภกา ปาลเปรม
Asst. Prof. Supphaka Palprame

ที่มา และความสำคัญของการสร้างสรรค์

จากประสบการณ์ที่ผู้วิจัยได้เดินทางเที่ยวชมหมู่เกาะต่าง ๆ ในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ซึ่งเป็นบรรยากาศและความงดงามที่ ประทับใจอย่างยิ่ง อาทิ ผิวน้ำที่ปรากฏเป็นระลอกคลื่น น้อย – ใหญ่ น้ำที่ใสดุจกระจกจนมองเห็นสรรพสิ่งที่อยู่ภายใต้ผิวน้ำได้อย่าง ชัดเจน สีน้ำทะเลที่ปรากฏเป็นค่าน้ำหนักที่แตกต่างจากสีเขียวไปจนถึงสีฟ้าและสีน้ำเงิน ตามระดับความลึกของน้ำทะเล ประกอบกับ แสงอาทิตย์ที่สาดส่องลงบนผิวน้ำ เป็นความงดงามที่ยากจะบรรยายให้ซาบซึ้งได้ นอกเสียจากจะต้องสัมผัสด้วยตนเองจึงจักรับรู้ได้ถึง ความงดงามดังกล่าว สรรพชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ภายใต้ผืนน้ำอันกว้างใหญ่ต่างมีเกิด และดับควบคู่กันไปเป็นธรรมชาติที่รับรู้ได้โดย ทั่วไป หากแต่ปัจจุบันมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนผืนโลกมีจำนวนมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมาย และทุกคนต้องกิน ต้องใช้ ต้องพึ่งพาธรรมชาติ เพื่อการดำรงอยู่ทั้งสิ้น จึงเกิดการรบกวนหรือทำลายธรรมชาติ ทั้งโดยตั้งใจและมิได้ตั้งใจก็ตาม อันเป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ มากมายดังที่เป็นข่าวปรากฏให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ซึ่งหากเรายังไม่ตระหนักที่จะดูแล และธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมชาติแล้ว ในอนาคตอาจ ไม่เหลือความงดงามตามธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นใหม่ได้ชื่นชมอีกก็เป็นได้

การดื่มชาเป็นกระแสที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งดื่มเพื่อให้ได้อรรถรส เพื่อสุขภาพ และเพื่อพบปะสังสรรค์ ดังนั้นผู้วิจัย จึงนำความประทับใจในความงดงามของท้องทะเล มาถ่ายทอดลงบนผลงานเครื่องเคลือบดินเผาที่เป็นชุดน้ำชา เพื่อให้ผู้ชมได้ตระหนัก ในความงดงามของท้องทะเล และควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงความงามตลอดไป

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ภาชนะเครื่องเคลือบดินเผาชุดน้ำ ชา โดยนำความประทับใจจากท้องทะเล ได้แก่ สีสัน เกลียวคลื่น และ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในท้องทะเล มาออกแบบและสร้างสรรค์เป็นผลงาน ชุดน้ำชาจากทะเล

แนวความคิด

ชุดน้ำชา ความงดงามของท้องทะเลและสรรพชีวิต เนื้อดิน น้ำ เคลือบ และกระบวนการทางเครื่องเคลือบดินเผา ที่ผ่านการสร้างสรรค์ จากมือของผู้วิจัย

กระบวนการของการสร้างสรรค์

ผลงานสร้างสรรค์ ชุดน้ำชาจากท้องทะเล สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคเซรามิคที่มีกระบวนการดังนี้

• ออกแบบจากที่มาแห่งความบันดาลใจ โดยฐานรองออกแบบให้ มีความรู้สึกคล้ายคลื่นน้ำ และให้น้ำหนักด้วยเคลือบสีน้ำเงินเข้ม ไปจนถึงสีฟ้า ตัวกาใช้รูปทรงเรขาคณิตและเน้นที่พวยกาและมือ จับของฝาที่นำเอารูปทรงของปลามาออกแบบให้เรียบง่าย หูกา และถ้วยชา ออกแบบโดยทิ้งร่องรอยการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนไว้

• คัดเลือกและสรุปรูปแบบที่จะนำมาสร้างสรรค์ • ทดลองเนื้อดินน้ำเคลือบ โดยเลือกใช้เนื้อดินพร์อสเลน เผาที่ ระดับอุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียสเนื่องจากมีสีขาวจะช่วยขับ สีของน้ำเคลือบให้ดูสดใสมากขึ้น ส่วนเคลือบที่ใช้เป็นเคลือบผลึก ที่มีการไหลตัวสูงเพื่อช่วยให้เกิดค่าน้ำหนักอ่อน-เข้มในงาน และ เคลือบใสในบางชิ้นของงาน

• ขึ้นรูปชิ้นงานด้วยวิธีการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนและขึ้นรูปด้วยมือ ผสมผสานกัน

• เผาดิบชิ้นงานที่ระดับอุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส

• ตกแต่งชิ้นงานด้วยสีใต้เคลือบ และเคลือบ

• เผาเคลือบที่ระดับอุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียส

วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์

เนื้อดินพร์อสเลน (Porcelain) น้ำเคลือบที่อุณหภูมิ 1250 องศา เซลเซียส เครื่องปั้นแป้นหมุน สีใต้เคลือบ และเตาเผาไฟฟ้า

เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

ขึ้นรูปด้วยการปั้นแป้นหมุน ตกแต่งด้วยสีใต้เคลือบ และเคลือบ เผาที่ระดับอุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียส บรรยากาศออกซิเดชัน

ขนาดของผลงาน

Dimension 22 ซม. X 16 ซม. จัดวางบนแท่น

tea-pot-set-from-sea-scape-02

tea-pot-set-from-sea-scape-03

การวิเคราะห์การสร้างสรรค์ชุดน้ำชา

1. ผู้วิจัยเลือกใช้รูปทรงที่เรียบง่าย ประกอบกับการสร้างพื้นผิวให้ มีลักษณะคล้ายคลื่นน้ำ โดยใช้ลวดสปริงเป็นตัดผิวดินเพื่อให้ได้ พื้นผิวตามต้องการซึ่งใช้เป็นฐานสำหรับรองกาและถ้วย ประกอบ กับการใช้เคลือบสีนำเงินที่มีการไหลตัวมาเมื่อเผาแล้ว จะมีสี อ่อน – เข้ม สลับกันไป ให้ความรู้สึกคล้ายคลื่นน้ำยิ่งขึ้น

2. ตัวกา ผู้วิจัยใช้รูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่าย โดยเน้นที่พวยกาและ มือจับที่ฝาซึ่งออกแบบจากการนำปลา มาคลี่คลายรูปทรงให้เรียบ ง่าย แต่ยังคงความรู้สึกว่าเป็นปลา

3. ส่วนหูกา ผู้วิจัยขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนและทิ้งร่องรอยของนิ้วมือที่ มีลักษณะเป็นเกลียวตามแบบฉบับของผู้วิจัย ใช้สีน้ำเงินตกแต่ง ที่ตัวกา และฝาเพื่อสร้างความประสานสัมพันธ์กับฐานรอง

4. ถ้วยชาที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนโดยทิ้งรอยนิ้วมือขณะขึ้นรูปไว้ เกิด เป็นพื้นผิวที่คล้ายเกลียวคลื่น ซึ่งเจตนาให้ถ้วยชามีขนาดไม่เท่า กันเพื่อการจัดวาง และเคลือบใสไม่มีสี เพื่อให้เห็นได้ชัดเจนเมื่อ วางอยู่ร่วมกันบนฐาน

tea-pot-set-from-sea-scape-04

tea-pot-set-from-sea-scape-05

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

1. การนำเนื้อดินพร์อสเลนมาสร้างสรรค์ผลงานด้วยวิธีการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนนั้น ทำได้ ยาก เนื่องจากเนื้อดินมีความเหนียวน้อยมาก แต่สามารถทำได้ด้วยประสบการณ์ ที่ต้องเรียนรู้เรื่องของจังหวะ และเวลาที่สัมพันธ์กับสภาพของเนื้อดิน นอกจากนี้ เนื้อดินพร์อสเลนมีสีขาว จะช่วยขับสีของน้ำเคลือบให้สดใสมากขึ้น

2. การออกแบบกาน้ำชา ต้องออกแบบให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของกาซึ่งได้แก่ ตัวกา ฝากา พวยกา และมือจับ ประสานสัมพันธ์กันทั้งขนาด รูปร่าง และรูปทรง ซึ่งทำได้ ยากหากขาดประสบการณ์ในการทำ

tea-pot-set-from-sea-scape-06

เอกสารอ้างอิง

• โกมล รักษ์วงค์. เอกสารคำสอน น้ำเคลือบ 2. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเครื่องปั้นดินเผา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏพระนคร. 2538.
• ทวี พรหมพฤกษ์. เครื่องเคลือบดินเผาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2523.
• สุรศักดิ์ โกสิยพันธ์. น้ำเคลือบเครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพฯ : คณะอุตสาหกรรมศิลป์ วิทยาลัยครู พระนคร, 2527.
• Chappell James. The Potter’s Complete Book of Clay and Glazes New York : Watson-Guptill Publications.,1977.
• Cullen W. Parmelee , Ceramic Glaze. New York .: The Maple Press Company., 1973.
• Hamer Frank . The Potter’s Dictionary of Materials and Techniques. New York. : Watson-Guptill Publications,1977.