อาจารย์วินิตา คงประดิษฐ์
Winita Kongpradit
ดนตรีคือศิลปะแขนงหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาควบคู่มากับวัฒนธรรมอื่น ๆ เช่นการแสดงนาฎศิลป์ โขนละคร ที่กำเนิดขึ้นจาก การริเริ่มค้นคว้า ศาสตร์ของจังหวะเสียงดนตรี ให้เข้ากับ ท่วงท่า ที่ประดิษฐ์ขึ้น จากการเคลื่อนไหวของร่างกายมนษุย์จึง กล่าวได้ว่าดนตรี ไทยมีส่วนในการพัฒนาผสมผสานสังคมไทยจนถึงทุกวันนี้
ในอดีตคนไทยมีพื้นฐานวัฒนธรรมความเชื่อในสิ่งเหนือปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ก่อนที่ความเชื่อในเทพหรือเทวดาของ พราหมณ์จะเข้ามามีบทบาทในภายหลัง รวมไปถึงการรับเอาความเชื่อในพุทธศาสนามาในรูปของเทวธรรม นำมาซึ่งความเชื่อจากดั้งเดิม ที่เห็นเป็นตัวตน มีการผสมผสานความสลับซับซ้อนพิสดารมากยิ่งขึ้นไป ดังที่เห็นได้จากการที่เทพเจ้าจากความเชื่อของพราหมณ์เข้ามา มีบทบาทสำคัญในวรรณกรรมละครโขน ผู้ที่ต้องสวมบทบาทนั้น ๆ จึงต้องกราบไว้เสมอหนึ่งเป็น “ครู” ทางนาฎศิลป์
เมื่อกล่าวถึงสถาบันศิลปวิทยาการในบริบทสังคมไทยจากอดีตกาล ครูก็คือผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาแขนงต่าง ๆ เป็นผู้ สะสม สร้างสรรค์ และสั่งสอนวิชาความรู้ ในความรู้สำนึกจวบจนมาถึงปัจจุบัน คำว่า “ครู” จึงมีลักษณะเฉพาะตนที่สูงและศักดิ์สิทธิ์ ดังตัวอย่างของครูทางการละครนาฎศิลป์ 1ซึ่งเป็นสิ่งที่ผสมผสานกันจากตัวบุคคล ผีบรรพบุรุษผ้สู ร้าง และหลักพุทธศาสนา คำ ว่า “นอกครู” “ผิดครู” และ “ครูแรง” แสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่เป็นนัยยะอันศักดิ์สิทธิ์ จับต้องไม่ได้ และยังคงฝังรากลึกในจิตใจของผู้ที่เป็นศิษย์เสมอมา
เมื่อมนุษย์ยอมรับในสถานะของครูผู้สั่งสอน พิธีกรรมการไหว้ครูนาฎศิลป์จึงบังเกิดขึ้นจากความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ที่นับถือเทพเจ้า เสมือนเป็นพิธีกรรมทางความเชื่อเพื่อให้มีสติ และมีชีวิตรอด
“ศรีศรี วันนี้เป็นวันดี ขอให้เจริญสุขสวัสดิ์ ดั่งใจปฏิพัทธ์ นมัสการพระชินสีห์ ยอกรอัญชุลีขึ้นเหนือเกล้า ประณตนิ้วดุษฎี ข้าขอไหว้คุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า จงมาปกเกศี ทุกค่ำเช้าเพลางาย อนึ่ง ข้าจะไหว้พระอิศวรและพระนารายณ์ ไหว้เทพไททั้งหลาย ขอจงได้เมตตา ข้าขอไหว้คุณบิดาและมารดา ข้าขอไหว้คุณครูบาและอาจารย์ ที่ได้สั่งสอนมา ขอคุณครูจงรักษาให้ อยู่เย็นเป็นสุข ทุกวันนี้เถิด ”
บทยกย่องคุณครูที่จดจำบอกต่อกันมาโดยไม่ทราบผู้แต่ง ถูกนำ มาขับร้องในพิธีไหว้ครู เพื่อน้อมนำจิตและความมั่นใจ ที่จะควบคุม สมาธิเพื่อกำหนดแน่วแน่ในท่าทางร่ายรำคำร้อง ซึ่งไม่มีบันทึกท่วงท่า จังหวะ ทำนองเป็นลายลักษณ์ขณะแสดงบนเวที ต้องอาศัยความทรง จำจากจิตอันเป็นสมาธิ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่ตั้งมั่นแน่วแน่ เพื่อ ทำการหยั่งลึกลงสู่ปัญญา ซึ่งจักเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากคุณของครู ที่เป็นผู้สืบทอดทั้งหมดของวิญญานให้กับตัวศิษย์ เช่นนั้นในการขึ้นแสดง ศิษย์ต้องการความมั่นใจในการจำที่ไม่ผิดพลาด จึงมักยกมือขึ้นไหว้ระลึก คุณครูทั้งในนามธรรม และรูปธรรม กล่าวคือ นามธรรมคือท่วงทำ นอง เพลง ท่วงท่าร่ายรำอันเป็นที่ประจักษ์ ครูทางรูปธรรมก็คือตัวบุคคลที่ สั่งสอนฝึกฝนฝีมือให้กับลูกศิษย์นั่นเอง
พิธีไหว้ครู โขนละคร เป็นพิธีที่สามัญชนในแวดวงนาฎศิลป์ และดนตรีไทยในปัจจุบัน สืบทอดตำราจากราชสำนักโบราณ ซึ่งเต็ม ไปด้วยความเชื่อของ ผี พราหมณ์ พุทธ จากดนตรีปี่พาทย์ประโคม หน้าพาทย์เวลาเริ่มพิธีการ โดยเริ่มต้นด้วยพุทธ ประโคมสรรเสริญ พระรัตนตรัยด้วยเพลงสาธุการ ตามด้วยเพลงสรรเสริญเทวดาของ พราหมณ์เช่น พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ กับเป็นผีในพิธีเข้าทรงเป็นต้น พิธีไหว้ครูเป็นพิธีที่ศิษย์พึงต้องกระทำ เป็นโอกาสที่จะปลูกฝังความกตัญญู ด้วยการบวงสรวงบูชาครู จึงต้องกำหนดให้เป็นหนึ่งในขั้นตอนก่อนการ เริ่มต้นเรียน ถือว่าเป็นการคำนับครู หรือเรียกอีกอย่างว่า “ครอบครู” ซึ่งเมื่อผู้เป็นศิษย์เสร็จสิ้นจากพิธีการแล้ว ศิษย์นั้นจะเป็นผู้ที่มีครูอยู่ใน ตัว ได้รับอนุญาตให้เรียนเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง สามารถฝึกฝนให้ช่ำชอง ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจได้ต่อไปจนชั่วชีวิต
เห็นได้ว่าเมื่อสังคมมนุษย์เปิดรับเอาแบบแผนพิธีกรรมและการ สักการะ อันมีต้นแบบมาจากอารยธรรมอินเดียโบราณ การนับถือเทพเจ้า บุคลาธิษฐาน การถือวรรณะ ตลอดจนการแบ่งแยกความดีและความชั่ว ล้วนเป็นการจัดระเบียบทางความคิดในสังคม และสัญชาติญานมนุษย์ให้ ยึดอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงาม จึงนำเอาพิธีไหว้ครูนาฎศิลป์ โขนละคร มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานชิ้นนี้
เครื่องประดับชิ้นนี้สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลประโยชน์ทาง การศีกษา ในการเรียนร้กู ระบวนการสร้างสรรค์ อันสืบเนื่องมาจากสาระ ความรู้ความเป็นมาของเครื่องประดับ และวัตถุมีค่าที่สะท้อนรากเหง้า ทางวัฒนธรรมและความเชื่อในสังคมไทย โดยนำเอาแรงบันดาลใจมา จากพิธีไหว้ครูโขนละครไทย ซึ่งมีองค์ประกอบจากรากความเชื่อทั้งทางผี พุทธ และพราหมณ์ในคราวเดียวกัน เพื่อให้รำลึกถึงการน้อมนำจิตใจ สมาธิ ระลึกในบุญคุณครู ก่อให้เกิดความสร้างมั่นใจ อีกทั้งสร้างองค์ ความรู้ด้านศิลปะการออกแบบ และวัฒนธรรมความเชื่อในสังคมไทย จากการศึกษาภูมิปัญญาและนวัตกรรม ให้เกิดสุนทรียภาพสอดคล้อง กับรูปแบบของมนุษย์และสังคมร่วมสมัย
ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยสร้างสรรค์ “ผี พราหมณ์ พุทธ: วัฒนธรรมประดับได้” ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 4 การสร้างศักยภาพ และความสามารถเพื่อการพัฒนานวัตกรรม และบุคลากรทางการวิจัย เป็นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความร้แู ละต่อยอดภูมิปัญญาของประเทศและ สาธารณะ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีงบประมาณ 2557
เครื่องประดับชุดนี้ได้ตีความการสอดคล้องของความเชื่อ การสักการะบูชาและแบบแผนพิธีกรรม สืบทอดมาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากพิธีไหว้ครูนาฎศิลป์ โขนละคร สร้างสรรค์เป็น ผลงานที่แสดงความอ่อนน้อมทางร่างกายและจิตใจ ต่อผู้มีพระคุณทั้ง ทางตรงและทางอ้อม เปรียบเสมือนเครื่องสังเวยบูชาเพื่อรวบรวมสมาธิ จิตใจ และอัญเชิญพระคุณครูมาเป็นที่ตั้ง โดยวิเคราะห์จากการเรียน ทา่ รำ เฉพาะของศาสตรน์ าฎศลิ ปโ์ ขน จากเรยี นรู้ จดจำ ทำซ้ำ ตามจังหวะ คิดค้น และฝึกฝนจนชำนาญ นำมาเป็นสัญญะในการจัดวางตำแหน่งของ งานออกแบบ กล่าวคือจังหวะของการสานในโครงสร้างที่โดนกำหนดไว้ การเชื่อมต่อในแต่ละช่วงของสร้อยคอ เปรียบเสมือนการฝึกฝนทำซ้ำ ในการเรียนรำท่วงท่าตามจังหวะ โดยที่วิธีสวมใส่จะต้องค้อมศีรษะลง เพื่อสวมเครื่องประดับซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับการแสดงความอ่อนน้อม ถ่อมจิตใจ ขณะครอบหัวครูฤาษีและเจิมหน้าผากในพิธีครอบครูนาฎศิลป์ ซึ่งมนุษย์มีความเจริญในการประดิษฐ์พัฒนาภาษา ตลอดจนท่าทางที่ สอดคล้องเป็นขบวนท่าฟ้อนรำให้ความประทับใจต่อผู้รับชม ซึ่งต้องใช้ ประสาทตาในการรับรู้สัมผัส เช่นนั้นเองบทคำร้องอธิษฐานในการไหว้ ระลึกคุณครูถูกบันทึกไว้ในกระดาษที่สานขึ้น เพื่อเป็นสื่อนำให้ผู้ชมเข้ามา ในระยะใกล้ ใช้ประสาทตาในการอ่านรับรู้ข้อความต่าง ๆ ในขนาดลดหลั่น กันในชิ้นงาน ขณะที่ผู้ชมต้องค้อมตัวลงใกล้ ๆ เพื่ออ่านข้อความ นัยยะ ทางร่างกายก็สื่อถึงการค้อมไหล่และร่างกายลง ซึ่งเป็นนัยยะเดียวกับการ แสดงความอ่อนน้อมถ่อมใจลง รวมไปถึงการสวมใส่เพื่อระลึกถีงคำสอน
1. ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพิธีไหว้ครู โขนละครและเข้าร่วมพิธีไหว้ครูดนตรี และ นาฏศิลป์ไทย ณ. หอประชุมเล็ก ศูนย์ วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสที่ 27 มีนาคม 2557
2. ศึกษาชั้นวรรณะ วิธีการ แบบแผนที่ ตั้งเครื่องสังเวยและสักการะบูชา การ สอดคล้องของความเชื่อ เรื่องของผี พุทธ และพราหมณ์ รวมไปถึงท่าแม่บทลำดับ ความในพิธีไหว้ครู
3. สรุปข้อมูลจากกรอบแนวความคิดและ ทฤษฏี เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการ ออกแบบ
4. สร้างและพัฒนาภาพร่างรูปแบบเครื่อง ประดับ 2 มิติ
5. สร้างชิ้นผลงานเพื่อนำสู่สาธารณะตาม แนวคิดของผู้สร้างสรรค์
เนื้อโลหะเงิน วัสดุสื่อผสม
ขึ้นรูปโลหะเงิน สานขึ้นรูปกระดาษ
2.5 x 45 ซม.
จากการที่ได้สืบค้นจากข้อมูลต่าง ๆ รวมไปถึงได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีไหว้ครูดนตรี – นาฏศิลป์ไทย ด้วยตนเอง ทำให้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ความเชื่อในคุณของครูที่ยึดถือสืบต่อจากรุ่นสู่รุ่น การแสดงออกถึง การอ่อนน้อมถ่อมตนในพิธี เป็นสิ่งที่ศิษย์ควรพึงกระทำ การศึกษาท่าทางที่โดยกำหนด ตำแหน่งการ นั่ง การจัดวาง จังหวะ และชั้นวรรณะ นำให้ข้าพเจ้าจับใจความเชื่อมโยงเข้ามาในการออกแบบ รวม ถึงศิลปะและตำแหน่งการจัดวาง จะส่งผลเป็นอย่างมากจากการตั้งข้อสังเกตุในเรื่องภาษาท่าทางของ ร่างกาย
• เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, เอนก นาวิกมูล, สรรพสังคีต (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์, 2532)
• บุณเตือน ศรีวรพจน์, โขน: อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฎศิลป์ไทย (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2553)