ผี พราหมณ์ พุทธ : วัฒนธรรมประดับได้ หมายเลข 4

Spirit, Brahmanism and Buddhism: Cultures of Adornment Number 4

ผศ. ดร. เพ็ญสิริ ชาตินิยม
Asst. Prof. Dr. Pensiri Chartniyom

ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

“เครื่องราง” หรือ “เครื่องประดับ” เกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากการเรียนรู้ของมนุษย์ในการอยู่ ร่วมกันกับธรรมชาติ เป็นการจัดการกับ “สิ่งที่ไม่รู้” ให้กลายเป็น “สิ่งเหนือธรรมชาติ” ด้วยวัตถุที่มีผลต่อความเชื่อในด้านการปกป้อง คุ้มครอง และสร้างระบบที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต อันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์เพื่อการรักษาเผ่าพันธุ์

ความกลัวต่อสิ่งเหนือธรรมชาติเหล่านี้เป็นที่มาของคติการนับถือ “ผี” ตามความเชื่อดั้งเดิมที่พัฒนาจากการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวตนและจิตใจ และเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องผู้ปกป้องคุ้มครอง บรรพบุรุษ และการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน

มนุษย์ทุกชนชาติ ต่างเคยมีวัฒนธรรมนับถือผีสางเทวดา หรือ อำนาจลึกลับ เหนือธรรมชาติ กันทั้งสิ้น ด้วยเหตุว่าในสมัย ก่อน ๆ ยังคงมีเรื่องที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจมากมาย ผีเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเหนือธรรมชาติ ที่อยู่เหนืออำนาจการควบคุมของมนุษย์ แม้ว่า ปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางศิลปะวิทยาการ โดยเฉพาะความรู้ วิทยาศาสตร์ได้สร้างความกระจ่างให้แก่เรื่องเล่าเร้นลับหลายๆอย่างแล้ว หากแต่ยังมีความเชื่อในสิ่งลี้ลับอำนาจเหนือธรรมชาติเหลือคงอยู่ในบางวัฒนธรรม มากน้อยเพียงใดก็คงตามแต่ความหนักแน่นของความ เชื่อในอารยธรรมนั้น ๆ สิ่งเหล่านี้แสดงว่าภายในจิตใจมนุษย์ ไม่ว่ายุคสมัยไหน ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร ก็ยังคงมีโครงสร้างความคิด เหมือน ๆ กัน คือมีความไม่รู้ ความไม่แน่ใจ ความกังวลในอนาคต ด้วยความรู้สึกภายในเหล่านี้ จะสังเกตได้ว่ามนุษย์ในทุกอารยธรรมมัก ร้องขอการพึ่งพิงทางใจด้วยวิธีการที่คล้าย ๆ กัน คือ การขอให้อำนาจเหนือมนุษย์ดลบันดาลสิ่งที่ต้องการมาให้ มนุษย์พยายามสื่อสาร กับสิ่งลี้ลับ สิ่งเหนือธรรมชาติ เพื่อต่อสู้กับความกลัวอนาคตของตน

spirit-brahmanism-and-buddhism-no4-02

มนุษย์ในสมัยก่อนเชื่อว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์มักสถิต อยู่ตามธรรมชาติ พื้นดิน ผืนน้ำ หรือเหนือขึ้นบนฟ้า มนุษย์มักสร้างเรือนเล็ก ๆ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ที่ เข้าใจกันในสังคม เช่น ศาลตาแฮก ศาลปู่ย่า หรือมี หิ้งเล็ก ๆ บูชาผีบรรพบุรุษในบ้านเรือน เหล่านี้แสดง ถึงความเชื่อและระเบียบปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน ในสังคม ตัวอย่างเช่นศาลปู่ลมลัด ปู่ลมออนนี้ อยู่ที่ จังหวัดนครพนม มีความเชือ่ ว่าป่สู ามารถเรียกลมและ เรียกฝนได้ การทำพิธีกรรมบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้เชื่อ กันว่าจะทำ ให้สามารถมีการดำ เนินชีวิตอนั เป็นปกติ ได้ เป็นความเชื่อในระบบแห่งความเปน็ จรงิ ในจิตใจ แต่ละบุคคล และมากกว่านั้นคือเชื่อว่าเมื่อกระทำพิธี แล้วจะเป็นแบบแผนให้ทุกคนในหมู่บ้านปฏิบัติร่วม กัน รวมไปถึงลูกหลานในอนาคตก็จะสืบทอดความ เชื่อนี้ต่อ ๆ ไป หรืออีกนัยหนึ่งแม้ว่าตนไม่ได้รับผลก็ จะเป็นลูกหลานที่จะได้รับในเวลาต่อไป

การสื่อสารกับสิ่งลี้ลับ ในสังคมไทยมีหลาย แบบ อาจแบ่งง่าย ๆ ว่าเป็นการขอแบบไม่มีสินบน และการขอแบบมีสินบน แบบแรกที่จะกล่าวถึง เป็นการขอแบบไม่มีสินบน มักเรียกว่าการอธิษฐาน ในการอธิษฐานนี้เชื่อกันว่า ผู้อธิษฐานจักต้องมีพลัง บุญอยู่บ้าง หรือทำความดีมาประมาณหนึ่งพอที่จะ ขอสิ่งที่ต้องการกับสิ่งศักดิ์สิทธิที่นับถือได้ ผลสัมฤทธิ์

ตรงนี้จะได้หรือไม่ได้เชื่อกันว่ามาจากพลังบุญของตน ไม่มีการให้สินบน หรือสัญญาใด ๆ แกกั่น คำว่า อธิษฐานนั้นในความหมายทางพทุ ธศาสนา หมายถึง การตั้งใจเด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางจุดหมายของตน2 เป็นข้อหนึ่ง ในวินัยชาวพุทธเรื่อง บารมี 10 ประการ แต่ดูเหมือนว่ากิริยาที่มนุษย์ ทำการอธิษฐานขอสิ่งนั้นสิ่งนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับวินัยชาวพุทธเลย ก็เป็นได้

การขอแบบมีสินบน เรียกว่า การบนบาน ซึ่งคล้ายกับการอธิษฐาน แต่ต่างกันตรงที่ ผู้ขอมักมีสิ่งของมาเป็นสินบนแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เสียก่อน ก่อน ที่จะปฏิบัติการบนบานหรือขอสิ่งที่ต้องการ ซึ่งการบนบานนี้มีความเชื่อ กันว่าหากนำสิ่งของทั้งหลายไปยกให้ (เลือกสิ่งของที่สิ่งศักดิ์สิทธินั้นจะ ถูกใจ) เพื่อเป็นการตอบแทนในการขอแล้วจะยังผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์เร็ว ขนึ้ อย่างไรก็ตามทั้งการอธิษฐานและการบนบานนี้ ก็คือการแสดงออก ซึ่งความเชื่อและความต้องการสิ่งพึ่งพิงของมนุษย์ ที่มนุษย์ปฎิบัติต่อสิ่ง ลี้ลับเหนือธรรมชาตินั่นเอง

สิ่งที่ขอในการอธิษฐานมักจะเป็นเรื่องของการอำนวยความสะดวก กล่าวคือ ขอให้มีการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติและราบรื่น อวยพรให้ ชีวิตประสบความสุขและความสำเร็จ หรือขอให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง ให้มีความปลอดภัย ส่วนสิ่งที่ขอในการบนบานมักเป็นการขอให้สิ่งศักดิ์ สิทธิดลบันดาลให้เป็นไปดังที่ต้องการ ลักษณะการบนบานที่จะอธิบาย ได้เข้าใจมากขึ้นคือ การบนบานในวิถีชีวิตเกษตรกรรม เช่นการขอให้ ทำไร่นาได้ผลผลิตดี โดยจะจัดพิธีไหว้ผีตาแฮกก่อนการลงมือทำนาของ พื้นที่ทางภาคเหนือและอีสาน ซึ่งจะต้องมีของเซ่นไหว้ผีตาแฮก คือ ไก่ ต้มสุก และ ไข่ เป็นต้น

เมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนายาวนานมาแต่โบราณ ความเชื่อ ทางพิธีกรรมโบราณถูกนำมาผสมผสานกับความศรัทธาของศาสนาและ ลักษณะสังคม บ้างถูกปรับให้มีร่วมกันกับพิธีทางศาสนา คืออาจมีการ ทำบุญเลี้ยงพระก่อนแล้วค่อยเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่นการทำพิธีไหว้ผีปูตา บ้างปรับใหผ้ สมผสานเป็นพระราชพิธีประจำ ชาติ เช่นพิธีแรกนาขวัญ ที่มี ความคล้ายคลึงสอดคล้องกับพิธีผีตาแฮกอยู่มาก หรือในบางคราถูกปรับ ให้เข้ากับการร้องรำทำเพลง ตัวอย่างเช่น เทศกาลผีตาโขน ที่มีการแกว่ง ไกวเครื่องดนตรีคล้ายกระดิ่งและร้องรำทำเพลงหยอกล้อไปตามท้องถนน เพื่อเชิญชวนให้คนร่วมทำบุญทำทาน การร้องรำทำเพลงทำนองนี้อาจมี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความเชื่อที่ว่าเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีสามารถ ใช้เป็นของเซ่นไหว้ผี หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ด้วยเหมือนกัน พิธีกรรมเกี่ยวกับ ผีจึงมักพบอยู่คู่กับการละเล่น เช่นการฟ้อนรำ การเล่นดนตรีพื้นเมือง ตลอดจนกีฬาพื้นบ้านต่าง ๆ พระปริยัติสารวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง จ. ขอนแก่น อธิบายถึงกิจกรรมที่ผสานลักษณะความเชื่อทางไสยศาสตร์ เช่นนี้ว่า คนโบราณเชื่อว่าภูตผีปีศาจจะบำรุงรักษาบ้านเมือง ซึ่งความเชื่อ นี้เป็นรากฐานของพิธีกรรมเกี่ยวกับผีที่สืบเนื่องกันมา แม้ว่าพุทธศาสนาจะ

แยกเรื่องผีออกไปจากศาสนา แต่ทว่าการรักษาประเพณีก็เป็นสิ่งที่ดีงาม จึงยังคงมีการปฎิบัติพิธีกรรมเหล่านี้ปะปนรวม ๆ อยู่กับพิธีทางศาสนาบ้าง สิ่งที่ควรทำความเข้าใจคือการเชื่อต้องไม่เป็นไปในทางเชื่องมงาย ต้อง มีปัญญาในการนับถือ เช่น ในการทำพิธีเกี่ยวกับผีปู่ตาอาจจะอาศัยว่า เป็นการสอนให้ลูกหลานได้นึกถึงบรรพบุรุษเป็นต้น9 จากตัวอย่างการ เปลี่ยนแปลงผสมผสานหลาย ๆ ปัจจัยที่กล่าวมา สรุปได้ว่าพิธีกรรมการ อธิษฐานและบนบานเหล่านี้ต่างถูกปรับรูปแบบให้เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบัน เรื่อยมาตามความเชื่อศรัทธาของคนในสังคมนั้น ๆ

สังคมของมนุษย์ในปัจจุบันนี้ แม้จะอยู่ในแวดล้อมของความ ก้าวหน้าทางวิทยาการที่ลบล้างความเชื่อด้านผีสางเทวดาไปบ้างแล้ว แต่ กระนั้น แม้นว่ามนุษย์จะมีความเข้าใจธรรมชาติมากขึ้นและไม่ได้หวาด กลัวอำนาจธรรมชาติเช่นแต่ก่อนแล้ว ผู้คนในทุกวันนี้ก็ยังคงฝากความ หวังไว้กับอำนาจของผี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการอธิษฐานบนบาน กิจกรรม เกี่ยวกับการอธิษฐานบนบานยังมีปรากฏอยู่เสมอ ๆ แม้จะอยู่ในสังคม เมืองก็ตาม

แนวคิดวัตถุนิยมครอบงำวิถีชีวิตปัจจุบันให้แปลกแยกจากธรรมชาติ มากขึ้น การบนบานให้ผืนนาของตนอุดมสมบูรณ์ จึงไม่ใช่วัตถุประสงค์ ที่คนสมัยปัจจุบันสนใจมากนัก เรื่องที่ต้องการให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาล เริ่มผิดแผกไปจากอดีตที่เคยเป็น เนื้อหาของการอธิษฐานบนบานมีความ เป็นปัจเจกมากขึ้น มีผลต่อความเป็นไปของบุคคลมากกว่าสภาพสังคมที่ ตนอยู่อาศัย ตอบสนองความต้องการในวิถีโลกสมัยใหม่อย่างชัดเจน ซึ่ง เนื้อหาเรื่องราวของสิ่งที่ต้องการให้ได้มาจากการอธิษฐานบนบานเหล่านี้ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และสภาพสังคม ที่คนรุ่น ใหม่เหล่านี้ปฎิสัมพันธ์อยู่ การอธิษฐานบนบานเป็นเรื่องของการรักษา ความหวาดกลัวทางจิตใจและเสริมสร้างความสุขเล็กๆในใจ ซึ่งมนุษย์ ในทุกยุคทุกสมัยต้องการความหวังและกำลังใจในการมีชีวิตอยู่ในวันข้าง หน้า แม้ว่าจริง ๆ แล้วลึก ๆ ภายในใจก็น้อมรับว่าผลสัมฤทธิ์อาจจะไม่ได้ เกิดขึ้นเลยก็ตาม

อนึ่ง ท่ามกลางโลกที่สับสนของปัจจุบัน กิจกรรมการอธิษฐาน บนบานอาจเป็นการกระตุ้นมนุษย์ให้ระลึกถึงจารีต ประเพณี หรือ ความ รู้สึกรับผิดชอบชั่วดีได้ชั่วขณะเวลาหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่งให้เชื่อว่าตนเอง จะเป็นคนดีและทำดีเพื่อให้มีโอกาสได้รับผลสัมฤทธิ์แห่งการอธิษฐาน บนบานนั้น ๆ ก็อาจเป็นได้

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

ต้องการสร้างงานออกแบบเครื่องประดับที่สะท้อนความเชื่อใน เรื่องของการอธิษฐานบนบาน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่คนไทยปฎิบัติมาช้านาน โดยมุ่งเน้นศึกษาที่การอธิษฐานและบนบานของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่ง สะท้อนถึงรากเหง้าความเชื่อดั้งเดิมที่ถูกประยุกต์สู่สังคมบริโภคนิยมของ ประเทศไทย

แนวความคิด

สิ่งที่มนุษย์อยากได้ หวังว่าจะได้ หรือคิด ว่าตนเองควรจะได้ จะสะท้อนลักษณะวิถีชีวิตและ สภาพสังคมของพื้นที่นั้น ๆ เครื่องประดับนี้แสดง สิ่งที่มุ่งหวังอยากจะได้ของผู้คนในสังคมในในช่วงปี 2557 นี้

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน

สำรวจเนื้อหาของการอธิษฐานบนบาน จากผู้คนในสังคม ณ ช่วงเดือน มิถุนายน ถึงเดือน สิงหาคม ปีพ.ศ. 2557 และนำมาสังเคราะห์ประเด็น ของการอยากได้อยากมีของสังคมไทย พบว่าเนื้อหา ที่เป็นความอยากได้ของมนุษย์ในสังคม คือ อยาก ได้ไอแพด อยากชอบปิ้งออนไลน์ได้เรื่อย ๆ ไป ขอ ให้ลูกเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน อยากให้ลูก ไม่ติดทหาร อยากโชคดีมีโชค (ไม่ได้พูดว่าขอถูก หวยนะ) ขอให้รวยเร็ว ๆ ขอให้สวยตลอดไป ขอ ให้แฟนไม่มีคนอื่น ขอให้มีลูก ขอให้ประเทศดีขึ้น ขอเพชรเกมส์คุกกี้รัน ขอให้ไม่ล้ม ละลายในเกมส์ เศรษฐี (Get Rich) และอื่น ๆ ที่คล้ายกัน

การขอต่าง ๆ เหล่านี้ผู้ขอได้อธิบายเหตุผล ของการขอไว้ด้วย ซึ่งสามารถสะท้อนสภาพสังคม ได้ว่า

1. มีความต้องการในสินค้าที่เป็นที่นิยมซึ่ง มิอาจจัดหาให้ตนเองได้ เพราะมีราคา เกินกว่าจะสามารถซื้อได้
2. มีความเป็นห่วงต่ออนาคตของบุตร อยากให้มีหนทางที่สบาย อยากได้เงิน มากกว่าที่มีอยู่ (โดยง่าย)
3. กังวลในเรื่องครอบครัว อยากมีครอบครัว ที่ดี ที่สมบูรณ์
4. ระบายความหงุดหงิด เบื่อหน่าย กับเรื่อง ที่หาทางออกไม่ได้ ด้วยการเล่นเกมส์ อย่างจริงจัง

ลักษณะความต้องการเหล่านี้ถูกนำมาออกแบบให้เป็นลักษณะไอคอน (Icon) ให้ เป็นรูปทรงที่สื่อได้อย่างตรงไปตรงมา เช่น รูปรถเข็น หมายถึงการชอปปิ้ง รูปถุงเงิน ธนบัตร หมายถึงความร่ำรวย เป็นต้น ไอคอนเหล่านี้ถูกแขวนโยงกับสายฟ้า สื่อถึงความ คาดหวังว่าจะสามารถได้รับสิ่งเหล่านี้จากการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างรวดเร็วชั่ว พริบตา นอกจากนี้เครื่องประดับยังสร้างให้มีเสียงที่เกิดจากการกระทบกันของโลหะเพื่อเชื่อมโยง การสักการะต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้การร้องรำทำเพลงเป็นสิ่งเซ่นไหว้ให้พึงพอใจอีกด้วย

วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

เงิน แก้ว และ วัสดุอื่น ๆ

เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

Fabricated

ขนาดหรือความยาวของผลงานสร้างสรรค์

สร้อยคอ 24 นิ้ว

spirit-brahmanism-and-buddhism-no4-03