พระพุทธรูปไทยร่วมสมัย

Thai Contemporary Buddha

นายอานุภาพ จันทรัมพร
Mr. Arnuphap Chantharamporn

ที่มา และความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

พระพุทธรูปของไทยมีประวัติความเป็นมาในการสร้างสรรค์อย่างยาวนานในหลากหลายรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน ออกไป เนื่องจากสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีความผูกพันเลื่อมใสอยู่ในพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง พระพุทธรูปที่ถูกสร้างสรรค์ ในอดีตมีพุทธลักษณะต่าง ๆ และมีแบบแผนการสร้างสรรค์แสดงออกให้ประจักษ์ได้เป็นแบบอย่างในยุคแต่ละสมัย สืบเนื่องต่อมาใน สมัยปัจจุบัน มีความหลากหลายทาง การสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ทั้งการรับรู้แบบอย่างลักษณะที่สืบเนื่องต่อกันมายาวนาน ย่อมมีการ สร้างสรรค์รูปแบบของพระพุทธรูปแตกต่างออกไปได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้นประกอบกับแนวคิดในการสร้างสรรค์ หรือการใช้หลัก ธรรมในการแสดงออกเป็นประติมากรรมพระพุทธรูปนั้นมีความแตกต่างกันออกไป หากแต่ยังมิได้ถูกกำ หนดอย่างแน่ชัดในสมัยปัจจุบัน ว่าพระพุทธรูปที่อยู่ในสมัยปัจจุบันนั้นควรมีลักษณะเช่นไรที่จะสอดคล้องกับความเป็นยุคสมัย แนวความคิดของคนในสังคมวัฒนธรรม ในสังคมปัจจุบัน ควรมีลักษณะของกลุ่มแนวคิดหนึ่งแนวคิดใดในสังคมหรือไม่ หรือควรแสดงความเป็นกลางแสดงออกให้เกิดความคิด ความรู้สึกร่วมกัน – คล้อยตามกันเช่นไร เหล่านี้จึงเป็นที่มาของการพยายามทำความเข้าใจในการผลิตซ้ำ พระพุทธรูปของไทยปัจจุบัน นี้ที่ทำออกมาอย่างมากมายมหาศาลตามแบบอย่างที่ทำกันมาแต่โบราณแต่ผิดเพี้ยนไปจากรูปแบบลักษณะและวิธีการดั้งเดิมอย่าง เห็นได้ชัดเจน การศึกษาประติมากรรมพระพุทธรูปของไทยจึงต้องย้อนกลับไปสู่ความเป็นแนวความคิดของการสร้างสรรค์และวิธีการ ดั้งเดิมที่เด่นชัดและประสบผลมาแล้วในอดีต หรือความสำเร็จในกระบวนการสร้างสรรค์ทั้งทางด้านรูปแบบและเทคนิคนำมาปรับใช้ โดยใช้โครงสร้างแนวความคิดและการสร้างสรรค์นั้นมาสู่ยคสมัยปัจจุบันทั้งวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว เพื่อกำหนดแนวทางการสร้างสรรค์ประติมากรรมพระพุทธรูปของไทยให้เป็นไปอย่างมีเป้าหมายสอดคล้องกับความเป็นสมัยนิยมใน ปัจจุบันของไทยด้วย

แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์จากความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ของคนไทยก็เป็นแรงบันดาลใจจากการสร้างสรรค์รูปแบบประติมากรรม ทางศาสนา โดยเฉพาะการสร้างพระพุทธรูป หากแต่ย่อมเข้าใจอยู่ดีว่า แนวคิดสำคัญทางศาสนานั้นย่อมเป็นเรื่องของหลักธรรมคำสอนเป็น สำคัญ ความมุ่งหมายในการกำหนดรูปแบบพระพุทธรูปก็ย่อมได้แรง บันดาลใจมาจากแนวความคิด ปรัชญา คำสอน หลักธรรม ความเชื่อ (ใน ระดับต่างกัน) และส่งผลสะท้อนให้เห็นถึงการแสดงออกเป็นรูปธรรมได้ เช่นเดียวกัน ความบันดาลใจจากความศรัทธาเป็นการสร้างรูปแบบเชิง สัญลักษณ์ (Symbolic) ก่อเกิดรูปเคารพทางพุทธศาสนาในแต่ละกลุ่ม ชน การให้ความสำคัญของการแสดงออกทางศาสนานั้นย่อมต้องการ แสดงให้เห็นความสำคัญของศาสดาด้วย แม้ว่าจะมิได้เป็นหัวใจหลักของ แนวคิดที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา

การแสดงออกทางศาสนานั้น ย่อมต้องการแสดงให้เห็นความ สำคัญของศาสดาด้วย แม้ว่าจะมิได้เป็นหัวใจหลักของแนวคิดที่สำคัญ ที่สุดของพุทธศาสนา

ความบันดาลใจจากหลักธรรมคำสอนในศาสนาย่อมมีหลัก ธรรม แนวคิด และหลักปฏิบัติอันเป็นแบบอย่างแห่งการพัฒนาจิตใจ และภูมิปัญญา การขยายความหลักธรรมหรือแนวความคิดจากความ เชื่อเพื่อสร้างหรือนำไปสู่ความศรัทธา สื่อสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยใช้กระบวนการทางศิลปะ อันมีสถานะเป็นสื่อ (Media) ทำหน้าที่ สื่อสารให้ความหมายและความเข้าใจ ให้เห็นถึงรสแห่งความสุข ความ งาม ความดี ความรู้ (ความเป็นพุทธ : ผู้รู้ ผู้เข้าใจ ผู้เห็นแจ้ง) และคุณค่า อันเป็นหัวใจหลักสำคัญของพุทธศาสนา นี่เองเป็นที่มาแห่งการสร้างสรรค์ ประติมากรรมพระพุทธรูปศิลปไทยร่วมสมัย อีกทั้งความบันดาลใจจาก การสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมของไทยในอดีตเป็นอิทธิพล และแบบ อย่างแห่งการสร้างสรรค์ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์

การสร้างสรรค์รูปแบบประติมากรรมพระพุทธรูปนั้น อาจมีการ สร้างสรรค์ต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนานหลายยุคสมัยและผูกพันกันการ ใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาทางพุทธศาสนา หากแต่ลักษณะที่แสดงออก ทางการสร้างสรรค์พระพุทธรูปในแต่ละองค์ ๆ นั้น ยังแสดงความมีทรรศนะ ที่เป็นส่วนแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มชน ดังนั้นหากประติมากรรมพระพุทธ รูปใด ๆ ที่สร้างสรรค์ต่อเนื่องกันมาและมิได้มีความจงใจลอกเลียนแบบ อย่างมาทั้งหมด ย่อมแสดงความทรรศนะความคิดบางประการของผู้ สร้างสรรค์ผลงานลงไปด้วย แนวความคิด และความมุ่งหมายในการสร้าง ประติมากรรมเพื่อแสดงออกถึงลักษณะอุดมคติให้เห็นไม่ชัดเป็นรูปธรรม ล้วนสื่อออกมาเป็นแบบอย่างในการสร้างสรรค์ด้วย หากแต่การสร้างสรรค์ ผลงานประติมากรรมพระพุทธรูปนี้มีความมุ่งหมายในการกำหนดแบบ อย่างเฉพาะลงไปตามแนวความคิดของผู้สร้างสรรค์เองไม่วาจะเป็นสื่อ ถึงหลักธรรมหลักปรัชญาที่ลึกซึ้ง ความต้องการใช้กรรมวิธี หรือทัศน ธาตุทางการสร้างสรรค์ศิลปะสื่อออกมาตอบคำถามค่านิยมของตน (ผู้สร้างสรรค์)ผู้ชม และสังคม โดยอาจเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างสรรค์ ประติมากรรมพระพุทธรูป หรือเป็นแบบอย่างทางการสร้างสรรค์ที่ เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบันของไทย

แนวความคิด

สุนทรียภาพในประติมากรรมพระพุทธรูปนั้น ต่างมีรูปแบบแตกต่างกันออกไปหลากหลายมากมาย ซ่อนความหมายและความรู้สึกในการรับรู้ทางอารมณ์ ที่แตกต่างกันด้วย ประติมากรรมพระพุทธรูปปาง มารวิชัยของข้าพเจ้า ยังคงสืบทอดความมุ่งหมาย ของการแสดงออกทางเรื่องราวของพระพุทธศาสนา โดยมีแนวคิดทางหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นตัวกำหนดแนวทางการสร้างสรรค์การแสดงออก (รศ.สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ , 2533, หน้า 33) พระอิริยาบถ ที่ผ่อนคลายสงบนิ่ง และอิ่มเอิบในความบรรลุพระ สัมมาสัมโพธิญาณ แสดงออกด้วยมวลปริมาตรและน้ำ หนักแสงเงา โดยมวลปริมาตรเหล่านั้นจะพรรณนาถึง ความรู้สึกปิติ มีเมตตา น่าเลื่อมใส โดยอาศัยโครงสร้าง สัดส่วนมนุษย์ผสานกับรูปแบบทางอุดมคติ ไม่ยึดเอา แนวทางการสร้างสรรค์แต่เดิมในแบบยุคสมัยใดสมัย หนึ่งหากแต่นำเอาความเข้าใจในวิถีการสร้างรูปทรง นั้นเพื่อสร้างภาพรูปลักษณ์พระพุทธรูปที่สอดคล้อง กับแนวคิดในยุคสมัยปัจจุบัน

การพัฒนารูปแบบที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ จากการกำหนดรูปแบบอันได้แรงบันดาลใจมาจาก พระพุทธรูปกลุ่มศิลปะสมัยเชียงแสน(พ.ศ. 1600 – พ.ศ. 2089) หมายรวมถึงรูปแบบกลุ่มพระพุทธรูป อันมีพุทธลักษณะในรูปแบบใกล้เคียงกัน พระพุทธรูป เชียงแสน พระพุทธรูปสกุลช่างเมืองนครศรีธรรมราช (หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์, 2480, หน้า 13) พระพุทธ รูปสุโขทัยหมวดวัดวังตระกวน (ผู้เขียน) ซึ่งมีรูปแบบ ทางประติมานวิทยาที่มีพุทธลักษณะ พระวรกายอวบ อ้วน จีวรแนบพระองค์ พระพักตร์กลม พระหนุกลม เป็นปมมน เม็ดพระศกใหญ่ ไม่มีไรพระศก พระนาสิก งุ้มเล็กน้อย พระเกตมาลาเป็นต่อมกลม ปางมารวิชัย และขัดสมาธิเพชร มีชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือ พระถัน นำมาพัฒนารูปแบบโดยอ้างอิงสัดส่วนของความเป็น มนุษย์ตามอย่างศิลปะตะวันตก เพื่อพัฒนาสัดส่วน ตามอย่างยุคสมัยปัจจุบัน ตำแหน่งสัดส่วนในพระ พักตร์และพระวรกายใช้หลักกายวิภาคมาผสานกับ รูปแบบอันเป็นลักษณะอุดมคติของไทย

การแสดงออกถึงความเรียบง่ายไม่ซับ ซ้อนมาก แต่มีความงดงามด้วยเส้นสายในรูปทรง ที่ประกอบกับปริมาตร หากจะพิเคราะห์เอาความ งดงามอิ่มเอิบใจในรายละเอียดก็จะสามารถพิจารณา เห็นเส้นและน้ำหนักตลอดจนพื้นผิวที่ผสานอยู่ในรูป ทรงนั้น

กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน

จากแนวความคิดที่เป็นโครงร่างภายในจิตใจอย่างคร่าว ๆ กระบวนการสร้างสรรค์กำหนดเป็นวิธีการศึกษาเพื่อตอบคำถามและ หาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ โดยกำหนดความมุ่งหมายชัดแจ้งไปว่าไม่ลอก เลียนแบบเอาตามอย่างที่มีอยู่เดิม หรือสร้างสรรค์อยู่ก่อนอย่างไม่มี ทิศทางหรือเป้าหมายในการแสดงออกที่เด่นชัด ดังนั้นจึงคำนึงถึงความ เป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ผลงานให้ประจักษ์ชัดในด้านความแตกต่าง จากการสร้างสรรค์ที่ขาดการวิเคราะห์อย่างชัดเจนโดยมีประเด็นที่จะ นำมาใช้ในการศึกษาและการสร้างสรรค์ดังต่อไปนี้

1. แนวความคิด

มีความมุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ กำหนดให้เป็นรูป แบบประติมากรรมพระพุทธรูปของไทยที่ร่วมสมัยปัจจุบัน

2. สุนทรียศาสตร์

อาศัยการใช้ทฤษฎีทางศิลปะ มากำหนดเป็นแนวทางในการ สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง สัดส่วน ความกลมกลืน ความ สมบูรณ์ กำหนดเป็นรูปแบบปางมารวิชัยตามอย่างขนบการสร้าง และความนิยมซึ่งแบบอย่างของมุทรา (ลักษณะท่าทางที่มีความ หมาย) มีองค์ประกอบการวางเส้นรอบรูปของรูปทรงที่ต่อเนื่อง กลมกลืน แสดงพลังความเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลสะท้อนความมีชีวิต และจิตวิญญาณ

3. ความรู้สึก/ อารมณ์

ความงามในโครงสร้างรูปทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มีพลังจาก โครงสร้างเส้นนอน แนวระดับของพระพาหาและพระชงค์ ผสาน กับปริมาตรมวลแน่นขยายออกไปด้านข้าง เป็นการเพิ่มความรู้สึก ถึงความมีพลังอยู่ในรูปทรงที่จะแผ่ขยายออกอย่างเต็มที่ แม้ว่า กำหนดให้เป็นเรื่องราวแห่งความสุขจากความสงบ ความอิ่มเอิบ สมบูรณ์ ความมีชีวิต ความมีเมตตา ความผ่อนคลาย แต่ก็แสดง ถึงความมีรัศมี ความเป็นวิเศษ ด้วยพลังของทัศนธาตุเหล่านี้

4. รูปแบบ

กำหนดเป็นประติมากรรม 3 มิติ เน้นศึกษาและสร้างสรรค์โดยใช้ พระพุทธรูปตามสัดส่วนของมนุษย์ผสมผสานกับรูปแบบการสร้าง รูปทรงแบบอุดมคติของไทย โดยใช้แบบอย่างของพระพุทธรูปใน กลุ่มศิลปะเชียงแสนนั้นเป็นต้นแบบในการศึกษาการคลี่คลายทาง ความคิดและรูปทรง ใช้การนั่งขัดแบบสมาธิเพชรอันสื่อความหมาย แห่งการสอดประสานและพลังในรูปทรง ซึ่งมีความพิเศษที่มิอาจ เทียบเคียบกับความเป็นจริงได้ แนวคิดแบบอุดมคติเช่นนี้จะแลดู กลมกลืนในรูปของเส้นและปริมาตรที่ปรากฏ

5. เทคนิควิธีการ

กำหนดให้เป็นประติมากรรมหล่อโลหะตามอย่างเทคนิคที่ใช้ใน สมัยปัจจุบัน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเทคนิคการ หล่อโลหะเพื่อการสร้างสรรค์ประติมากรรมพระพุทธรูปของไทย ตลอดจนการรมสี/ย้อมสีเนื้อโลหะตามอย่างวิทยาการสมัยใหม่

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

การค้นหารูปทรงที่มิได้มีอยู่ให้เทียบเคียงได้อย่างสมบูรณ์และ แม่นยำแม้นว่าเป็นรูปทรงมนุษย์แบบอุดมคติแต่การค้นหาปริมาตรเพื่อ แสดงความงดงามอย่างพอดีนั้นต้องทดลองเพิ่มปริมาตรลงไปและวิเคราะห์ ระยะความตื้น – ลึก แสง/ เงา เป็นสำคัญ ก่อนจะมุ่งมองรายละเอียด หรือเส้นรอบรูปอันจะแสดงลักษณะท่าทาง รูปทรงที่ดูกลมกลึงนั้นแท้จริง แล้ววิธีการสร้างรูปทรงที่มีส่วนสัมพันธ์กันต้องอาศัยความเข้าใจโครงสร้าง การสร้างรูปทรงด้วยการใช้รูปทรงเรขาคณิตเป็นพื้นฐาน ไม่ว่าจะใช้เพื่อ เป็นการตรวจสอบระดับแนวตั้ง – แนวนอน การวัดระยะ การแบ่งเฉลี่ย มวลปริมาตรและการกำหนดสัดส่วนขนาด ใช้การจัดเรียงเส้นสอดคล้อง ลื่นไหลไปด้วยกัน ตามอย่างแนวทางการสร้างรูปทรงในศิลปะไทยประเพณี แล้วหาน้ำหนักเป็นปริมาตรตื้นลึก โดยตรวจสอบด้วยการใช้แสงเข้า ตรวจสอบ

ทดลองการกำหนดรูปแบบอย่างเจาะจง เช่น พระวรกายต้องอวบ อ้วนเพื่อแสดงถึงความอิ่มเอมสมบูรณ์ เม็ดพระศกต้องใหญ่เพื่อแสดง ความแตกต่างของปริมาตรและพื้นผิวให้ชัดเจน บั้นพระองค์หนาและพระ อังสะกว้าง การเรียงตัวของกลีบฐานบัวต้องแสดงน้ำหนักแสดงเส้นรอบรูป คมชัด ในขณะที่ลวดลายเส้นจีวรกำหนดให้มีมวลปริมาตรน้อยเพื่อให้ ดูเบานุ่มนวล เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้เป็นการทดลองกำหนดความมุ่งหมายโดยมิได้มีการ สร้างรูปขึ้นก่อน และทดลองสร้างรูปทรงให้สอดคล้องไปกับแนวความ คิดทางการสร้างสรรค์ วิธีการกำหนดและการทดลองปฏิบัติการใช้ ทัศนธาตุทางศิลปะอย่างมีเหตุผลตามทฤษฎีจะเป็นแบบอย่างของการ ศึกษาวิธีการสร้างสรรค์ทางศิลปะต่อไปได้ด้วย

การกำหนดรูปแบบตามแนวความคิดเพื่อให้สอดคล้องกับความ เป็นร่วมสมัยหรือในยุคสมัยปัจจุบันของไทย การสร้างสรรค์ย่อมมีทรรศนะ ความคิดส่วนตัวของผู้สร้างออกมาด้วยเช่นกัน ผลที่ได้รับจึงอาจเป็นรูป แบบพระพุทธรูปที่มิอาจกำหนดแบบได้อย่างชัดเจน หรืออาจเห็นอิทธิพล ทางการสร้างสรรค์ผลงานอยู่บ้างก็จะเป็นเรื่องที่สามารถนำมาศึกษาและ วิเคราะห์ต่อไป ในแนวทางการสร้างสรรค์การสร้างรูปประติมากรรมให้ เห็นภายนอกแล้วมิได้เห็นถึงโครงสร้างของภายในวัตถุที่มีอยู่ ในทางกลับ กันการศึกษาในขั้นต่อไปนั้นอาจใช้วิธีการกำหนดโครงสร้างจากภายนอก ก่อนเพื่อค้นหารูปทรงโครงสร้างภายในซึ่งอาจเป็นหัวใจหลักของรูปทรง ที่ศึกษาและสร้างสรรค์ก็ได้เช่นเดียวกัน

เอกสารอ้างอิง

• บริบาลบุรีภัณฑ์ , หลวง,ลักษณะพระพุทธรูปต่าง ๆ ในประเทศ สยาม,กรุงเทพฯ,กรมศิลปากร,2480
• สุรศักดิ์ เจริญวงศ์,รศ.,เอกสารการสอนชุดวิชา ศิลปะกับ สังคมไทย สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช,กรุงเทพฯ,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2533