อาจารย์อนุชา โสภาคย์วิจิตร์
Anucha Sopakvichit
“พระพุทธรูปเป็นผลงานศิลปะที่สะท้อนศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึง การรวมตัวกันของพุทธบริษัททั้งหลายเพื่อ แสดงถึงความเคารพ และศรทัธาในพระธรรมคำสอน ของพระพทุธองค์ ซึ่งการสร้างรูปเคารพ แทนพระพุทธเจ้า และงานศิลปกรรมในพระพุทธศาสนานั้นเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ สันนิษฐานว่า ก่อนหน้านั้นไมมี่การสรา้ งรูป เคารพแทนพระพุทธเจ้าขึ้น เนื่องมาจากบรรดาชาวพุทธยังไม่นิยมรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบพิธีกรรมใด ๆ เพราะต่างมุ่งเน้นการศึกษา ปฏิบัติโดยสันโดษ จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างรูปเคารพขึ้นแต่อย่างใด
“ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของศิลปะอินเดียคือการไมส่ รา้ งภาพพระพุทธเจ้าในรูปมนุษย์แต่จะใช้ภ าพสัญลักษณ์ แทนพระพุทธเจ้า เช่น ภาพดอกบัวแทนการประสูติ เนื่องจากดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ และในพุทธประวัติขณะที่ประพุทธเจ้าประสูติก็ ปรากฏดอกบัวรองพระบาทให้ทรงดำเนินไป ๗ ก้าว ภาพสถูป แทนการปรินิพพาน ธรรมจักร แทนการแสดงธรรมของพระพุทธองค์ เป็นต้น
พุทธศาสนาเถรวาทนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อชาวพม่าซึ่งมุมมองหนึ่งจาก ดร.เอ็ดเวิร์ดคอนซ์ได้แสดงความเห็นเรื่องของอำนาจที่มาจากความศรัทธา ของชาวพุทธที่สะท้อนออกมาเป็นอำนาจการปกครองของกษัตริย์ โดยการ ที่ยกย่องสถานะของกษัตริย์ขึ้นเทียบเคียงกับเทพ หรือพระโพธิสัตว์นั้น ใน ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้สถานะของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนใน ทางการสื่อสารและปฎิบัติต่ออำนาจที่มองไม่เห็น ซึ่งคงหมายถึงเป็นผู้ที่ ติดต่อกับอำนาจต่าง ๆ ทางความเชื่อของชาวพุทธ เช่นการทำพิธีกรรม ต่าง ๆ เพื่อติดต่อกับดวงวิญญาณ การทำพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือการ สวดในพิธีการสวดในพิธีมงคลต่าง ๆ ทั้งระดับชาวบ้านหรือระดับกษัตริย์ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจและกระทั่งปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายตามความเชื่อ ต่าง ๆ ซึ่งมักจะพบเห็นพิธีกรรมเหล่านี้อยู่เสมอ ๆ ในพระพุทธศาสนาด้วย ความประสานเป็นเนื้อเดียวกันกับศาสนาอื่นโดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาที่ถือเอาการปฎิบัติพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการบูชา เทพเจ้าของตน
การบูชารูปเคารพหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนาว่า ความเชือ่ วา่ ความรงุ่ เรอื งของชาตจิ ะมไี ดก้ อ็ ยทูี่ก่ ารกระทาํ บชู านัน้ จะเหน็ ตัวอย่างได้จากความเจริญรุ่งเรืองของศาสนสถานที่มาจากความศรัทธา ของประชาชนว่าในสมัยที่มีศรัทธาแก่กล้านั้น ได้มีการสร้างพระพุทธรูป พุทธเจดีย์กันขึ้นมากมายจากหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นในลักษณะของการ สร้างเจดีย์จำนวนมากมายในประเทศพม่า วัดและพระพุทธรูปจำนวน มากในประเทศต่าง ๆ ที่พุทธศาสนามีความแข็งแรง เช่นพม่า ไทย และศรี ลงั กา เป็นต้น แสดงถงึ ความเจรญิ รุ่งเรอื งในอดตี ทัง้ ในด้านการดำรงชวี ติ เศรษฐกิจ และความเป็นปึกแผ่นของประชาชนในดินแดนต่าง ๆ ในช่วง เวลานั้น เพราะศาสนสถานปูชนียวัตถุต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นมาได้ย่อมต้อง มาจากแรงศรัทธา ความสามัคคี และกำลังทรัพย์ของประชาชน นั่นย่อม แสดงให้เห็นสถานภาพทางสังคมและการปกครองรวมถึงความเป็นอยู่ ของประชาชนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การสร้างหรือเพิ่มจำนวนของรูป ศักดิ์สิทธิ์นั้นถือว่าได้บุญมาก
“การได้ท่องเที่ยวเชิงศาสนาในแดนพุทธภูมิ หรือประเทศ ที่ประชากรนับถือศาสนาพุทธอย่างมั่นคง เช่นในประเทศพม่าหรือ แม้แต่ประเทศศรีลังกาซึ่งศาสนาพุทธนั้นได้เกือบจะสูญสลายในดินแดน แห่งนี้ในสมัยของพระเจ้าราชสิงหะแห่งอาณาจักรสีตาวะกะซึ่งทรงหันไป นับถือศาสนาฮินดู แล้วสั่งให้ฆ่าพระภิกษุสงฆ์ทำลายพุทธศาสนสถานจน สิ้นในช่วง พ.ศ. ๒๑๒๕ – พ.ศ. ๒๑๓๖3 นอกจากนี้ประเทศศรีลังกานั้น ยังเคยตกอยู่ในการปกครองของ ชาวโปรตุเกส และประเทศฮอลันดา ตามลำดับ รวมถึงปัญหาทางการศึกสงครามอันยาวนาน พุทธศาสนาใน ศรีลังกาจึงมีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ฮินดูในเรื่องของพิธีกรรม ต่าง ๆ อยู่มาก และอิทธิลพของการศึกสงครามที่มีต่องานศิลปะทาง พระพุทธศาสนาจึงทำให้มีความชัดเจนแข็งแรงมากกว่าความอ่อนช้อย นุ่มนวล ประติมากรรมบนฝาผนังของวัดส่วนมากจะเป็นประติมากรรม กึ่งลอยตัว ซึ่งมักจะไม่พบในวัดไทย และพม่า“เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่กว้างขวางออกไป การสร้างสรรค์งานศิลปะทางพระพุทธศาสนาจึงได้ถูกเผยเพร่ตามไปด้วย เมื่อ พุทธศิลป์เดิน ทางไปในภูมิภาคต่างๆ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของสังคมท้องถิ่น ต่างๆ จึงถูก ผสมผสานลงไปในศลิ ปกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นความเชื่อบนความศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้นย่อมมาจากความเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งปรากฏเด่นชัดในพุทธลักษณะ ของพระพุทธรูป และสถาปัตยกรรมขององค์พระสถูปเจดีย์ที่ปรากฏหลักฐานทางพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ
การฟื้นฟูพระพทุ ธศาสนาในประเทศศรีลังกา ในขณะที่ไม่มีพระสงฆ์ที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนามี เพียงสามเณรสรณังกร จึงไม่สามารถที่จะบวชพระ ภิกษุในพระพุทธศาสนาได้ จึงได้ขอให้พระเจ้ากิตติ ราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น ส่งทูตมาขอให้พระ เจ้าบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาส่งคณะสงฆ์ ซึ่งมีพระ อุบาลีเป็นหัวหน้ามาบรรพชาให้กับชาวลังกา จึงเกิด เป็นคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ขึ้นใน ประเทศศรีลังกา ด้วยเหตุนี้การสวดมนต์ พิธีกรรม ทางศาสนา จนถึงพุทธศิลป์ในประเทศศรีลังกากับ ประเทศไทยมีความเหมือนกันมาก และชาวศรีลังกา เองโดยเฉพาะพระสงฆ์ยังให้ความเชิดชูพระสงฆ์ที่ไป จากประเทศไทยด้วย
การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศ ศรีลังกาในขณะที่ไม่มีพระสงฆ์ที่จะสืบทอดพระพุทธ ศาสนามีเพียงสามเณรสรณังกร จึงไม่สามารถที่จะ บวชพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้ จึงได้ขอให้พระ เจ้ากิตติราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาในขณะนั้นส่งทูตมา ขอให้พระเจ้าบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาส่งคณะสงฆ์ ซึ่งมีพระอุบาลีเป็นหัวหน้ามาบรรพชาให้กับชาวลังกา จึงเกิดเป็นคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ขึ้น ในประเทศศรีลังกา ด้วยเหตุนี้การสวดมนต์ พิธีกรรม ทางศาสนา จนถึงพุทธศิลป์ในประเทศศรีลังกากับ ประเทศไทยมีความเหมือนกันมาก และชาวศรีลังกา เองโดยเฉพาะพระสงฆ์ ยังให้ความเชิดชูพระสงฆ์ที่ไป จากประเทศไทยด้วย
ผู้เขียนได้สังเกตเห็นความแตกต่างทาง ด้านรูปลักษณ์ของพระพักตร์ และการสร้างสรรค์ พระพุทธรูปด้วยฝีมืออันงดงามตามศิลปินในภูมิภาค นั้น จึงไดเ้ กิดแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพพระพุทธ รูปและองค์พระเจดีย์ในประเทศต่าง ๆ และภาพ ถ่ายที่สะท้อนความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของ พุทธศาสนิกชนในดินแดนเหล่านั้น โดยเฉพาะพุทธ ศาสนาฝ่ายเถรวาท
ในการถ่ายภาพชิ้่นงานที่เกิดจากศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาท และมุมมองทางด้านศิลปะการถ่ายภาพ จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเล่าเรื่องและ สื่อสารความประทับใจ และส่งเสริมศรัทธาชาวพุทธผ่านงานสร้างสรรค์ องค์พระพุทธรูปและพระสถูเจดีย์ จากการได้เยือนดินแดนพุทธภูมิและ ประเทศที่พุทธศาสนายังมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิต และเป็นที่ พึ่งทางใจของชาวพุทธ
ศรัทธา ความจริง ประสบการณ์ มุมมอง
การเดินทางไปในแดนพุทธภูมิ ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้ร่วมเดิน ทางไปกับคณะแสวงบุญจำนวน ๒๐ รูป/ คน โดยเดินทางไปพักตามวัด ไทยในประเทศอินเดีย ร่วมสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม เช้า ๔.๐๐ – ๖.๐๐ น. และช่วงเวลาเย็น ๑๘.๓๐ – ๒๑.๓๐ น. เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและแรง บันดาลใจในการศึกษา เก็บเกี่ยวและเข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา เพื่อถ่ายทอดสื่อสารในผลงานภาพถ่ายทางพระพุทธศาสนา
การเดินทางไปสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในประเทศพม่าได้มีการ สวดมนต์ทุกครั้งเมื่อเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ ก่อนที่จะเยี่ยมชม ซึ่งตามวัด ต่าง ๆ ในประเทศพม่า ชาวพม่าเองก็นิยมสวดมนต์และนั่งสมาธิเป็นปกติ มากกว่าเป็นเพียงการเดินเที่ยวชมสถานที่ ถ่ายภาพแล้วทำบุญทั่วไป
การเดินทางไปศรีลังกา ผู้สร้างสรรค์งานได้รับเชิญจากพระ ผู้ใหญ่ในประเทศศวรีลังกาผู้ดูแลและบริหารโรงพยาบาล โรงเรียนเพื่อ สงเคราะห์แก่เด็กและคนชรา Senehasa Hospital จึงเป็นแรงผลักดันการ สร้างสรรค์ผลงานในขณะที่เดินทางไปสักการะศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศศรีลังกา
ในแต่ละครั้งในการเดินทาง ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้มีการบันทึก ภาพโดยกล้องดิจิตอล Nikon D3100 และใช้เทคนิคตกแต่งภาพใน คอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Photoshop และอัดขยาย
กล้องถ่ายภาพ Nikon D3100 เลนส์ Nikon DX AF-S NIKKOR 18-55 mm 1:3.5-5.6 G ตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Photoshop 5.5
ในการสร้างสรรค์ผลงาน การถ่ายภาพโดยไม่ใช้แฟลชแม้ในที่ที่มีแสง น้อยเพื่อต้องการอารมณ์ของแสดงที่แสดงเรื่องราว ตามธรรมชาติ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกที่แท้จริงและ มุมมองของช่างภาพ และตกแต่งภาพโดยใช้โปรแกรม ตกแต่งภาพ Photoshop 5.5 บนเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh โดยปรับน้ำหนักของภาพ ปรับสีของ โทนภาพให้สดใส
15 x 21 นิ้ว
ในการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านมุมมองทางศิลปะการถ่ายภาพ นั้นได้เกิดองค์ความรู้ทางการสื่อสารทาง พระพุทธศาสนาจากศรัทธาของชาวพุทธที่เป็นแรงผลักดันในการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายหรือผลงานทางศิลปะ โดยเนื้อแท้ของ ความศรัทธาเป็นบทตั้งต้นผ่านการกระทำทางพิธีกรรม และในพิธีกรรมเหล่านั้นยังเป็นการปฏิบัติบูชา และนำมาซึ่งการขัดเกลา กิเลส การยึดมั่นถือมั่นในตัวตนซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนามุ่งเน้นเพื่อการพ้นทุกข์ การถ่ายทอดมุมมองเหล่านั้นจะไม่สามารถ เกิดขึ้นได้จากการเตรียมการต่าง ๆ เพื่อความสมบูรณ์ของภาพเหมือนการถ่ายภาพนิ่ง ภาพโฆษณา ซึ่งผู้ชมจะสามารถรับร้คู วาม รู้สึกถึงความสมบูรณ์ของภาพเหล่านั้นซึ่งเกินจากความเป็นจริง เพราะประสบการณ์ของทุกคนนั้นสัมผัสอยู่กับสิ่งที่สะอาดบ้าง ขุ่นมัวบ้าง สดใสบ้าง เป็นธรรมชาติของจิตที่รับรู้สภาวะแวดล้อมเป็นพื้นฐานการรับรู้ตั้งแต่ประสาทสัมผัสของมนุษย์เริ่มทำงาน ดังนั้นการถ่ายภาพทางพระพุทธศาสนาครั้งนี้ จึงเป็นภาพถ่ายที่ไม่ต้องการจัดเตรียมความพร้อม ความสมูรณ์ขององค์ประกอบ ภาพต่างๆ แต่เพื่อความดึงดูดความน่าสนใจตามหลักทฤษฎีการถ่ายภาพ และการพิมพ์ จึงใช้การตกแต่งภาพเพื่อเน้นอารมณ์และ ความน่าสนใจด้วยสี น้ำหนัก และจุดสนใจของภาพเป็นหลัก
• วิไลรัตน์ ยังรอด, ดูรู้พุทธประวัติ. กรุงเทพมหานคร:มิวเซียมเพลส, ๒๕๕๒.
• ลังกากุมาร, ตามรอยพระอุบาลีไปฟ้นื ฟูพระศาสนาที่ลังกา. กรุงเทพมหานคร:สาละ, ๒๕๕๒.
• Pratapaditya Pal. Light of Asia: Buddha Sakyamuni in Asian Art Los Angeles County Museum of Art, 1984.
• Conze, Edward, Buddhism: Its Essence and Development. New York : Harper Torchbooks, 1975.