พื้นที่ว่างระหว่างตัวบ่งชี้ทางวัฒนธรรมกับวัตถุ

อาจารย์ ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์
Taweesak Molsawat

ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

การสร้างทัศนคติและกรอบทางความคิดเพื่อผลกำไรทางสุนทรียภาพ เป็นกลไกสำคัญของการดำเนินธุรกิจในระบบทุนนิยม ซึ่งมีผลต่อข้อจำกัดของปรัชญาการออกแบบและอิสระของสุนทรียภาพทางศิลปะ การจัดการการผลิตและการลดต้นทุนให้มากที่สุด เพื่อผลกำไรสูงสุด ก่อให้เกิดข้อจำกัดทางความคิดในการกำหนดคำจำกัดความ รูปแบบและประเภทของเครื่องประดับ รวมทั้งเกณฑ์ มาตรฐานสินค้าก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองที่ไม่จำเป็นในเชิงศิลปะ

อุตสาหกรรมเครื่องประดับในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่เรียบง่าย ร่วมกับการใช้วัสดุที่ มีค่าและการมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างตราสินค้าและวัฒนธรรมของตราสินค้า โดยกำ หนดกรอบ รูปแบบ มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญญะของความเป็นเครื่องประดับสำหรับการบริโภค ตามแนวคิดของนักภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างชาวสวิสชื่อ แฟร์ดิน็อง เดอ โซซู (Ferdinand de Saussure) ที่กล่าวว่าภาษาคือระบบของสัญญะที่ประกอบด้วย “รูปสัญญะ” (Signifier) และ“ความหมายสัญญะ” (Signified) ความสัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะกับความหมายสัญญะเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดขึ้นโดยระบบภาษา (arbitrary) ไม่ได้เป็นไปโดย ธรรมชาติ (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2554: 29)

อุตสาหกรรมเครื่องประดับสร้างกรอบความคิดเชิงโครงสร้างรวมทั้งคุณสมบัติของความเป็นเครื่องประดับไว้อย่างเข้มงวด มีผลต่อการรับรู้และยอมรับของสาธารณะ ตัวอย่างเช่น ในพจนานุกรม Merriam-Webster ให้คำจำกัดความของเครื่องประดับคือ วัตถุ สำหรับประดับตกแต่งทำมาจากโลหะและอัญมณีมีค่าโดยการสวมใส่บนร่างกาย ได้แก่ แหวน สร้อยคอ และต่างหู (Merriam-Webster, 2014) รวมทั้งการกำหนดรูปแบบและประเภทของเครื่องประดับ เช่น ความหมายของแหวนโดยพจนานุกรม Merriam-Webster ให้คำจำกัดความว่าแหวน คือ วงกลมเล็กๆที่ปกติทำจากโลหะมีค่าสำหรับสวมใส่บนนิ้ว (Merriam-Webster, 2014)

ผลงานชุดนี้ ถูกสร้างขึ้นเพื่อท้าทายโครงสร้างการรับรู้เดิมของ สาธารณะเพื่อขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ในเชิงศิลปะของเครื่อง ประดับ ให้เห็นว่าเครื่องประดับไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญต่อ ประโยชน์ใช้สอย (Functional/utilitarian products) ดังนั้นศิลปินหรือนัก ออกแบบที่ทำงานเครื่องประดับจะต่างจากนักออกแบบและ/หรือช่างฝีมือ ที่มุ่งเน้นสร้างผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญต่อประโยชน์ใช้สอย โดยคุณค่าของ ผลงานสร้างสรรค์เครื่องประดับอยู่ที่คุณภาพของการแสดงออกผ่านมุมมอง และความเป็นตัวตนของศิลปิน ที่ไม่จำกัดอยู่ในกรอบของประโยชน์ใช้สอย หรือความสามารถด้านเทคนิค (Elizabeth C. Hirschman, 1983: 46) งานสร้างสรรค์ชุดนี้ เป็นการสำรวจความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างอิสระ สุนทรียภาพทางศิลปะกับความเป็นไปได้ที่แตกต่างของเครื่องประดับ

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

1. ศึกษา วิเคราะห์ และสร้างสรรค์งานศิลปะเครื่องประดับ ในพื้นที่ ว่างของความเป็นไปได้ระหว่างรูปทรงและคำจำกัดความเดิม ของเครื่องประดับต้นทางกับรูปทรงใหม่ของผลงานสร้างสรรค์

2. ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความสัมพันธ์ใหม่ระหว่าง สุนทรียภาพร่วมสมัยทางศิลปะกับความเป็นไปได้ของเครื่อง ประดับ

3. ศึกษาบทบาทและประโยชน์ใหม่ทางวัฒนธรรม (New cultural function) ของเครื่องประดับในฐานะตัวกระตุ้นการ เปลี่ยนแปลงพื้นที่และกรอบความคิดสำหรับการตั้งคำถาม ปลายเปิด ในมิติ สุนทรียะ อิสระทางความคิดและมาตรฐาน ทางอุตสาหกรรม

แนวความคิด

ผลงานชุดนี้นำเสนอทวิภาวะของความตึงเครียดและความยืดหยุ่น ระหว่างชุดความคิดเดิมของเครื่องประดับต้นทางกับชุดความคิดใหม่ และระหว่างรูปทรงของเครื่องประดับต้นทางกับรูปทรงของผลงานที่ได้ โดยการรื้อสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์เชื่อมโยงเดิมของสิ่งที่คุ้น เคยและเข้าใจ ประกอบสร้างขึ้นในบริบทใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดพื้นที่ว่าง ทางความคิดและคำถามปลายเปิด เกี่ยวกับการยึดครองและควบคุมจาก อิทธิพลทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมและการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ที่มีผลต่อทิศทางและกรอบจำกัดการสร้างสรรค์เครื่องประดับทั้งในมิติ คำ จำกัดความ มาตราฐานทางอุตสาหกรรม สุนทรียะและอิสระทางความคิด

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน

กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน “พื้นที่ว่างระหว่างตัวบ่งชี้ทางวัฒนธรรม กับวัตถุ” มี 5 ขั้นตอนดังนี้

1. การรวบรวมและศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร

ผู้วิจัย (ศิลปิน) ดำเนินการรวบรวมและศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร จากบทความ หนังสือและอินเทอร์เน็ต ที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2554) แนะนำความคิดของนักคิดชาว ฝรั่งเศส 6 คนในสกุลความคิดที่เรียกว่า “หลังโครงสร้างนิยม (Poststructalism)” ได้แก่ ฌาคส์ แดร์ริดา (Jacques Derrida: 1930-2004) ฌาคส์ ลากอง (Jacques Lacan: 1901-1981) มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault: 1926-1984) ฌ็อง-ฟร็องซัวส์ ลีโยตาร์ด (Jean-Francois Lyotard: 1924-1998) ชีลส์ เดอเลิซ (Gilles Deleuze: 1925-1995) กับ เฟลิกส์ กัตตารี (Felix Guattari: 1930-1992)

“หลังโครงสร้างนิยม (Poststructalism)” เป็นสกุลความคิด หนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อโลกวิชาการทั้งทางด้านมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ รวมทั้งวิชาการการใช้ภาษาอังกฤษ เนื่องจากรูปแบบการ วิเคราะห์ที่มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การตั้งข้อระแวงสงสัยอย่างถอนรากถอน โคนกับมโนทัศน์หลัก ๆ ที่ได้การยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นมโนทัศน์เรื่องความ หมาย การเป็นตัวแทน การรับรู้ เจตนา หรือเอกลักษณ์/ตัวตน เป็นต้น โดยผู้วิจัยจะให้ความสำคัญต่อแนวคิดของฌาคส์ แดร์ริดา ซึ่งมีอิทธิพล ต่อวรรณคดีวิจารณ์ (literary criticism) ด้วยวิธีการอ่านตัวบทที่เรียกว่า “การรื้อสร้าง (deconstruction)” ที่เน้นการอ่านที่หารอยปริ รอยแยก ของตัวบทมากกว่าการอ่านเอาเรื่อง ซึ่งต้องไปให้ไกลกว่าสัญญะ ในฐานะ ที่เป็นสัญญะมันสามารถสร้างความหมายใหม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้จบ

รองศาสตราจารย์นภาลัย สุวรรณธาดา (2554) อธิบายคำว่า ปฏิทรรศน์ (ความย้อนแย้ง) เป็นศัพท์บัญญัติของคำว่า paradox ซึ่ง ในพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ – ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ ความหมายว่า สภาวะอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเมื่อข้อสรุปที่ได้จากการนิรนัย (deduction) อันสมเหตุสมผล ขัดแย้งกับข้อความบางข้อความที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่าถูกต้อง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดความฉงน โดยผู้วิจัยจะ ให้ความสำคัญต่อแนวคิดในการสร้างผลงานอยู่บนพื้นฐานของความย้อน แย้งนี้ ในกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงพื้นที่และกรอบความคิด ในมิติของคำ จำกัดความ สุนทรียะ อิสระทางความคิดและมาตรฐานทางอุตสาหกรรม

กล่าวโดยสรุป ผู้วิจัยให้ความสำคัญต่อแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม โดยเฉพาะวิธีการอ่านตัวบทที่เรียกว่า “การรื้อสร้าง (deconstruction)” เป็นวิธีการที่ให้ความสำคัญต่อการอ่านเพื่อหารอยปริ รอยแยก ของตัวบท มากกว่าการอ่านเอาเรื่อง โดยรอยปริและ/หรือรอยแยกที่อ้างอิงคือพื้นที่ ว่างทางมโนคติในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ เพื่อก่อให้เกิดความเป็นไป ได้ในการสร้างการรับรู้ใหม่ และความหมายใหม่ให้เกิดต่อสัญญะเดิม

empty-space-02

2. การสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่อง ประดับต้นทาง

ผู้วิจัยเดินทางเก็บรวมรวมข้อมูลและเครื่อง ประดับต้นทาง ณ โรงหล่อโลหะเครื่องประดับ ถนน พระรามสอง กรุงเทพฯ

3. การวิเคราะห์และสรุปผลของการวิเคราะห์ จากข้อมูลประเด็นปัญหาสำคัญของกรอบความคิด ที่จำกัดของอุตสาหกรรมเครื่องประดับ ทั้งคำจำกัด ความ การแบ่งประเภท และมาตรฐานการผลิตใน ระบบอุตสาหกรรมเครื่องประดับที่ปรากฏในปัจจุบัน ทำให้ผู้วิจัยสรุปแนวทางของโครงงานวิจัยสร้างสรรค์ นี้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยให้ความสำคัญต่อความ เป็นไปได้ใหม่ทางศิลปะ ที่อยู่ระหว่างรูปสัญญะและ ความหมายสัญญะที่กำหนดขึ้นโดยอุตสาหกรรม เครื่องประดับและสังคมกับความเป็นไปได้ใหม่ของ เครื่องประดับโดยการจัดการทางศิลปะ

4. การออกแบบ ผู้วิจัยสรุปคำสำคัญในการออกแบบ (Key word of Design) สำหรับผลงานชุดนี้คือ “ปฏิทรรศน์ หรือความย้อนแย้ง (Paradox)” เพื่อก่อให้เกิดทวิ ภาวะของความตึงเครียดและความยืดหยุ่นระหว่าง ชุดความคิดเดิมของเครื่องประดับต้นทาง (แหวน)

กับชุดความคิดใหม่และระหว่างรูปทรงของเครื่องประดับต้นทางกับรูป ทรงของผลงานที่ได้ (เข็มกลัด กำไลข้อมือและสร้อยคอ) โดยการรื้อสร้าง ประสบการณ์และความสัมพันธ์เชื่อมโยงเดิมของเครื่องประดับแหวน (สิ่ง ที่คุ้นเคยและเข้าใจ) ประกอบสร้างขึ้นในรูปแบบเข็มกลัด กำไลข้อมือและ สร้อยคอ (บริบทใหม่) บนพื้นที่ใหม่บนร่างกาย กระตุ้นให้เกิดคำถามปลาย เปิดทางมโนคติ ในมิติของ คำจำกัดความ สุนทรียะ อิสระทางความคิด และมาตรฐานทางอุตสาหกรรมของเครื่องประดับ รวมทั้งก่อให้เกิดบท สนทนาระหว่างมุมมองของผู้วิจัย ชิ้นงานและผู้พบเห็น

กลยุทธ์ในออกแบบ คือ “การรื้อสร้าง (Deconstruction / Reconstruction)” ทั้งทางด้านกายภาพและมโนคติ ก่อให้เกิดความเป็นไป ได้ใหม่ทางศิลปะที่อยู่ระหว่างรูปสัญญะและความหมายสัญญะ(พื้นที่ว่าง ทางมโนคติ) ที่กำหนดขึ้นโดยอุตสาหกรรมเครื่องประดับและสังคมกับ ความเป็นไปได้ใหม่ของเครื่องประดับ(วัตถุ) โดยการจัดการทางศิลปะ กล่าวคือเป็นการการรื้อและแยกความคิด ความหมาย รูปทรงของสิ่งที่ คุ้นเคยในที่นี้คือ เครื่องประดับแหวน จากนั้นจัดองค์ประกอบเข้าด้วย กันใหม่โดยยังทิ้งร่องรอยของวัตถุต้นทาง ผสมผสานกับกลยุทธ์ทางศิลปะ “แอ็บโพรพริเอชัน (Appropriation)” คือการสร้างงานใหม่โดยนำเอา “ภาพ” หรือ “วัตถุ”และ/หรือ “ภาพลักษณ์” ที่มีมาก่อนอยู่แล้วในบริบท อื่น (แหวน) ประกอบสร้างใหม่และกำหนดให้อยู่ในบริบทและพื้นที่ใหม่ บนร่างกาย (เข็มกลัด กำไลข้อมือและสร้อยคอ) โดยยังคงร่องรอยของ เครื่องประดับต้นทาง (แหวน) ก่อให้เกิดภาษาในการออกแบบใหม่ ที่มี แก่นจากความหมายเดิม หากแต่มีการปรับเปลี่ยนทั้งเนื้อหา ประโยชน์ บทบาทและบริบทของการนำเสนอ ก่อให้เกิดพื้นที่ว่างเพื่อสร้างบทสนทนา และคำถามสำ หรับผู้สวมใส่และผู้พบเห็น ในการเข้า มาเติม เต็ม พื้นที่ว่างนี้

ผลที่ได้รับคือผลงานเครื่องประดับที่ท้าทายโครงสร้างการรับรู้ เดิมของสาธารณะในการขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ในเชิงศิลปะ ของเครื่องประดับ ทั้งในมิติคำจำกัดความ มาตราฐานทางอุตสาหกรรม สุนทรียะและอิสระทางความคิด

วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

ผู้วิจัยเลือกใช้วัสดุภายใต้กรอบการตั้งคำถามเกี่ยวกับคำจำกัด ความ ขอบเขตและข้อจำกัดของอุตสาหกรรมเครื่องประดับ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งรูปแบบและมาตรฐานการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ดังนั้น วัสดุหลักจึงเป็นเครื่องประดับทองเหลือง (แหวน) ที่ถูกคัดทิ้งจากโรง หล่ออุตสาหกรรม (ภาพที่ 1) โดยเครื่องประดับต้นทางที่ไม่สมบูรณ์ (ใน มาตรฐานของอุตสาหกรรม) เป็นทั้งวัตถุและวัสดุต้นทางในการปรับเปลี่ยน และนำไปสู่แนวคิดของ “การย้อนแย้ง” และกระบวนการ “รื้อสร้าง” ทั้งรูปทรงทางกายภาพและมโนคติ รวมทั้งการนำไปสู่จัดการทางศิลปะ และการจัดวางบนร่างกายในบริบทและประเภทใหม่ของเครื่องประดับ (เข็มกลัด กำไลข้อมือและสร้อยคอ) ที่แตกต่างจากการรับรู้เดิมของวัตถุ ต้นทาง (แหวน)

เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

เทคนิคและขั้นตอนในการสร้างชิ้นงานสร้างสรรค์มีดังนี้ การตัด ได้แก่ การเลื่อย การตะไบและการขัดกระดาษทราย การขึ้นรูป ได้แก่ การเคาะ การเชื่อมน้ำประสาน การทำสี ได้แก่ การพ่นสี

empty-space-03

empty-space-04

empty-space-05

empty-space-06

เอกสารอ้างอิง

• ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). แนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมมุติ.
• Hirschman, Elizabeth C. (1983). Aesthetic, Ideologies and the Limits of the Marketing Concept. เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2557. เข้าถึงได้จาก http://web.cerhum.es/wp-content/uploads/2010/12/paper1.pdf.
• นภาลัย สุวรรณธาดา. (2554). หรรษาภาษาไทย. เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2557. เข้าถึงได้จาก HYPERLINK “http://anchan.lib.ku.ac.th/kukr/bitstream/003/20983/1/ปฏิทรรศน์.docx” http://anchan.lib.ku.ac.th/kukr/bitstream/003/20983/1/ปฏิทรรศน์.docx.
• Merriam-webster dictionary. (2014). Jewelry. เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2557. เข้าถึงได้จาก http://www.merriam-webster.com/dictionary/jewelry.
• Merriam-webster dictionary. (2014). Ring. เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2557. เข้าถึงได้จาก http://www.merriam-webster.com/dictionary/ring.