ผี พราหมณ์ พุทธ : วัฒนธรรมประดับได้ หมายเลข 0

Spirit, Brahmanism and Buddhism: Cultures of Adornment Number 0

ดร. วรรณวิภา สุเนต์ตา
Vanvipha Suneta (Ph.d.)

ที่มา และความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

“เครื่องราง” หรือ “เครื่องประดับ” เกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันกับ ธรรมชาติ เป็นการจัดการกับ “สิ่งที่ไม่รู้” ให้กลายเป็น “สิ่งเหนือธรรมชาติ” ด้วยวัตถุที่มีผลต่อความเชื่อในด้านการปกป้องคุ้มครอง และสร้างระบบที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต อันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์เพื่อการรักษาเผ่าพันธุ์

ความกลัวต่อสิ่งเหนือธรรมชาติเหล่านี้เป็นที่มาของคติการนับถือ “ผี” ตามความเชื่อดั้งเดิมที่พัฒนาจากการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวตนและจิตใจ และเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องผู้ปกป้องคุ้มครอง บรรพบุรุษ และการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน

ต่อมาเมื่อศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเผยแพร่เข้ามา พร้อมกับคติการสร้างรูปเคารพและวัตถุมงคล เปลี่ยนแปลง ทัศนคติในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ไปสู่ระบบระเบียบของความดีงาม โดยเน้นการบูชาเพื่อการปกป้องคุ้มครองและสร้างความเป็น ศิริมงคล ทั้งต่อพื้นที่ในอุดมคติ พื้นที่ทางกายภาพ และพื้นที่บนร่างกายมนุษย์

งานสร้างสรรค์นี้เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยเรื่อง “ผี พราหมณ์ พุทธ: วัฒนธรรมประดับได้” ซึ่งนำเสนอแนวคิดเรื่องเครื่องราง และเครื่องประดับ อันมีพื้นฐานจากคติความเชื่อที่หล่อหลอมให้เกิดอารยธรรมไทย โดยแสดงออกผ่านเครื่องประดับที่เชื่อมโยงแนวคิด เรื่องพิธีกรรมและวัตถุ ตลอดจนสร้างองค์ความรู้อันสัมพันธ์กับความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ขับเคลื่อนด้วยความเชื่อและศาสนา รวม ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกาลเวลา และวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมร่วมสมัย

ความหมายของเครื่องรางหรือเครื่องประดับในแง่มุมหนึ่ง ยังสะท้อนการเชื่อมโยงร่างกายกับสัญชาตญาณ เป็นพื้นฐานของ การสักการะร่างกายและความรู้สึกตามธรรมชาติ โดยการแสดงสภาวะของขนาด ปริมาณ และรูปร่างที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อสื่อสาร ความกลัว ความทุกข์ และความเชื่อที่เกิดขึ้นภายในจิตใจมนุษย์

หลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าเครื่องรางหรือเครื่องประดับ ของมนุษย์โบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือกำเนิดขึ้นจากรูปร่างรูปทรง ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ ทั้งการจำลองรูปร่างของสัตว์และการใช้องค์ประกอบ ของสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของการประดับ เพื่อสร้างสถานะและความหมาย แก่วัตถุ และสื่อสารระหว่างกลุ่มคนในชุมชนหนึ่งไปสู่ชุมชนอื่น ๆ

ชิ้นส่วนที่ได้จากสัตว์ตามธรรมชาติเช่น เขา หนัง กระดูก และ ขนสัตว์ เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อความหมายที่เฉพาะเจาะจง โดยเฉพาะ ขนนกเป็นหนึ่งในลักษณะพิเศษตามธรรมชาติของสัตว์ที่ถูกนำมาประดับ ตกแต่งและสักการะบูชาร่างกายมนุษย์ ที่มักพบในความเชื่อของอารยธรรม โบราณต่าง ๆ ทั่วโลก

การสร้างความหมายให้กับวัตถุยังรวมถึงความเชื่อที่ว่า วัตถุ และปรากฏการณ์ตามธรรมชาติล้วนมีจิตวิญญาณที่ฝังแน่นครอบครอง อยู่ แนวคิดนี้สอดคล้องกับการศึกษาของนักมานุษยวิทยาในช่วงคริสต์ ศตวรรษที่ 19 ที่กล่าวถึงความเชื่อในการให้คุณค่าแก่วัตถุและสิ่งแวดล้อม (Animism) อันเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในอารยธรรม โบราณ ความเชื่อเหล่านี้ยังสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ยังคงพบในมนุษย์ ปัจจุบัน ซึ่งผลักดันให้มนุษย์เดินทางไกล การเดินวนรอบเพื่อสักการะ บูชา การขุดเข้าไปในถ้ำหรือการปีนขึ้นยอดเขา เพื่อแสวงหาความหมาย บางประการเกี่ยวกับจิตใจภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก

สถานะของวัตถุและการสร้างความหมายเฉพาะเจาะจง ตลอด จนพฤติกรรมตามสัญชาตญาณของมนุษย์ในอดีต จึงมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมและถิ่นที่อยู่อาศัย ตลอดจนพืชและสัตว์รอบตัว ดังนั้นรูปทรงของวัตถุที่มองเห็น ย่อมมีผลต่อมนุษย์ในแง่มุมที่แตกต่าง กัน เสมือนเป็นการสื่อสารคุณสมบัติของวัตถุนั้น ลักษณะเช่นนี้ปรากฏใน แนวคิดเรื่องการแทนค่า เช่นการให้ปรากฏการณ์แสงสว่างของพระอาทิตย์ เป็นตัวแทนความศักดิ์สิทธิ์ การส่งความหมายของหินและแร่ธาตุใน รูปพลังงานบางอย่าง เช่นเดียวกับพืชและสัตว์ที่มีจิตวิญญาณ อันเป็น ตัวแทนของชีวิตที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้มนุษย์เรียนรู้วงจรชีวิต ของพืชและสัตว์ และให้คุณค่าแก่สิ่งเหล่านั้นเพื่อเลี้ยงชีวิตตนเองโดยการ สักการะผีเมื่อมีการเปลี่ยนผ่านตามฤดูกาล

อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดเช่นนี้ยังคงสืบทอดมาสู่มนุษย์ในปัจจุบัน ภายใต้บริบททางสังคมที่ปรับเปลี่ยน และมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น มนุษย์ปัจจุบันมีทัศนคติที่โน้มเอียงในการมองวัตถุที่เนื้อหา ในกรอบคิด เรื่องการจำแนก แบ่งแยกประเภท โดยสิ่งหนึ่งจะต้องเชื่อมโยงกับอีกสิ่ง หนึ่งเสมอ มองความงามในกรอบของสุนทรียะ และมองมูลค่าในกรอบ คิดแบบเศรษฐศาสตร์ตามแบบแผนการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

แง่มุมของการมองวัตถุเหล่านี้ ปรากฏในผลงานของศิลปิน อาทิ ภาพถ่ายขาวดำที่มีพลังของแมคกลี (Alan McGee) (ภาพที่ 1- 2) สะท้อนความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า วัตถุทุกสิ่งล้วนมีจิตวิญญาณ เป็นการสร้าง ให้เกิดความหมายบางประการที่แตกต่างจากวัตถุที่มนุษย์คุ้นเคยกันโดย ทั่วไป เช่นเดียวกับผลงานเครื่องประดับและประติมากรรมของเซกิมาชิ (Kay Sekimachi) (ภาพที่ 3-4) สร้างสรรค์รูปทรงจากวัสดุธรรมชาติให้ เกิดความหมายเฉพาะ และสื่อสารพลังงานที่แฝงอยู่ในพืชและสัตว์

ทั้งนี้ความสัมพันธ์ของวัตถุและความ เชื่อในจิตใจมนุษย์มิได้เปลี่ยนแปลงไปมาก นักจากอดีต เห็นได้จากสถานะและรูปแบบ ของเครื่องรางและเครื่องประดับ ซึ่งอธิบาย ปรากฏการณ์ทางความเชื่อที่หลากหลายใน ปัจจุบัน โดยมีร่างกายเป็นตัวกลางสะท้อนความ ทรงจำและความคาดหวัง ที่ต่างเน้นย้ำว่า ความ กลัว ความทุกข์ และการอยู่รอด เป็นส่วนหนึ่ง ที่ฝังรากในจิตใจมนุษย์โดยยากจะคลี่คลาย

spirit-brahmanism-and-buddhism-02

spirit-brahmanism-and-buddhism-03

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

เพื่อสะท้อนความเป็นจริงตามธรรมชาติของเครื่องราง/เครื่องประดับจากรูปทรง ของพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์บริโภคและเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่ อดีต ภายใต้ระบบคิดทางวัฒนธรรมสมัยปัจจุบัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในงานวิจัยเรื่อง “ผี พราหมณ์ พุทธ: วัฒนธรรมประดับได้” ในการตีความสถานะของวัตถุตามธรรมชาติและ สัญลักษณ์ทางสังคมที่มีความเชื่อมโยงกัน

แนวความคิด

ผลงานสร้างสรรค์เครื่องราง/ เครื่องประดับและการจัดแสดงชุดนี้ ตั้งคำ ถามเรื่องรูปร่าง รูปทรงและการจัดองค์ประกอบของวัตถุที่ต่างไปจากการรับรู้โดยทั่วไป เป็นการผสมผสานสิ่งมีชีวิต ตามธรรมชาติกับสิ่งประดิษฐ์ สถานะของเครื่องราง/ เครื่องประดับ ถูกกำหนดภายใต้บริบทของ การจัดแสดงที่เสนอให้ผู้ชมมองวัตถุเหล่านี้ในแง่มุมของเนื้อหาที่ปรากฏในรูปร่างของวัตถุ เป็นการ ผสมผสานสิ่งที่คุ้นเคยเข้ากับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ตลอดจนปฏิสัมพันธ์กับร่างกายและความหมายของการ สักการะที่แฝงอยู่ในรูปของเครื่องประดับ

เส้นโลหะและการจัดแสดงบนจานเซรามิคสีขาวแสดงถึงวัฒนธรรมการบริโภคแบบสังคม ตะวันตก ที่ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นการสร้างระบบที่สำคัญบางประการอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตสมัย ใหม่ สาระสำคัญของผลงานเป็นการแสดงความเชื่ออันมีรากฐานมาจากธรรมชาติที่ให้ความอุดม สมบูรณ์และเป็นศิริมงคลต่อชีวิต อย่างไรก็ดีการสื่อถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติของวัสดุ และ ความขัดแย้งกับระบบสัดส่วนของรูปเรขาคณิต ยังสะท้อนถึงความต้องการพลังอำนาจและความ รบู้ างอย่างเพื่อควบคุมชีวิตตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสถานะของวัตถุขึ้นเพื่อตอบสนองความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์เอง

กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน

กรอบแนวคิด/ ทฤษฎี → เนื้อหา/ ความหมาย/→ การแทนค่า วัตถุ/ เครื่องราง/ เครื่องประดับ

ผี : ความกลัว ความทุกข์ ความเชื่อ สัญชาตญาณ ความรู้สึกภายในจิตใจ
มนุษย์กับวัตถุ : การครอบครอง การสวมใส่ การแสดงออก การตอบสนองทางด้านจิตใจ
วัฒนธรรมสมัยปัจจุบัน : องค์ความรู้ของการจัดระบบ การแยกประเภท การตีความ การควบคุมธรรมชาติและจิตใจ

วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์งาน

ลวดโลหะ ด้าย ชิ้นส่วนจากพืชและสัตว์

เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

การถัก การดัดโลหะ การตัดและการแล่ชิ้นส่วนจากพืชและสัตว์

ขนาดหรือความยาวของผลงานสร้างสรรค์

เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 นิ้ว

spirit-brahmanism-and-buddhism-04

spirit-brahmanism-and-buddhism-05

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

หรือผลลัพธ์ที่ได้จาก การสร้างสรรค์ ผลงานสร้างสรรค์และการจัดแสดงนี้เป็นแง่มุมหนึ่งของการอธิบาย ความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติ ภายใต้ระบบทางวัฒนธรรมอันมี ต้นแบบจากองค์ความรู้ของชาวตะวันตก ซึ่งถูกบ่มเพาะด้วยการรับรู้แบบ จำแนกประเภท การตีความและการหาความสัมพันธ์ของสิ่งหนึ่งเข้ากับ อีกสิ่งหนึ่ง อันเป็นกลไกการเรียนรู้และการพิจารณาความเป็นจริงทั้งสอง ด้านที่ปรากฏในวิถีชีวิตปัจจุบัน

อย่างไรก็ดีการกล่าวถึงธรรมชาติอันเป็นนามธรรมที่ได้รับการ เคารพสักการะจากมนุษย์มาตั้งแต่อดีต ถูกตัดออกจากบริบทดั้งเดิมเมื่อ นำมาจัดแสดงในพื้นที่ใหม่ เป็นสาระที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการแสดงออก ตลอดจนเป็นการตั้งข้อสังเกตเรื่องการสร้างความหมายและการตอบ สนองของมนุษย์ต่อวัตถุตามความเชื่อ

เอกสารอ้างอิง

• สุจิตต์ วงษ์เทศ, ชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ : มติชน, 2547.
• Franke A., “Animism : Notes on an Exhibition,” e-flux journal 36 (July 2012) : 1-22.
• Van Liere W., Excavating God Bangkok : Matichon Publishing House, 2004.
• ทัศน์ฐรสชง ศรีกุลกรณ์ และคณะ, งานวิจัยเรื่อง “ผี พราหมณ์ พุทธ: วัฒนธรรมประดับได้” ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากกองทุน วิจัย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, พ.ศ. 2557.
• สุจิตต์ วงษ์เทศ, ชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ (กรุงเทพฯ : มติชน, 2547), 84.
• Franke A., “Animism : Notes on an Exhibition,” e-flux journal 36 (July 2012) : 8-10.
• Van Liere W., Excavating God (Bangkok : Matichon Publishing House, 2004), 22.