รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ชมุนี
Assoc. Prof. Piroj Jamuni, Ph.D
ถ้าตั้งคำถามทางปรัชญาว่า คุณค่าของมนุษย์คนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเขาเป็นนักวิชาการหรือศิลปิน คำตอบของข้าพเจ้า คือ ทำการสร้างสรรค์หาความคิด หรือสร้างผลงานใหม่อยู่เสมอ ทำโดยไม่หยุดตลอดชีวิต
จากปัญหาข้างต้น จะต้องแปรรูปออมาเป็นงานทัศนศิลป์ให้ได้
ผลงานชื่อ “พีระมิดเชิงซ้อน” เป็นผลงานที่สร้างเพื่อหาจุดพบกันระหว่างจิตรกรรม กับประติมากรรม ศิลปินได้นำโครงไม้มา ทำเป็นกรอบรูปปิระมิดชนิดที่สร้างนี้ มองจากทุกด้าน คือ ด้านข้างทั้ง 3 และด้านฐานล้วนเป็นรูปสามเหลี่ยม ไม่ว่าจะมองจากด้านใด ในด้านทั้ง 4 จึงมีชื่อเฉพาะในวิชาเรขาคณิต 3 มิติว่า TETRAHEDRON
ปิระมิดแต่ละอัน เป็นสัญลักษณ์ของความเพียรพยายามจนบรรลุความสำเร็จ ฐานคือพื้นความรู้ สามเหลี่ยมอีกสามด้าน คือ การใช้สติปัญญา ความเพียร และอดทนจนทำได้สำเร็จ
ในชีวิตของคนเราเริ่มจากปิระมิดแท่งแรก และอีกหลายแท่ง เช่น การที่เด็กคนหนึ่งจากจังหวัดเล็ก ๆ ใช้ความขยันอดทนจน สอบได้ที่ 1 ในชั้นประถมปลาย ต่อมาได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดที่ใหญ่กว่า สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ และในที่สุดได้เป็น ศิลปิน สถาปนิก หรือนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของประเทศ
ความสำเร็จของงาน ๆ หนึ่ง เปรียบเสมือนการรวมเอาปิระมิดเล็ก ๆ หลายอัน ความสำเร็จของคนหลายคนรวมเป็นความ สำเร็จของสถาบัน และประเทศชาติ
ในแต่ละด้านของปิระมิด จิตรกรเขียนภาพดวงอาทิตย์ เมฆ คลื่น เส้นตรง และโค้งที่ชี้ไปในทิศทางต่างกันทั้งหมดนี้ เป็น สัญญลักษณ์ของวิถีธรรมชาติ คนฉลาดย่อมรู้จักดำเนินชีวิต ให้สอดคล้องกับวิถีดังกล่าว
ผลงานได้แรงบันดาลใจ ได้มาจากผลงานสื่อผสม “เครื่องรวบรวมข้อมูล” ที่ศิลปินนำออกแสดงในงาน “เสน่ห์ไทย ช่างเป็น ไปได้” โดยเลือกหาวัสดุและเทคนิคที่สามารถสร้างได้ง่าย ใช้เวลาน้อย จึงเลือกท่อนไม้ยาวเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0-1.5 ซ.ม. นำ มาผูกมัดรวมกัน มีส่วนประกอบอื่น คือ ลวดและกระดาษ
ต้องการสร้างงานทัศนศิลป์ 3 มิติที่เป็นจุดพบกันระหว่าง ประติมากรรม จิตรกรรม และวาดเส้น
ผลงานชิ้นนี้สามารถจะดูเป็นประติมากรรม สื่อผสม หรือจะ ดูเป็นหุ่นจำลองของโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่ดูซับซ้อน แปลกตา รูปร่างเหมือนตึกทรงพิรามิด
1. ทำสเก็ตซ์ จนเห็นรูปร่างโครงสร้างชัดเจน
2. เริ่มทำโครงสร้าง 3 มิติ ใช้ไม่ไผ่ ผูกด้วยลวดหรือเชื่อก
3. เพื่มส่วนประกอบที่เล็กกว่า คือ กระดาษ 100 ปอนด์ ทำเป็นรูป พริ ามิดเล็ก ๆ แตล่ ะดา้ นมีลวดลาย ภาพเขยี นหรือวาดเสน้ ลงบน กระดาษ ซึ่งแต่ละหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม
ไม้ ลวด และเชือก เพื่อทำตัวโครง กระดาษแข็ง และกระดาษ 100 ปอนด์ ทำเป็นรูปพิรามิด แต่ละด้านมีภาพวาดเส้น หรืองานจิตรกรรมเล็ก ๆ เพื่อ สร้างรายละเอียด
ไม้ผูกด้วยลวดและเชือกเพื่อสร้างโครงประติมากรรม รายละเอียดจิตรกรรม สีอะครีลิคและงานวาดเส้นด้วยสีไม้ หมึกสี และ Oil Pastel
1.0 x1.0x1.2 เมตร
ผลงานนี้เป็นตัวอย่างของวิธีฝึกประลองความคิด โดยศิลปินตั้ง โจทย์ว่า คุณค่าของนักวิชาการ หรือศิลปิน อยู่ที่การไม่หยุดนิ่ง ลุ่มหลง กับปริญญาหรือรางวัลที่ตนได้รับในอดีต แต่พัฒนาความคิดหรือสร้างผล งานต่อไปเรื่อย ๆ หลักการนี้ถูกแปรจากข้อความมาเป็นงานศิลปกรรมที่มี เนื้อหาเป็นสัญลักษณ์ เตือนสติผู้ชมไม่ให้หยุดพัฒนาความคิดสร้างสรรค์