ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภากร สุคนธมณี
Asst. Prof. Prapakorn Sukonthamanee
“งานปัก” นับได้ว่าเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างสรรค์งานสิ่งทออีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งการปักผ้าด้วยมือนั้นอาจเป็นเรื่องง่าย แต่การ ปักผ้าเพื่อสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะนั้นมิใช่เรื่องง่ายเลย ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นผ่านกระบวนการปักผ้าเพื่อเป็นงานศิลปะ มีจุดเริ่มต้น จากภาพร่างด้วยดินสอเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ด้วยทิศทางของลาย เส้นดินสอที่ต้องการนำเสนอผ่านงานปักที่ไม่ใช้ลายปักแบบพื้นฐาน หรือลายปักแบบแม่บท ในลักษณะของการปักให้เป็นปุ่มเป็นปมหรือ เป็นลวดลายดอกไม้ ใบไม้ แบบงานปักลวดลายทั่วไป และใช้วิธีการปักด้วยการด้นถอยหลัง การเนา การทำคัทเวิร์คหรือรังดุม การปัก ลูกโซ่ การปักไขว้ เป็นต้น
ดังนั้น การประยุกต์และนำเสนอการปักเพื่อเป็นผลงานสร้างสรรค์นี้ ต้องการนำเสนอในรูปแบบของการสร้างมิติ แสง – เงา จากเส้นด้ายแทนการใช้พู่กันจุ่มสีแล้วนำมาป้ายลงบนผืนผ้าไม่ได้เน้นที่เทคนิคการปักผ้าแต่อย่างใด ในการนี้ จึงนำเสนอเพียงการปักแบบ ด้นถอยหลังอย่างเดียว ด้วยความเรียบง่ายของเส้นปักที่เป็นเส้นตรง เส้นเฉียง แต่ได้สร้างความพิเศษบนลวดลายที่พิเศษ อย่างไรก็ตาม การนำเสนองานสร้างสรรค์ด้วยการปักจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความต้องการสร้างเอกลักษณ์ใหม่ของงานสิ่งทอที่สามารถสร้างสรรค์ผล งานออกมาได้เฉกเช่นเดียวกับงานจิตรกรรม เป็นเสมือนการแทนค่าของการวาดระบายสีในงานจิตรกรรม (Paint) ลงบนผืนผ้า แตกต่าง เพียงการเปลี่ยนจากพู่กันจุ่มสีเป็น เข็มที่ร้อยเส้น ด้ายในการสร้างลวดลายและสีสันรวมถึง การสร้างพื้นผิว ให้กับชิ้น งานการเพ้นท์ที่ทับ ซ้อน การปาดพู่กันแต่ง แต้มลงบนผืน ผ้า มิต่างอะไรกับ การใช้เข็ม ร้อยเส้น ด้ายแต่ละเส้นปักทับซ้อนกันลงไป เพิ่มน้ำหนักด้วยด้ายสีเข้มขึ้นตาม น้ำหนักของภาพร่าง การแทรกสีของเส้นด้ายที่ดูคล้ายการแต้มสีลงไปนั้น ทำให้ชิ้นงานดูมีมิติมากยิ่งขึ้น
ผลจากการสร้างสรรค์งานปักผ้าด้วยมือบนสะดึงจากเทคนิคผ้าปักธรรมดา ปรับเปลี่ยนให้ออกมาในรูปแบบของผ้าปักเชิง ศิลปกรรม เป็นงานศิลปะที่มีการถ่ายทอด การสร้างเรื่องราว และลวดลายที่เป็นความพิเศษให้ยิ่งมีความพิเศษด้วยการสร้างสรรค์ที่ แตกต่างไปจากเดิม กลายเป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะบนผืนผ้า ที่เรียกว่า “ศิลปะภาพปัก” ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ตัวอย่างภาพพระบรมสาทิสลักษณ์
ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากปลายพู่กันของ ศิลปินที่ต่างกัน มีลักษณะของการทิ้งร่อยรอยของพู่กันที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปินแต่ละ ท่านส่งผลให้อารมณ์ความรู้สึกของผลงานต่างกันออกไปด้วย
1. เพี่อพัฒนารูปแบบและเทคนิคของงานปักให้มีความร่วมสมัยตามสภาพสังคมและยุค สมัยปัจจุบัน
2. เพื่อพัฒนาการสร้างสรรค์ลวดลายบนงานปักให้มีความหลากหลายในรูปแบบของงาน ศิลปะสิ่งทอศิลปะประยุกต์สู่ลวดลายใหม่
3. เพื่อพัฒนาความรู้และความเข้าใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะผ่านกระบวนการปักมือ
4. เพื่อศึกษาและทดลองเทคนิคของงานปักให้มีลักษณะคล้ายอารมณ์ของทีพู่กันในงาน จิตรกรรม
1. เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้กี่ยวกับงานปัก โดยการปฏิบัติงานปักจริง
2. หาเกณฑ์ความรู้ และแนวทางการสร้างสรรค์จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ เพื่อ ให้เกิดการถ่ายโอนและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน
3. กำหนดการสร้างลวดลายบนผืนผ้า เป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
“เหนืออื่นใดในหล้า คือองค์ราชันของชาวไทย”
การสร้างสรรค์ผลงานแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1. การร่างภาพด้วยดินสอดำ
2. การถ่ายทอดภาพร่างสู่การปักบนผืนผ้า โดยเริ่มกระบวนการ ดังนี้
1. การร่างภาพด้วยดินสอดำ เป็นการถ่ายทอดลายเส้นดินสอแบบทะแยงจากซ้ายลงมาขวา และ จากล่างสู่บน ลงบนกระดาษด้วยภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ขององค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช
2. การถ่ายทอดภาพร่างสู่การปักบนผืนผ้า มีขั้นตอน ดังนี้
2.1 การเลือกซื้ออุปกรณ์การปัก
2.1.1 กำหนดสีจากผลงานภาพร่างเพื่อนำไปเลือกเส้นด้ายเป็น โทนสีสำหรับการนำมาใช้ปัก
2.1.2 เลือกผ้าที่จะนำมาใช้ในการนี้เลือกใช้เป็นผ้ากำมะหยี่
2.1.3 เลือกสะดึงแบบกลมสำหรับเป็นกรอบในการขึงผ้าให้ตึง เพื่อสะดวกในการปัก
2.1.4 เลือกเข็มสำหรับปัก ขนาดของเส้นด้ายที่จะนำมาใช้ ปัก และความหนาของเนื้อผ้าจะเป็นตัวกำหนดขนาด ของเข็มปัก รูเข็มควรกว้างพอที่จะร้อยเส้นด้ายปักได้ พอดี เนื้อผ้าที่แน่นเหมาะที่จะใช้เข็มปลายแหลม
2.2 การปฏิบัติงาน
2.2.1 สวมกรอบสะดึงบนผืนผ้า ขึงให้ตึง พร้อมร่างแบบลงไป
2.2.2 เริ่มปักในส่วนของสีที่อ่อนที่สุดในชิ้นงานและปักซ้อน ทับขึ้นเรื่อยๆตามสำดับความเข้มอ่อนของสีด้ายนั้นๆ
2.2.3 ปักแทรกด้ายสีอ่อนลงบนด้ายสีเข้มคล้ายการแต้มสี ลงไปเพื่อเพิ่มมิติในชิ้นงานและผสานให้สีที่อยู่ใกล้กัน มีความกลมกลืนกันมากยิ่งขึ้น
1. ผ้า
2. ด้ายปัก
3. สะดึงปักผ้าขนาด 12 นิ้ว
4. เข็มปัก
5. กรรไกร
1. ได้งานปักผ้าด้วยมืออีกลักษณะหนึ่งซึ่งเป็นงานศิลปะประยุกต์
2. มีความเข้าใจที่เกิดจากการสร้างสรรค์งานศิลปะผ่านกระบวนการปักมือ เพิ่มมากยิ่งขึ้น
3. ได้เทคนิคของงานปักให้อารมณ์ความรู้สึกคล้ายกับการวาดจากปลาย พู่กันในงานจิตรกรรม
การปักด้วยมือบนสะดึง ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว
การปักงานสร้างสรรค์ครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งการทดลองทำการปักให้มี ลักษณะคล้ายอารมณ์ของภาพวาดจากปลายพู่กันในงานจิตรกรรม (Paint) อารมณ์ความรู้สึกที่ได้จากภาพปักด้วย เส้นด้ายที่ทับซ้อนกันเส้นต่อเส้นมีลักษณะคล้ายการวาดระบายสีจากปลายพู่กันแบบทิ้งทีแปรงให้เห็นชัดในงาน อีกทั้งยังสามารถควบคุมการปักให้มีความเสมือนภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่สุดด้วย
“การปักแบบไร้ทิศทาง” เป็นคำนิยามที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ครั้งนี้ งานปักที่อาศัยจังหวะและ ทิศทางของลายเส้นแบบปักด้นถอยหลังคือการปักที่ลงตัวมากที่สุด อาศัยจังหวะของเส้นและสีที่ทับซ้อนกันเกิดเป็น พื้นผิว (Texture) ของลักษณะของลายปักนั้น ๆ เช่น ส่วนของพระเกศา หรือส่วนของฉลองพระองค์ ก็มีทิศทาง การปักที่ต่างกัน เป็นต้น การควบคุมด้วยสีของเส้นด้ายที่ต้องการให้เกิดการไล่น้ำหนักเข้ม – อ่อน รวมถึงการปัก แทรกเส้นด้ายสีอ่อนลงบนพื้นที่ปักสีเข้มจึงเป็นการปักทับเพิ่มเติมบนชิ้นงาน เสมือนการแต่งแต้มให้ภาพเกิดมิติ ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การเลือกสีของเส้นด้ายที่จะนำมาปักเป็นส่วนสำคัญแรกของการสร้างสรรค์ การจัดเรียงสีเพื่อให้เข้ากับ แบบร่างในแบบลงตัวที่สุดจะเป็นส่วนช่วยในการลงมือปฏิบัติงานง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเวลานำเส้นด้าย มาจัดวางเพื่อเตรียมการปักและปักลงไปแล้วนั้นความกลมกลืนของสีและการผสานปักทับซ้อนกันของเส้นด้าย จะมีความเข้ากันได้อย่างกลมกลืนและลงตัว