ผลงานสร้างสรรค์ภาควิชาการออกแบบเครื่องประดับ

Department of Jewelry Design

อโรคยา ปรมลาภา

Good health is above wealth

ดร.วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ
Asst. Prof. Veerawat Sirivesmas (Ph.D.)

4 กรกฎาคม เป็นวันที่บิดาของผมได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ และอีกหลายสิบปีต่อมาก็เป็นวันที่ลูกชายของผมเกิด ในขณะเดียวกัน ก็เป็นวันชาติของประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่ง และอาจจะเป็นวันธรรมดาของคนอีกหลายๆคนที่ต้องวิ่งวนไปมา แต่ละวันที่ผ่าน อาจจะเป็นวันที่เป็นที่น่ายินดี วันธรรมดาหรือเป็นวันแสนเศร้าของใครหลายคน การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ย่อมเกิดขึ้นเสมอทุกวินาที สิ่งเหล่านี้จึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงานเพื่อเตือนตนให้ระลึกถึง มรณานุสติ ในการดำรงชีวิตอย่างมีสติกับปัจจุบัน อโรคยา ปรมลาภา การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ

Jewelry-01


Jewelry-02

ผี พราหมณ์ พุทธ: วัฒนธรรมประดับได้ หมายเลข 0

Spirit, Brahmanism and Buddhism: Cultures of Adornment

ดร. วรรณวิภา สุเนต์ตา
Vanvipha Suneta (Ph.d.)
ผลงานสร้างสรรค์เครื่องราง/เครื่องประดับและการจัดแสดงชุดนี้ ตั้งคำถามเรื่องรูปร่างรูปทรงและการจัดองค์ประกอบของวัตถุที่ต่างไปจากการรับรู้โดยทั่วไป เป็นการผสมผสานสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติกับสิ่งประดิษฐ์ สถานะของเครื่องราง/เครื่องประดับ ถูกกำหนดภายใต้บริบทของการจัดแสดงที่เสนอให้ผู้ชมมองวัตถุเหล่านี้ในแง่มุมของเนื้อหาที่ปรากฏในรูปร่างของวัตถุ เป็นการผสมผสานสิ่งที่คุ้นเคยเข้ากับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ตลอดจนปฏิสัมพันธ์กับร่างกายและความหมายของการสักการะที่แฝงอยู่ในรูปของเครื่องประดับ


ผี พราหมณ์ พุทธ: วัฒนธรรมประดับได้ หมายเลข 4

Spirit, Brahmanism and Buddhism: Cultures of Adornment Number 4

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญสิริ ชาตินิยม
Asst. Prof. Pensiri Chartniyom (Ph.D.)

ลักษณะความต้องการที่ถูกนำมาออกแบบให้เป็นลักษณะไอคอน (Icon) ให้เป็นรูปทรงที่สื่อได้อย่างตรงไปตรงมา เช่น รูปรถเข็น หมายถึงการชอปปิ้ง รูปถุงเงิน ธนบัตร หมายถึงความร่ำรวย เป็นต้น ไอคอนเหล่านี้ถูกแขวนโยงกับสายฟ้า สื่อถึงความคาดหวังว่าจะสามารถได้รับสิ่งเหล่านี้จากการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างรวดเร็วชั่วพริบตา นอกจากนี้เครื่องประดับยังสร้างให้มีเสียงที่เกิดจากการกระทบกันของโลหะ เพื่อเชื่อมโยงการสักการะต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้การร้องรำทำเพลงเป็นสิ่งเซ่นไหว้ให้พึงพอใจอีกด้วย

Jewelry-03


Jewelry-04

ผี พราหมณ์ พุทธ วัฒนธรรมประดับได้ หมายเลข 3

To be for…Not to be.

ทัศน์ฐรสชง ศรีกุลกรณ์
Tataroschong Sreekullkorn

ข้าพเจ้า จึงมีความสนใจในการใช้วัตถุที่มีความเป็นกลางจากอภินิหาร และสามารถเตือนมนุษย์ ผ่านผัสสะที่มีของมนุษย์ในการดึงจิตจากความเผลอ กลับมาระลึกรู้สภาวธรรมในกายและจิตของมนุษย์ได้ และให้บ่อยที่สุด เพื่อเป็นการฝึกฝนให้เกิดการจำได้ ระลึกได้ จนกลายเป็นอัตโนมัติ ทั้งนี้วัตถุเตือนนั้นจะอยู่ติดบนร่างกายมนุษย์เสมือนเครื่องประดับ เป็นเครื่องประดับมนุษย์ในฐานะของเพื่อนแท้ เพื่อนผู้ที่มีอยู่…เพื่อการไม่มีอยู่

ผี พราหมณ์ พุทธ วัฒนธรรมประดับได้ หมายเลข 2

Spirit, Brahmanism, and Buddhism: Cultures of Adornment

วินิตา คงประดิษฐ์
Winita Kongpradit

ได้รับแรงบันดาลใจจากพิธีไหว้ครูนาฎศิลป์ โขนละคร สร้างสรรค์เป็นผลงานที่แสดงความอ่อนน้อมทางร่างกายและจิตใจ ต่อผู้มีพระคุณทั้งทางตรงและทางอ้อม เปรียบเสมือนเครื่องสังเวยบูชาเพื่อรวบรวมสมาธิจิตใจ และอัญเชิญพระคุณครูมาเป็นที่ตั้ง โดยวิเคราะห์จากการเรียนท่ารำเฉพาะของศาสตร์นาฎศิลป์โขน จากเรียนรู้ จดจำ ทำซ้ำตามจังหวะ คิดค้น และฝึกฝนจนชำนาญ นำมาเป็นสัญญะในการจัดวางตำแหน่งของงานออกแบบ

Jewelry-05

ดอกไม้จำ.แลง

Flowers shifter

ดร. ปฐมาภรณ์ ประพิศพงศ์วานิช
Pathamaphorn Praphitphongwanit (Ph.D.)

การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของถุงพลาสติกที่ใช้แล้วให้เกิดประโยชน์มากขึ้น โดยการน

Jewelry-06

Jewelry-07

ผี พราหมณ์ พุทธ: วัฒนธรรมประดับได้ หมายเลข 1

Spirit, Brahmanism and Buddhism: Cultures of Adornment

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภาวี ศิรินคราภรณ์
Asst. Prof. Supavee Sirin-k-raporn (Ph.D.)

“เครื่องราง” หรือ “เครื่องประดับ” เกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากการเรียนรู้ของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ เป็นการจัดการกับ “สิ่งที่ไม่รู้” ให้กลายเป็น “สิ่งเหนือธรรมชาติ” ด้วยวัตถุที่มีผลต่อความเชื่อในด้านการปกป้องคุ้มครอง และสร้างระบบที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต อันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์เพื่อการรักษาเผ่าพันธุ์


พื้นที่ว่างระหว่างตัวบ่งชี้ทางวัฒนธรรมกับวัตถุ

The empty space between cultural signifiers and objects

ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์
Taweesak Molsawat

นำเสนอทวิภาวะของความตึงเครียดและความยืดหยุ่นระหว่างชุดความคิดเดิมของเครื่องประดับต้นทางกับชุดความคิดใหม่ และระหว่างรูปทรงของเครื่องประดับต้นทางกับรูปทรงของผลงานที่ได้ โดยการรื้อสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์เชื่อมโยงเดิมของสิ่งที่คุ้นเคยและเข้าใจ ประกอบสร้างขึ้นในบริบทใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดพื้นที่ว่างทางความคิดและคำถามปลายเปิด เกี่ยวกับการยึดครองและควบคุมจากอิทธิพลทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมและการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ที่มีผลต่อทิศทางและ กรอบจำกัดการสร้างสรรค์เครื่องประดับทั้งในมิติ คำจำกัดความ มาตรฐานทางอุตสาหกรรม สุนทรียะและอิสระทางความคิด

Jewelry-08


Jewelry-09

หลังคาหน้าฝน

Roof & Rain

ผศ.ดร. ภูวนาท รัตนรังสิกุล
Asst. Prof. Phuvanart Rattanarungsikul (Ph.D.)

โดยใช้ทิวทัศน์อันธรรมดาสามัญของท้องถิ่นที่ยังคงพบเห็นได้ในชนบทปัจจุบันโดยคัดสรรความประทับใจในวัยเด็กที่มีความรู้สึกอบอุ่นเมื่อยามนอนกอดคุณยายเวลาฝนตกกระทบหลังคาสังกะสี ที่บ้านริมคลองในสวนแถบบางพลัด และแปรภาพประทับใจในวัยเด็กออกเป็นรูปธรรมด้วยกระบวนการร่างแบบอย่างรวดเร็ว


ความฝัน

Dream

ภูษิต รัตนภานพ
Phusit Ruttanapanop

ความฝันเป็นช่วงเวลาที่หลีกเล้นจากความเป็นจริง ความจริงที่แปรเปลี่ยนสู่โลกจินตนาการเมื่ออยู่ในความฝัน ทุกอย่างมีความเป็นไปได้ไร้จิตสำนึกที่จะควบคุม

Jewelry-10

หงส์

Hongsa

ชาติชาย คันธิก
Chartchai Kantig

หงส์คือหนึ่งในสัตว์หิมพานต์ เป็นพาหนะของพระพรหมมี ความสง่างาม และเปรียบได้กับความงามของสตรี

Jewelry-11

Jewelry-12

มงกุฎเก้า

ศิดาลัย ฆโนทัย
Sidalai Kanothai

เครื่องประดับลักษณะไทย : แหวนประดับราชาพลอย (ทับทิม) นำมาซึ่งสุขภาพแข็งแรง ความมั่นคง และสติปัญญา