ศรีนาฎ ไพโรหกุล
ปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้เครื่องจักรเพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบกันอย่างแพร่หลาย เทคโนโลยี ต่าง ๆ รวมถึงอุตสาหกรรมการปักผ้าก็ได้มีการพัฒนาทั้งในเรื่องของ เครื่องจักรที่ใช้ในการปักอัตโนมัติ (Digital Embroidery Machine) และซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการออกแบบ (CAD/CAM) ให้มีการใช้งานที่ง่าย ความเร็วในการปักสูง สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้หลากหลาย และยังนำไปใช้ในงานออกแบบได้หลายแขนง
ในประเทศไทย เครื่องปักอัติโนมัติมักอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือกลุ่มผู้ประกอบการเฉพาะทางรายย่อยเท่านั้น นักออก ส่วนใหญ่จึงมีหน้าที่ในการออกแบบลวดลายเพียงอย่างเดียว ทำให้นักออกแบบยังขาดความรู้ความเข้าใจในศักยภาพและความสามารถ ของเครื่องจักร และเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (CAD : Wilcom ES-45 Designer) ที่ใช้ออกแบบ สร้างและคัดลอกลายโดยเฉพาะในงานปักเท่านั้น
ซึ่งโครงการศึกษาและออกแบบลายปักผ้าสำหรับงานปักผ้า ด้วยเครื่องปักดิจิตอล 15 เข็ม จะเป็นการนำเสนอขั้นตอนการ ศึกษาและออกแบบผ่านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การนำความสามารถของเครื่องจักรมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ นำเสนอเทคนิค ที่เป็นไปได้ แสดงคุณภาพของรอยเย็บและลายปัก และตัวอย่างชิ้นงาน
ดังนั้นหากนักออกแบบมีความรู้ความเข้าใจในเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีแล้วนั้น ผลงานที่ได้ออกมา ก็ จะมีความสมบูรณ์ โดดเด่น มีเอกลักษณ์ ได้ผลงานใหม่ ๆ และพ้นจากข้อจำกัดที่เคยมีมาในอดีต
เพื่อออกแบบ ศึกษาและทดลองหาเทคนิคในการปัก โดยการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Wilcom ES-45 Designer) ควบคู่กับการทำงาน ของเครื่องปักอัตโนมัติ 15 หัว (Multi-Head Embroidery Machine, Barudan Machine) เพื่อให้ทราบถึงวิธีการและลักษณะของลายปักแบบ ต่าง ๆ ทำให้นักออกแบบสามารถนำไปเลือกประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ ได้อย่างเหมาะสม
สร้างชิ้นงานที่เกิดจากการปักโดยใช้เครื่องปักอัตโนมัติเป็นการ ทดลองนำลายปัก และเทคนิคการปักแบบต่าง ๆ ที่ตั้งค่าจากโปรแกรม คอมพิวเตอร์มาผสมผสานในชิ้นงานตัวอย่าง ทำให้ได้ลักษณะของสีและ ลายที่มีความสมบูรณ์ และแปลกใหม่มากยิ่งขึ้น
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์การตั้งค่าระบบการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ กับเครื่องปักอัตโนมัติ (ระบบ Barudan) ทดลอง สร้างชิ้นงานจากการออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วไฟล์งานไป ปักด้วยเครื่องปักอัติโนมัติ
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบงานปักผ่านระบบคอมพิวเตอร ์ คือการเรียงลำดับของการปักงาน เช่น เรียงลำดับของสีที่จะใช้ ในตัวอย่าง ที่ยกมานี้ ผู้เขียนเลือกปักงาน 3 สี จึงแยกงานเป็น 3 ส่วนด้วยแถบสีด้าน ล่างที่แตกต่างกัน จัดเรียงให้ปักงานงานเสร็จที่ละสี (จะเห็นการเรียงลำดับ ในแถบข้างขวาของภาพที่ 2) ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะมีการจัดลำดับการปัก ไม่ให้มีการปักกระโดดข้ามไปมา
หากสามารถเรียงลำดับของการปักงานได้ดีแล้ว จะช่วยลดระยะ เวลาในการปักงาน ได้งานมีความเรียบร้อยและไม่สับสนเวลานำงาน ออกแบบไปลงใช้กับเครื่องปักฯ ทำให้สามารถตรวจแยกสีของด้ายที่ จะใช้ปักลงในแต่ละส่วนได้ง่าย
การขึงผ้าก็มีส่วนที่จะทำให้ได้รอยปักที่ต่อกับเรียบร้อย หรือ เหลื่อมล้ำกัน ขึ้นอยู่กับว่าขึงผ้าได้ตึงหรือไม่ หากใช้ผ้าที่มีความยืดหยุ่น เมื่อเครื่องปักฯ ทำงานไปเรื่อย ๆ ความตึงของผ้าที่ขึงจะลดน้อยลงทำให้ได้ ลายปักที่ได้มีความเหลื่อมล้ำกันบ้าง หรือหากใช้ผ้าบางหรือนิ่มก็สามารถ เกิดปัญหานี้ได้ ในบางครั้งที่มีการใช้ผ้าบางจึงมีการรองพื้นด้วยผ้า หรือ กระดาษรองปัก (วีราเน่) ก่อนจะขึงผ้าและทำการปัก ทำให้ช่วยลดปัญหา ผ้าย่น หย่อน ดึง รั้ง ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รอยปักที่ไม่สม่ำเสมอกัน
ร่างแบบและเลือกนำเอาวิธีการปักมาใช้ในการทำผลงานต้นแบบ
เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องปักผ้าอัตโนมัติ 15 หัว
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Wilcom ES-45 Designer และการปักผ้าดิจิตอล
จากการศึกษาทดลองสร้างผลงานปักด้วย เครื่องปักอัตโนมัติ ทำ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการ ใช้งานโปรมแกรมคอมพิวเตอร์และเครื่องปักอัตโนมัติ มากยิ่งขึ้น มีความเข้าใจในศักยภาพ และการทำงาน ของเครื่องปัก ผลของชิ้นงานปัก และลวดลายปัก ซึ่งเกิดจากการตั้งค่าในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ ทราบถึงปัญหาของการปักทั้งการเลือกลายปัก การ ปรับค่าความตึง แน่น ของการปักแต่ละแบบ วัสดุที่ ใช้ในการปักและวัสดุสำหรับปัก นักออกแบบสามารถ เลือกลายปักให้เหมาะสมกับงานที่ออกแบบ เช่น การเดินเส้นปักในชิ้นงานที่มีขนาดต่างกัน การปักลง สีลงในพื้นที่ ขนาดใหญ่ การออกแบบลายที่เหมาะ กับการปักเป็นลูกไม้ (ปักงานบนวัสดุละลายน้ำ, Aqua-film) เป็นต้น แล้วนำวิธีการปักแบบต่าง ๆ จากการทดลองปักชิ้นงานจริงไปต่อยอดใช้งานใน ผลงานออกแบบต่อไป อีกทั้งยังเป็นการทำงานที่ ประหยัดเวลา สามารถผลิตได้ครั้งละปริมาณมาก เหมาะสำหรับทั้งงานออกแบบด้านศิลปะ และงาน ออกแบบระบบอุตสากรรมเพื่อใช้ในการออกแบบ แขนงอื่นต่อไป