การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของบ้านพักรับรอง และภูมิทัศน์ ในอุทยานแห่งชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวไทย

Conservation of Natural Resources and Environment: Interior Environmental Design
for Guest Houses in National Park for the Standard of Tourism Thailand

รศ. ร.ต.อ. ดร. อนุชา แพ่งเกษร
Assoc. Prof. Pol. Capt. Anucha Pangkesorn (Ph.D.)

ที่มาและความสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

อุทยานแห่งชาติ (National Park) หมายถึง พื้นที่ที่สงวนไว้เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และสัตว์ ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามและมหัศจรรย์ อันเป็นที่ตรึงตาตรึงใจแก่ผู้พบเห็นให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม และเพื่อรักษา สมบัติของธรรมชาติไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชม ได้ศึกษาค้นคว้าธรรมชาตินั้น ๆ มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป และถูกใช้ไปในทางที่ผิด ต่อไป (อุทยานแห่งชาติ ในเมืองไทย, 2550)

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เป็นการอนุรักษ์แหล่งอาศัยตามธรรมชาติของชนิดพันธุ์พืช และ พันธุกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นไว้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงได้สร้างความมั่นใจว่า ชนิดพันธุ์พืช และสัตว์ป่าต่าง ๆ ของไทย ได้รับความคุ้มครองไว้ระดับหนึ่งแล้ว พร้อมกันนั้นก็ได้ทำการส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัย ค้นคว้าทางวิชาการ ที่มีความพร้อมและความ สามารถในการนำธรรมชาติและทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในอุทยานแห่งชาติอย่างหลากหลาย มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เนื่องด้วยอุทยานแห่งชาติในประเทศไทยมีบ้านพักรับรอง สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักผ่อนหรือทำกิจกรรมใดก็ตาม แต่ การออกแบบก่อสร้างในอดีตยังมิได้คำนึงถึงหรือพิจารณาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร ซึ่งปัจจุบันกระแส การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีบทบาทอย่างยิ่ง โดยให้มีการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวหรือผู้เข้ารับบริการได้ตระหนักถึง แนวทางการอนุรักษ์ฯ อย่างกว้างขวาง และเน้นการพัฒนาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด

จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจและมีข้อคำถามการวิจัยดังนี้

1 มีปัจจัยใดที่มีผลต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากร

2 บ้านพักรับรองที่ได้รับรางวัลหรือมีการออกแบบที่เป็นเลิศนั้นมีลักษณะอย่างไร

3 องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในของผู้ที่ปฏิบัติเป็นเลิศสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้หรือไม่

4 บ้านพักรับรองที่ออกแบบตามผู้ที่ปฏิบัติเป็นเลิศมีลักษณะเป็นอย่างไร

ดังนั้นผู้สร้างสรรค์มีความสนใจศึกษาการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในอุทยานแห่งชาติของประเทศไทยที่มีความหลากหลาย และมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน โดย ผู้สร้างสรรค์เน้นการออกแบบบ้านพักรับรองในพื้นที่ให้บริการของอุทยานฯ ที่ต้องให้ความ สำคัญเป็นอย่างยิ่งในด้านความสะอาด ความปลอดภัย ความสวยงาม และความเหมาะสมกับ อุทยานแห่งชาตินั้น ๆ เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในอุทยานเพิ่มขึ้น และพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวไทย เป็นการสร้างรายได้ให้กับอุทยานแห่งชาติ และ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศอีกด้วย

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน

ผู้สร้างสรรค์ กำหนดวัตถุประสงค์ในความคิดสร้างสรรค์ผลงาน ในประเด็นดังต่อไปนี้

1. ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในอุทยานแห่งชาติ

2. การเทียบรอยที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ของบ้านพักรับรองในอุทยานแห่งชาติ

3. ศึกษาการออกแบบรูปแบบของบ้านพักรับรองและภูมิทัศน์ที่เหมาะสมใน อุทยานแห่งชาติของไทย ด้วยแนวความคิดในการออกแบบตามหลักทฤษฏี และเศรษฐกิจสร้างสรรค์

แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน

การออกแบบและรูปแบบที่เหมาะสมของบ้านพักรับรอง และภูมิทัศน์ในอุทยาน แห่งชาติ ที่สะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของไทยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งควรจะมีความ ทันสมัย สะดวกสบาย สวยงามเป็นธรรมชาติทั้งภายนอกและภายในอาคาร แต่ไม่ส่งผล เสียต่อระบบนิเวศน์ของธรรมชาติ เพื่อช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงานและลดปริมาณ ภาวะโลกร้อน

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน

ผู้สร้างสรรค์ได้กำหนดขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานในเรื่อง “การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: การออกแบบสภาพแวดล้อมภายในบ้านพักรับรอง และภูมิทัศน์ในอุทยานแห่งชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวไทย” ครั้งนี้ ซึ่งมีกรอบ แนวคิดดังนี้

conservation-of-natural-resources-03

 

การสร้างกระบวนการปฏิบัติ

1. ผู้วิจัยรับข้อมูลจากผู้รับบริการ (VOC) ด้าน 7 P’s (Product, Price, Place, Promotion, People, Process, Physical evidence) โดยการวิเคราะห์ SWOT ศึกษาทฤษฏีการ ออกแบบ และการอนุรักษ์ทรัพยากรในอุทยาน

2. ทำการเทียบรอยคุณภาพสร้างเป็นแผนดำเนินการออกแบบ สภาพแวดล้อมภายในบ้านพักรับรอง และภูมิทัศน์ของผู้ ที่ปฏิบัติดีที่สุด ได้แก่ อุทยานแห่งชาติชิเรโตโกะในญี่ปุ่น ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลก และที่พักที่ดีที่สุดในโลก “World’s Best Awards 2013” ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ ครูเกอร์ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และโฟร์ซีซั่นส รีสอร์ท โบ ราโบรา เฟรนช์ โปลีนีเซีย

3. นำแผนที่พัฒนาขึ้นไปปฏิบัติการออกแบบฯ ทั้งนี้การ ออกแบบรูปแบบที่พักและภูมิทัศน์ในอุทยานแห่งชาติของ ไทยนั้น ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม จึงจะต้องคำนึง ถึงสิ่งต่อไปนี้ (1) การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ นั้น ๆ รวมไปถึงเอกลักษณ์ทางศิลปะวัฒนธรรมของท้อง ถิ่นที่โดดเด่น (2) การออกแบบที่ไม่ทำลายธรรมชาติ ระบบ นิเวศน์และสิ่งแวดล้อม โดยการใช้วัสดุท้องถิ่นอย่างคุ้ม ค่า (3) การออกแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับ ภาวะทางธรรมชาติ ในภูมิประเทศและภูมิอากาศ (4) การ ออกแบบต้องคำนึงถึงความสวยงาม ความทันสมัยและ ทฤษฏีของหลักการออกแบบ (5) รูปแบบของบ้านพักนั้น ต้องมีความเหมาะสม โดยให้สามารถตอบสนองความต้องการ ของผู้เข้าพัก คำนึงถึงอารมณ์ของผู้เข้ามาใช้บริการในสถาน ที่นั้น ๆ

4. ถ่ายทอดองค์ความรู้จากผลการปฏิบัติงานตามแผนและ กระบวนการออกแบบฯ

วัสดุ อุปกรณ์การสร้างสรรค์ผลงาน

Mix media : สี กระดาษ พลาสติค และวัสดุธรรมชาติ

เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน

1. หุ่นจำลอง (Model)

2. โปสเตอร์พร้อมเอกสารโครงการสร้างสรรค์

ขนาดของผลงานสร้างสรรค์

พื้นที่ 2.00 x 2.00 x 2.00 ม.

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์

การออกแบบบ้านพักรับรองและภูมิทัศน์ในอุทยานแห่งชาติอย่าง เหมาะสม ส่งผลโดยตรงต่อศักยภาพการท่องเที่ยวไทย และเป็นการยก ระดับมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศต่อ นานาชาติ ส่วนผลลัพธ์ทางอ้อมเป็นการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมในท้องถิ่น และสร้างจิตสำนึกให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ เอาใจ ใส่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลจากการออกแบบบ้านพักรับรองและภูมิทัศน์ ในอุทยานแห่งชาติอย่างเหมาะสมพบว่า

1. การออกแบบควรใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ รวมถึงเอกลักษณ์ทางศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นที่โดดเด่น

2. การออกแบบที่ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ ธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม โดยการใช้วัสดุท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า ที่มีความ กลมกลืนกับธรรมชาติ โดยคำนึงถึงอารมณ์ความรู้สึกของ การมาพักผ่อนและการเข้ามาใช้บริการในสถานที่นั้นๆ

3. การออกแบบสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาวะทาง ธรรมชาติในภูมิประเทศและภูมิอากาศ เพื่อป้องกันภัยพิบัติ จากธรรมชาติ และการออกแบบที่สามารถสร้างได้จริง

4. การออกแบบต้องมีความสวยงาม ความทันสมัย และมีความ สมดุลของธรรมชาติ โดยใช้การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวด ล้อมและทฤษฏีการออกแบบ

5. รูปแบบของบ้านพักรับรองในอุทยานแห่งชาติต้องเป็นอารย สถาปัตย์ (Universal Design) โดยสามารถตอบสนองความ ต้องการของทุกคนในสังคมได้มากที่สุด

จากการศึกษาพบปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการพัฒนาต่อไป คือ การวางแผนเกี่ยวกับการบริหารการจัดการ รวมถึงการรณรงค์ของหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ

1. การวิจัยในครั้งต่อไปควรจะมีการวิจัยในอุทยานในแต่ละแห่ง อย่างเชิงลึกเพื่อศึกษาปัญหาและข้อมูลอื่น ๆ ที่ลึกซึ้งมากกว่า นี้

2. การศึกษาเกี่ยวกับสภาพพื้นที่บริเวณรายรอบอุทยานแห่ง ชาติ เช่น ชาติพันธุ์ของคนกลุ่มน้อยในอุทยานแห่งชาติ เพื่อ ที่จะสามารถนำความรู้มาร่วมกับการพัฒนาออกแบบอุทยาน แห่งชาติให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต สร้างความก้าวหน้าให้การ ท่อง เที่ยวในอุทยานแห่งชาติ

3. การศึกษาถึงศักยภาพของอุทยานแห่งชาติในด้านอื่น ๆ เพื่อ หาข้อบกพร่องและการนำข้อบกพร่องนั้นๆ มาแก้ไข

conservation-of-natural-resources-02

 

เอกสารอ้างอิง

• จิรากรณ์ คชเสนี. หลักนิเวศวิทยา .พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 2544
• นิวัติ เรืองพานิช. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ, รั้วเขียว. 2546
• ยศ สันตสมบัติ. ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่, ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542.
• เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy). [Online]. Accessed 24 March 2013 Available on www. creativethailand.org/
• Alshawi, S., Irani, Z., & Baldwin, L. Benchmarking: Information and Communication Technologies.
• Benchmarking: An International Journal, 1
• Ammons, D.N. . Benchmarking and A Performance Management Tool 2003 Experiences
• 2000amongmunicipalities in North Corolina. Journal Publication Budg. Account Finance Manage,
• Besterfield, D.H. Quality control (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-hall. 200
• Bowerman, M., Francis, G., Ball, A., & Fry, J. The Evolution of Benchmarking in UK Local Authorities. Benchmarking: An International Journal. 2002.