The Complex Pyramid: Symbol of Artistic Creation
รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ชมุนี
Assoc.Prof. Piroj Jamuni, Ph.D
ผลงานชิ้นนี้สามารถจะดูเป็นประติมากรรม สื่อผสม หรือจะดูเป็นหุ่นจำลองของโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่ดูซับซ้อน แปลกตา รูปร่างเหมือนตึกทรงพิรามิด
Paradise
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง
Asst. Prof. Praiwan Dakliang
ข้าพเจ้าต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงความสุขที่แท้จริงที่เกิดกับตัวตนของมนุษย์ นั้นคือ “แดนสุขาวดี” ดินแดนที่มีการรักษา กาย วาจาใจ ให้บริสุทธิ์ สดใส เบิกบาน มีความชื่นเย็น สงบ สันติ เป็นการรักษาความสมดุลของตัวตนเรา ที่นี่ จะมีความพอดี ไม่ มากไป หรือน้อยไป มีอากาศหายใจ ไม่อึดอัด เป็นการนำตัวตนเราย้อนคืนสู่ธรรมชาติที่งดงามปราศจากมลภาวะทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ
Thai contemporary Buddha
อานุภาพ จันทรัมพร
Arnuphap Chantharamporn
มีความมุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ กำหนดให้เป็นรูปแบบประติมากรรมพระพุทธรูปของไทยที่ร่วมสมัยปัจจุบัน
Image of Buddha
พรพรม ชาววัง
Pornprom Chawwang
สร้างสรรค์อย่างเรียบง่าย ซื่อสัตย์ ตรงใจ ดีที่สุด
ON THE HORIZON
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรวัฒน์ งามเชื้อชิต
Asst. Prof. Teerawat Ngarmchuachit
เพื่อตอบ สนองอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัว และต้องการจะแสดงให้เห็นถึงความงาม ความสุข ความสงบนิ่งอันเกิดจากสติ ความปล่อยวางปราศจากการแก่งแย่งชิงชัง ซึ่งความรู้สึกนี้ เป็นภาวะที่สำคัญของการดำรงอยู่ในความเป็นมนุษย์เรา อีกทั้งยังเตือนให้คนทั้งหลาย ได้ย้อนกลับมองที่ตัวตน และสิ่งต่างๆรอบๆที่แสดงอยู่ ด้วยความอ่อนน้อมและคารวะ ชื่นชม ในสรรพสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏรวมกันอย่างมีความลงตัว
Idealism
เกษร ผลจำนงคี
Gaysorn ponjamnong
ในการดำรงชีวิตในแต่ละวันบางครั้งพบเจอเหตุการณ์และคำพูดต่างๆที่มากระทบจิตใจซึ่ง บางครั้งกันความรู้สึกเสียใจไม่ให้กระทบภายในจิตใจไม่ทัน เกิดความรู้สึกที่ยากจะบรรยายออกมาเป็น คำพูดเพื่อจะลำเลียงความรู้สึกนั้นออกไปจากใจ ทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ขาดความรู้สึกตระหนัก ในคุณค่าของตัวเองความรู้สึกนั้นออกมาเป็นน้ำตาแทน ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ก็จะมี “แมว” ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่อุปการะเอาไว้ มาแสดงความปลอบโยน ปลอบใจ และทำให้สบายใจขึ้น จากอารมณ์และความรู้สึกนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความรู้สึกภายในจิตใจหรือศิลปะบำบัด ในรูปแบบจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเหนือจริง
Miss Dream 999999999/2014
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิทักษ์ สง่า
Asst. Prof. Pitak Sanga
เป็นมุมมองหนึ่งของตัวเองรวมทั้งประสบการณ์ในการศึกษากายวิภาคของมนุษย์แล้วนั้นต้องการสร้างสรรค์สัญลักษณ์ตัวแทนของเด็กผู้หญิงในปัจจุบันที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีและไม่ดี ประกอบกันนั้น ผู้หญิงยุคนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่สืบทอดสายพันธุ์ของยุคของพวกเขาเองเป็นสิ่งตัวแทนมนุษย์ชาติที่สมบรูณ์ที่สุดที่จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ
หลับใหล
slumber
สหเทพ เทพบุรี
Sahathep Thepburee
การผ่อนคลายที่สัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึก สร้างพลังใจให้กับชีวิต
สมพงษ์ แสงอร่ามรุ่งโรจน์
Sompong Saengaramroungroj
ผลงานชิ้นนี้เขียนขึ้นจากความรู้สึกยกย่อง เทิดทูนต่อพระเจ้าอยู่หัวของเรา ที่ทรงทำเพื่อพสกนิกรของพระองค์อย่างมุ่งมั่น ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
Dimension of light and shadow of the paintbrush on Embroidery :
A case study of His Majesty King Bhumibol portrait
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภากร สุคนธมณี
Asst. Prof. Prapakorn Sukonthamanee
เหนืออื่นใดในหล้า คือองค์ราชันของชาวไทย
Motion Capture performers
บวรรัตน์ คมเวช
Bovonrach Komwech
ได้รับบุญจัดทำชุดรับส่งสัญญาณการเคลื่อนไหวเพื่อใช้ในการทำภาพยนตร์แอนนิเมชั่นเรื่องพุทธประวัติ ของวัดพระธรรมกาย มีการประมวลความรู้เรื่องกายวิภาค (Anatomy) เพื่อกำหนดจุดวางปุ่มรับสัญญาณ ตามตำแหน่งกระดูกและกล้ามเนื้อ วิธีการสร้างแบบเสื้อกางเกง การคัดเลือกผ้าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเคลื่อนไหวการตัดและเย็บ ด้วยตะเข็บที่แน่นหนา ข้าพเจ้าดีใจที่ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย ที่ว่า ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดในร่างกายของเราทุกคน มีองค์พระพุทธรูปปางนั่งสมาธิประทับสถิตย์อยู่ดังคำโบราณว่า “ไหว้พระในตัว” นั่นคือคุณงามความดี ศีลธรรม จริยธรรมอันสูงส่งอันสูงสุดของมวลมนุษย์ชาตินั่นเอง
Still Life No.1
อุณรุท กสิกรกรรม
Unarut Kasikornkam
จุดเริ่มต้นของการเขียนรูปมักจะนำเราไปสู่ความคิดแปลกใหม่อยู่เสมอ
Trees begging for their life
รองศาสตราจารย์ สน สีมาตรัง
Associate Prof.Sone Simatrang
เสียงต้นไม้ร้องไห้ขอชีวิต
รองศาสตราจารย์ปรีชา ปั้นกล่ำ
Assoc.Prof. Preecha Punklum
จากรูปทรงธรรมชาติสู่รูปทรงใหม่ที่สร้างประโยชน์ใช้สอยในชีวิต
Spiritual and material life
อิทธิพล วิมลศิลป์
Ithipon Wimonsilp
ทั้งชีวิต จิต และ วัตถุล้วนเปลี่ยนแปลงไม่คงที่
Rootag
เสาวลักษณ์ กบิลสิงห์
Saowalak Kabilsingh
นำเอาภาพลักษณ์ของพืชพรรณโดยใช้ดอกไม้มาเป็นตัวสื่อถึงแนวความคิดเรื่องราวของคนในสังคมที่มีความ แตกต่างทั้งจิต สัญชาตญาณที่อยู่ภายใน และรูปลักษณ์ที่แสดงออกมาภายนอกให้เห็นโดยให้มีรูปทรงของ ดอกที่ดูแปลกต โดยจัดวางรูปทรงดอกไม้สองดอกซ้อนกันอยู่ เพื่อแสดงถึงการเปรียบเทียบและความแตก ต่างอย่างชัดเจน
วรภรรท สิทธิรัตน์
Vorapat Sithiratn
รายละเอียดการสร้างสรรค์งาน อ่านได้ในหน้า Itiatis dunt. Ibusdan imendit ความประทับใจในความงามแห่งสัมพันธภาพระหว่างเมืองและชีวิตในธรรมชาติ ที่ยังคงอยู่คู่กันได้อย่างงดงามและลงตัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ และจิตสำนึกที่ดีของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม